Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15100
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาณุพงศ์ วงศ์ไทย-
dc.contributor.authorลีนวัฒน์ ศรีสุนาครัว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-04-05T03:52:34Z-
dc.date.available2011-04-05T03:52:34Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15100-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการแตกหักของพอร์ซเลนบนชิ้นงาน ตัวอย่างที่มีการออก แบบโลหะ พอร์ซเลนและตำแหน่งจุดกดแตกต่างกัน ทำการทดสอบชิ้นงาน 8 กลุ่ม โดยมีการออกแบบโลหะรองรับพอร์ซเลนดังต่อไปนี้ ชิ้นงานแผ่นแบนหนา 0.3 มม.สม่ำเสมอ(กลุ่มที่1), ชิ้นงานตรงกลางบาง 0.1 มม.(กลุ่มที่2), ชิ้นงานโลหะรองรับเป็นทรงกรวยมุมแหลมส่วนหนาสุด 2.3 มม.(กลุ่มที่3), ชิ้นงานโลหะรองรับนูนเป็นมุมมนส่วนหนาสุด 2.3 มม.(กลุ่มที่4), ชิ้นงานรูปขั้นบันไดจุดกดตรงรอยต่อ (กลุ่มที่5), ชิ้นงานรูปขั้นบันไดจุดกดตรงกลาง(กลุ่มที่6), ชิ้นงานรูปขั้นบันไดจุดกดตรงขอบ(กลุ่มที่7), ชิ้นงานรูปขั้นบันไดจุดกดเป็นมุมเฉียง 30 องศา(กลุ่มที่8) โดยชิ้นงานโลหะเคลือบกระเบื้องขนาด 7 x 9 มม.² ทุกกลุ่มๆละ 10 ชิ้น ได้เตรียมขึ้นตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต นำชิ้นงานที่ได้มายึดบนแป้นทองเหลืองด้วยซิงค์ฟอสเฟตซีเมนต์ จากนั้นนำไปแช่ในน้ำกลั่น 37 องศา เซลเซียส 24 ชั่วโมง นำชิ้นงานที่ได้มาทดสอบแรงอัดในแนวดิ่งจนพอร์ซเลนแตก ด้วยเครื่องทดสอบสากลรุ่น Instron 8872 ที่มีหัวกดรูปทรงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 ม.ม. ความเร็วหัวกด 1 มม./นาที ผลการทดลองพบว่าค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (X̅ +- S.D.) ของแต่ละกลุ่มมีค่าดังนี้ 1)2506.03 +- 257.98N 2)2027.07 +- 180.74N 3)2101.12 +- 101.55N 4)2117.12 +- 125.49N 5)1461.20 +- 139.20N 6)2092.40 +- 113.79N 7)791.64 +- 87.96N 8)1062.38 +- 187.83N เมื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์โดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและการ ทดสอบการเปรียบเทียบเชิงซ้อนชนิดแทมเฮน ได้ผลดังนี้ ชิ้นงานกลุ่มที่1 มีค่าเฉลี่ยแรงอัดสูงสุดที่ทำให้พอร์ซเลนเกิดการแตกหักแตกมากที่สุด และมากกว่ากลุ่มอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มที่ 5, 7 และ8 ซึ่งเป็นชิ้นงานรูปขั้นบันไดที่มีตำแหน่งจุดกดแตกต่างกัน (p<0.05) ส่วนในชิ้นงานกลุ่มที่ 2, 3, 4 และ6 ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≥0.05) จากข้อมูลข้างต้นทำให้สรุปได้ว่า ความหนาที่ไม่สม่ำเสมอของโลหะที่รองรับพอร์ซเลน รวมทั้งตำแหน่ง และทิศทางของแรงกด มีผลต่อความต้านทานการแตกหักของชิ้นงานโลหะเคลือบกระเบื้อง.en
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study was to evaluate the fracture resistance of ceramometal samples on different metal designs and location of load. Eight different metal designs were as follows: 0.3 mm uniform thickness of metal (group 1), concave specimen of 0.1 mm at the thinnest point (group2), cone-shaped with sharp apex of 2.3 mm at the thickest point (group 3), convex specimen of 2.3 mm at the thickest point (group 4), ladder-shaped with loading point at the step (group 5), ladder-shaped with loading point at the center (group 6), ladder-shaped with loading point at the porcelain thickest point (group 7) and ladder-shaped with 30° loading (group 8). Ten specimens, 7 x 9 mm², of each group were fabricated according to the manufacturer’s recommendations. The specimen was luted to the brass specimen holder with zinc phosphate cement and stored in 37°C for 24 hour prior to the test. The test was performed on a universal testing machine (Instron 8872) with crosshead speed of 1 mm/min using metal sphere loading point diameter of 3 mm under compressive load. The maximum load prior to fracture means +- S.D. of each group was as follows: 1)2506.03 +- 257.98 N 2)2027.07 +- 180.74 N 3)2101.12 +- 101.55 N 4)2117.12 +- 125.49 N 5) 1461.20+- 139.20 N 6)2092.40 +- 113.79 N 7)791.64 +- 87.96 N 8)1062.38 +- 187.83 N. One-way ANOVA and Tamhane multiple comparisons revealed that group 1 had the greatest fracture resistance over the others (p<0.05). There were significant differences among different loading point on same metal design of group 5,7 and 8 (p<0.05). Group 2, 3, 4 and 6 were not different at p≥0.05. It was concluded that the non-uniform thickness of metal supporting porcelain, position and direction of load affected the fracture resistance of porcelain fused to metal specimen.en
dc.format.extent4986528 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1891-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการเคลือบผิว (เซรามิก)en
dc.subjectการแตกร้าวen
dc.subjectทันตวัสดุen
dc.titleผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการออกแบบแผ่นโลหะเคลือบกระเบื้องต่อความต้านทานการแตกหักของพอร์ซเลนen
dc.title.alternativeThe effect of various metal framework designs of porcelainfused to metal disc on fracture resistance of porcelainen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineทันตกรรมประดิษฐ์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorParnupong.W@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1891-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
leenawat.pdf4.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.