Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14837
Title: ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของสตรีใกล้หมดประจำเดือน
Other Titles: Selected factors related to depression of perimenopausal women
Authors: ธัญญพร ชอบตรง
Advisors: ชมพูนุช โสภาจารีย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Chompunut.S@Chula.ac.th
Subjects: ความซึมเศร้าในสตรี
วัยหมดระดู
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะหมดประจำเดือน ความรู้สึกคุณค่าในตนเอง อาการหมดประจำเดือน แหล่งทักษะภายในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมกับภาวะซึมเศร้าของสตรีใกล้หมดประจำเดือน และความสามารถของปัจจัยคัดสรรในการร่วมกันพยากรณ์ภาวะซึมเศร้าของสตรีใกล้หมดประจำเดือน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกจากสตรีใกล้หมดประจำเดือนในชุมชน จำนวน 110 คน โดยสุ่มอย่างง่ายจากโรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลศูนย์ในเขตภาคใต้ จำนวน 4 โรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้ภาวะหมดประจำเดือน แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แบบประเมินอาการหมดประจำเดือน แบบประเมินแหล่งทักษะภายในตนเอง แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามภาวะซึมเศร้าของสตรีใกล้หมดประจำเดือน แบบสอบถามทั้งหมดได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมีค่าระหว่าง 0.73 ถึง 0.92 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะซึมเศร้าของสตรีใกล้หมดประจำเดือนร้อยละ 37.27 2. การรับรู้ภาวะหมดประจำเดือน ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แหล่งทักษะภายในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าของสตรีใกล้หมดประจำเดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -0.56, r = -0.53, -0.36 และ -0.34 ตามลำดับ p<0.05)ส่วนอาการหมดประจำเดือนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาวะซึมเศร้าของสตรีใกล้หมดประจำเดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.57, p<0.05) 3. ปัจจัยคัดสรรสามารถร่วมกันพยากรณ์ภาวะซึมเศร้าของสตรีใกล้หมดประจำเดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้ร้อยละ 51.0(R[superscript 2] = 0.51, F = 21.64, p < 0.05) โดยอาการหมดประจำเดือน ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และการรับรู้ภาวะหมดประจำเดือนสามารถพยากรณ์ภาวะซึมเศร้าของสตรีใกล้หมดประจำเดือนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Beta = 0.33, -0.29 และ -0.24 ตามลำดับ p < 0.05) ส่วนแหล่งทักษะภายในตนเองและการสนับสนุนทางสังคมสามารถพยากรณ์ภาวะซึมเศร้าของสตรีใกล้หมดประจำเดือนได้อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (Beta = -0.04 และ -0.07 ตามลำดับ p > 0.05) โดยเขียนในรูปสมการคะแนนมาตรฐาน Z[subscript ภาวะซึมเศร้า] = 0.33 Z* [subscript อาการหมดประจำเดือน] -0.29 Z*[subscript ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง] -0.24 Z*[subscript การรับรู้ภาวะหมดประจำเดือน] -0.07 Z[subscript แหล่งทักษะภายในตนเอง] -0.04 Z[subscript การสนับสนุนทางสังคม]
Other Abstract: The purposes of this study were: 1) to examine the relationships between perception of menopause, self-esteem, menopausal symptoms, learned resourcefulness social support and 2) depression and to determine abilities of perception of menopause, self-esteem, menopausal symptoms, learned resourcefulness and social support in predicting depression of perimenopausal women. The study settings comprised of four general/regional hospitals in southern of Thailand that were selected using simple random sampling technique. One hundred and ten perimenopausal women who resided in the study areas were included in the study through convenience sampling method. The instruments included demographic data sheet perception of menopause scale, self-esteem scale, menopausal symptom scale, Self-Control Schedule scale (SCS), social support scale, and Center of Epidemiological Studies Depression scale (CES-D), The instruments were content validated and tested for reliability from which the Cronbach’s alpha coefficients were between 0.73 and 0.92 Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient and multiple regression. Major finding were as follows: 1. Rate of depression of perimenopausal women was 37.72%. 2. Perception of menopause, self-esteem, learned resourcefulness, and social support were significantly negatively correlated with depression of perimenopausal women (r = -0.56, -0.53, -0.36 and -0.34 respectively, p<0.05). Furthermore menopausal symptoms were significantly positively correlated with depression of perimenopausal women (r = 0.57, p<0.05). 3. For the predictive abilities, all predictors together accounted for 51.0 % of the variance in predicting depression of perimenopausal women (R[superscript 2] = 0.51, F = 21.64, p<0.05). Menopausal symptoms, self-esteem, and perception of menopause were contributed significantly to predict depression of perimenopausal women (Beta = 0.33, -0.29 and -0.24 respectively, p<0.05). Learned resourcefulness and social support could not contribute significantly to predict depression of perimenopausal women (Beta = -0.04 and -0.07 respectively, p>0.05). The standardized equation derived from the analysis was: Z[subscript depression] = 0.33 Z* [subscript menopausal symptom] -0.29 Z*[subscript self-esteem] -0.24 Z*[subscript perception of menopause] -0.07 Z[subscript Learned resourcefulness] -0.04 Z[subscript social support]
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14837
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.318
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.318
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanyaporn_Ch.pdf3.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.