Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15200
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสรรพัชญ์ นามะโน-
dc.contributor.advisorสิทธิชัย ทัดศรี-
dc.contributor.authorอุมาพร วิมลกิตติพงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-05-24T09:27:49Z-
dc.date.available2011-05-24T09:27:49Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15200-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการสึกของหัวเจาะรากเทียมในการเตรียมกระดูกเพื่อฝังรากเทียมนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เมื่อมีการใช้หัวเจาะซ้ำๆ ในการเจาะกระดูก มีงานวิจัยพบว่าโครเมียมและนิกเกิลเป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลักของเหล็กกล้าไร้สนิม และเป็นโลหะที่มีผลรบกวนต่อการสะสมแร่ธาตุในการสร้างกระดูกอย่างมีนัยสำคัญเมื่อทำการเพาะเลี้ยงเซลล์จากไขกระดูก วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ การศึกษาการตกค้างของโลหะโครเมียมและนิกเกิลที่เกิดจากหัวเจาะรากเทียมที่ตกค้างในกระดูก โดยใช้หัวเจาะรากเทียม คือ เทปเปอร์ทิปดริว เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตร , เทปเปอร์ดริว เส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5 มิลลิเมตร และหัวเจาะรีมเมอร์ เส้นผ่าศูนย์กลาง 3.7 มิลลิเมตร โดยเจาะที่ความเร็วรอบ 1,500 รอบต่อนาที เจาะลึก 10 มิลลิเมตร การตกค้างของโลหะจากหัวเจาะในกระดูกนั้นจะทำภายหลังการใช้หัวเจาะเป็นครั้งที่1 ครั้งที่10 และการใช้หัวเจาะเป็นครั้งที่20 ในการเจาะกระดูก เพื่อเปรียบเทียบการตกค้างของโลหะจากการใช้หัวเจาะเป็นครั้งที่ 10 และครั้งที่ 20 ว่ามีการตกค้างของโลหะแตกต่างจากการใช้หัวเจาะครั้งที่1หรือไม่ ในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาโดยการเจาะชิ้นกระดูกวัวที่ถูกตัดมาจากบริเวณขากรรไกรล่างของวัวโดยตัดให้มีขนาด 0.8x0.8x1.2 ลูกบาศก์เซนติเมตร และวิเคราะห์ปริมาณโลหะที่ตกค้างในกระดูกด้วยเครื่องแกร์ไฟต์เฟอเนท อะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ วิเคราะห์ผลการทดลองด้วยการทดสอบผลต่างค่าเฉลี่ยประชากรแบบจับคู่ และการเปรียบเทียบค่ากลางของข้อมูลโดยใช้สถิติครูสคัล-วัลลิส ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 แล้วทำการเปรียบเทียบพหุคูณระหว่างกลุ่ม พบว่า มีการตกค้างของโครเมียมและนิกเกิลในกระดูก ภายหลังการเจาะกระดูกด้วยหัวเจาะรากเทียมทั้ง 3 ตัว แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของโลหะทั้งสองในกระดูกที่ผ่านการเจาะกระดูกครั้งแรกกับกระดูกที่ไม่ผ่านการเจาะใดๆ และพบว่าภายหลังการใช้หัวเจาะรากเทียมเป็นครั้งที่ 20 จะทำให้เกิดการตกค้างของโครเมียมและนิกเกิลจากหัวเจาะมากที่สุด (0.249+0.347 และ 0.197+0.135 ไมโครกรัม/กรัม) การเจาะครั้งที่ 10 ให้การตกค้างที่มากเป็นลำดับรองลงมา (0.090+0.079 และ 0.092+0.103 ไมโครกรัม/กรัม) และการเจาะครั้งที่ 1 ให้เกิดการตกค้างของโครเมียมและนิกเกิลจากหัวเจาะน้อยที่สุด (0.045+0.124 และ 0.034+0.049 ไมโครกรัม/กรัม) และเมื่อศึกษาการตกค้างที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งของการเจาะโดยแยกประเภทของโลหะพบว่า การตกค้างของโครเมียมจากหัวเจาะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อใช้หัวเจาะครั้งที่ 1 เปรียบเทียบกับการใช้หัวเจาะครั้งที่10 และครั้งที่20 สำหรับการตกค้างของนิกเกิลพบว่า มีเพียงการใช้หัวเจาะเป็นครั้งที่ 20 ที่ทำให้นิกเกิลที่ตกค้างจากหัวเจาะมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้หัวเจาะครั้งที่1.en
dc.description.abstractalternativeThe procedure of drilling implant , especially multiple use of the same instrument , causes wear of drills and leads to metal debris in bone. A number of studies found that Chromium and Nickel which are components of stainless steel retards mineralization of new bone in cell culture. Therefore, the objective of this research was to study the concentration of Chromium and Nickel resided in bovine mandibular bone block (size 0.8x0.8x1.2 millimeters3) after drilling and to determine Chromium and Nickle residues by using Graphite furnace atomic absorption spectrometer (Graphite-AAS). Drilling was performed by using three types of dental implant drills (a Tapered tip drill 2 millimeters in diameter, a Taper drill 3.5 millimeters in diameter and a Reamer drill 3.7 millimeters in diameter) , at a rotational speed of 1,500 rpm., with a total depth of 10 millimeters. Besides, we devised an in vitro experiment to simulate implant drilling by using three types of drills which was mentioned above with different degrees of wear and compared residues in bone of both metals among using the new drill, the drill that has been used 10 times and 20 times respectively. Data were analyzed by using a t-test and Kruskal-Wallis analysis , the predetermined significant level was set at 0.05. There is no difference of Chromium and Nickel residues in the piece of bone which is not drilled (control bone) and the bone which is drilled by the new three pieces of drills.Nevertheless utilizing more frequently used drills generates more residues of both metals. In addition, residual Chromium and Nickel were found most when the drills were used their twentieth round (0.249 + 0.347 and 0.197 + 0.135 microgram / gram) and found least when the drills were used at their first round (0.045 + 0.124 and 0.034 + 0.049 microgram / gram). Furthermore, studies of both metals found that drills which have been used for 10 and 20 times create significantly greater Chromium residue than the new ones. However, Nickel residue after using the new drills was significantly different from that of their twentieth drills.en
dc.format.extent2028527 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1906-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกระดูก -- ศัลยกรรมen
dc.subjectนิเกิลen
dc.subjectโครเมียมen
dc.titleการศึกษาการตกค้างของโครเมียมและนิกเกิลที่ฝังในกระดูกภายหลังการเจาะกระดูกด้วยหัวเจาะรากเทียมen
dc.title.alternativeA study of chromium and nickel recidues in bone after drilling with implant drillsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineทันตกรรมประดิษฐ์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSunphat.N@chula.ac.th-
dc.email.advisortsittich@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1906-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
umaporn.pdf1.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.