Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15465
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริเดช สุชีวะ-
dc.contributor.authorกฤษณา ปลื้มรัมย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2011-07-10T06:35:27Z-
dc.date.available2011-07-10T06:35:27Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15465-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพการประเมินผลการเรียนรู้เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่เรียนร่วมในโรงเรียน (2) เพื่อพัฒนาชุดเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่เรียนร่วมในโรงเรียน (3) เพื่อศึกษาคุณภาพของชุดเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่เรียนร่วมในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูหรือผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้ 5 คน และเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่เรียนร่วมในโรงเรียน ที่มีระดับสติปัญญา 90 ขึ้นไป ไม่มีความพิการซ้ำซ้อน และกำลังศึกษาในระดับประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2550 โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง จากโรงเรียนที่มีเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่เรียนร่วม ในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 63 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่เรียนร่วมในโรงเรียน แบ่งออกเป็น 3 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบปรนัย 4 ตัวเลือก แบบสอบอัตนัย และแบบสอบปฏิบัติ วิเคราะห์คุณภาพข้อสอบโดยใช้ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ได้ค่าความยาก, อำนาจจำแนก และค่าความเที่ยง โดยใช้โปรแกรม TAP version 4.3.5 และโปรแกรม SPSS 13 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการศึกษาสภาพในจัดการเรียนรู้ การทดสอบ และการประเมิน เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ตามสภาพจริงในปัจจุบัน โดยรวบรวมจากการสัมภาษณ์ การสังเกต การศึกษาเอกสาร พบว่า โรงเรียนโดยทั่วไปมีสภาพลักษณะการจัดการเรียนรู้จะยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ วางแผนการจัดการศึกษารายบุคคล (IEP) สอนแบบรายบุคคล วัตถุประสงค์หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังสำหรับนักเรียนจะเป็นแบบรายบุคคลอิงตามหลักสูตรแกนกลางแต่ลดระดับความยากลงมาตามศักยภาพของผู้เรียน แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอิงตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังใน IEP โดยครูเป็นผู้สร้างแบบทดสอบมีทั้งการสังเกตจากการปฏิบัติงาน แบบทดสอบแบบเติมคำตอบ แบบมีตัวเลือก แต่แบบสอบแบบตัวเลือกนั้นไม่เป็นที่นิยมใช้ ในการจัดดำเนินการสอบนั้นในบางรายครูอาจจะต้องเข้ามามีส่วนช่วยในการอ่านข้อสอบ นอกจากนี้การกำหนดเกณฑ์การวัดที่ไม่สูงนักเป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน ครูจะใช้เกณฑ์ที่กำหนดขึ้นต่างออกจากเพื่อนในชั้นเรียน มีการให้เกรดเช่นเดียวกันกับเพื่อนร่วมชั้นแต่ เกรด 4 3 2 1 ของเด็กจะมีเกณฑ์คะแนนที่ต่างออกไปจากเพื่อนในชั้นเรียน การตั้งเกณฑ์ ครูตั้งเกณฑ์ในระดับที่ไม่สูงมาก โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ปกครอง 2. ผลการพัฒนาชุดเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่เรียนร่วมในโรงเรียน แบ่งออกเป็น 3 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ ฉบับที่ 2 แบบสอบอัตนัย จำนวน 3 ข้อ และฉบับที่ 3 แบบสอบปฏิบัติ จำนวน 4 ข้อ 3. ผลการวิเคราะห์คุณภาพรายข้อของแบบสอบตามทฤษฎีทดสอบแบบดั้งเดิม พบว่า ฉบับที่ 1 แบบสอบปรนัย 4 ตัวเลือก มีค่าความยาก (p) อยู่ระหว่าง 0.17-0.83 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.14-0.69 ค่าความเที่ยง KR20 เท่ากับ 0.67 ฉบับที่ 2 แบบสอบอัตนัย แบบเติมคำตอบสั้นๆ มีค่าความยาก (P[subscript i]) อยู่ระหว่าง 0.43-0.90 ค่าอำนาจจำแนก (R[subscript i]) อยู่ระหว่าง 0.20-0.85 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.63 ฉบับที่ 3 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ระหว่างคะแนนรวมการประเมินผู้ประเมินคนที่ 1 และผู้ประเมินคนที่ 2 มีความสัมพันธ์กันในระดับต่ำ (r = 0.737) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาการประเมินในเรื่องการวัด การชั่งและเรื่องเวลาของผู้ประเมินคนที่ 1 และผู้ประเมินคนที่ 2 พบว่า มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในทุกเรื่อง โดยมีค่าสหสัมพันธ์ 0.726, 0.700 และ 0.617 ตามลำดับ 4. ผลย้อนกลับจากครูผู้ใช้เครื่องมือ พบว่า ชุดเครื่องมือฯ มีประโยชน์สะดวกในการใช้ และช่วยเหลือเด็กได้ดี.en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to (1) study an evaluation for students with learning disability studying in typical schools. (2) develop a Mathematics learning evaluation toolkit for third grade students with learning disability studying in typical schools. (3) investigate a quality of a Mathematics learning evaluation toolkit for third grade students with learning disability studying in typical schools. The sample consisted of 5 teachers or the experts of a student in with learning disability studying in typical schools and 63 third grade students in with learning disability studying in typical schools. The research instrument consisted of 2 parts; part 1 to study an evaluation for students with learning disability studying in typical schools and part 2 to develop a Mathematics learning evaluation toolkit for third grade students with learning disability studying in typical schools in multiple choice test, short answer test and performance test Data were analyzed by item analysis based on the Classical Test Theory level difficulty, discrimination power, reliability coefficient, guessing parameter through TAP 4.3.5 and SPSS 13. Major results of the study were as follow: 1. To study an evaluation for students with learning disability studying in typical schools showed school, teacher and parents get an Individuals Education Plan (IEP) for their students with learning disability. An evaluation for students with learning disability base on their IEP. 2. The developing of a Mathematics learning evaluation toolkit for third grade students with learning disability studying in typical schools consisted of 3 parts; part 1 multiple choice test form of 10 items, part 2 short answer test form of 5 items and part 3 performance test form of 4 items. 3. The item analysis of the scale by the Classical Test Theory showed in multiple choice test form providing level difficulty of the items in the ranged of 0.17-0.83, discrimination power of the items in the ranged of 0.14-0.69, KR20 reliability coefficient of 0.67 the short answer test form providing level difficulty of the items in the ranged of 0.43-0.90, discrimination power of the items in the ranged of 0.20-0.85. The short answer test form provided Cronbach's alpha reliability coefficient of 0.63. The performance test form provided Pearson correlation coefficient between evaluator 1 and evaluator 2 is low (r = 0.737), In term of Mearurement, weigh and clock in performance test provided Pearson correlation coefficient between evaluator 1 and evaluator 2 are 0.726, 0.700 and 0.617.en
dc.format.extent18469197 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.494-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้en
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอนen
dc.titleการพัฒนาชุดเครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ที่เรียนร่วมในโรงเรียนen
dc.title.alternativeThe development of mathematics learning evaluation toolkit for third grade students with learning disability studying in typical schoolsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSiridej.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.494-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kritsana_pl.pdf18.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.