Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15480
Title: ประสบการณ์การฟื้นสภาพของผู้สูงอายุที่ประสบภัยพิบัติสึนามิ
Other Titles: Resilience experiences of elderly persons in Tsunami disaster
Authors: ธัญลักษณ์ แสนสุข
Advisors: จิราพร เกศพิชญวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: วัยชรา
ผู้สูงอายุ
สึนามิ
ความสามารถในการฟื้นพลัง
ปรากฏการณ์วิทยา
Aging
Older people
Tsunamis
Resilience (Personality trait)
Phenomenology
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความหมายและประสบการณ์การฟื้นสภาพของผู้สูงอายุที่ประสบภัยพิบัติสึนามิ โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้สูงอายุจำนวน 13 คน (หญิง 6 คน ชาย 7 คน) ซึ่งได้รับเลือกเป็นผู้ให้ข้อมูลหลักอย่างเฉพาะเจาะจง โดยพิจารณาตามเกณฑ์คุณสมบัติที่กำหนด เก็บข้อมูลในพื้นที่อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา สัมภาษณ์โดยการบันทึกเทปร่วมกับการบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลตามเนื้อหาด้วยวิธีการของโคไลซี่ย์ (Colaizzi method) (Streubert and Carpenter, 2007) ผลการวิจัยพบว่า การฟื้นสภาพตามความหมายของผู้สูงอายุที่ประสบภัยพิบัติสึนามิ ประกอบด้วยประเด็นหลัก 3 ประเด็น ได้แก่ 1) การอยู่อย่างมีความหวัง ประกอบด้วย การก้าวต่อไปอย่างไม่หยุดนิ่ง และการมองว่าชีวิตยังมีความหมาย 2) การมีธรรมะเป็นหลักยึดเหนี่ยว ประกอบด้วย ปลงตก การใช้สติแก้ปัญหา และการมีคุณธรรมศีลธรรม และ 3) การใช้ชีวิตอย่างเข้าใจ ประกอบด้วย การพึ่งตนเอง การสร้างอารมณ์ขัน และการเปิดโลกทัศน์ให้ตนเอง สำหรับประสบการณ์การฟื้นสภาพของผู้สูงอายุที่ประสบภัยพิบัติสึนามิ จากการศึกษานี้ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลักซึ่งได้แก่ 1) ช่วงเผชิญปัญหาด้วยความท้าทาย เป็นช่วงที่มีการเผชิญการเปลี่ยนแปลงภายในตน ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงภายนอกตน อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของที่อยู่อาศัย และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) ช่วงประคับประคอง เป็นช่วงยอมรับการเปลี่ยนแปลง โดยการปรับกายและความคิดของตนเอง และการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุ และ 3) ช่วงตั้งหลักได้ ได้แก่ การตั้งหลักด้วยตนเอง โดยการใส่ใจดูแลตนเอง การขยันทำงาน และการดำรงอยู่อย่างมีจุดมุ่งหมาย และการตั้งหลักด้วยสังคม ได้แก่ การได้รับความช่วยเหลือจากครอบครัว ชุมชน บุคคลและหน่วยงานต่างๆ จากผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้เข้าใจความหมาย และประสบการณ์การฟื้นสภาพของผู้สูงอายุที่ประสบภัยพิบัติสึนามิ โดยบุคลากรทางสุขภาพสามารถใช้ข้อค้นพบจากการศึกษาครั้งนี้ เป็นข้อมูลพื้นฐานในการให้การดูแลช่วยเหลือ สำหรับการฟื้นสภาพของผู้สูงอายุให้ครอบคลุมมิติทางสุขภาพทั้งด้าน กาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ.
Other Abstract: To explore the meaning and experiences of older persons in the faced of Tsunami disaster, by using the qualitative method of phenomenology. Data were collected by in-depth interview of 13 elderly people (6 females and 7 males) who were purposively selected as key informants. Setting of the study were Takuapa district, Phangnga province. The interviews were tape-recorded, followed by field note. Data were analyzed by using Colaizzi’s method. (Streubert and Carpenter, 2007) Results of the study were: Meaning of resilience described by elderly persons in Tsunami disaster, were comprised with 3 themes which were 1) Living with hope, which means keep on moving, looking for the future and viewing life as being meaningful; 2) Dharma as a guidance, which accepted and let go, mindfulness in problem solving, and having morale; and 3) Living with under standing, self reliance, having a humor, and opening our own worldview. Resilience experiences of elderly persons in Tsunami disaster were comprised with 3 themes which were 1) Challenging Phase is the phase that the elderly have to face will changes which came within self and from outside, 2) Maintaining phase is the phase of acceptance to changes, and 3) Firming stage is phase being firm with self and could continue living with purpose in life. This study provides an understanding about the meanings and experiences of elderly in Tsunami disaster. Health providers could apply the findings of the study to support and give care for all dimension of health and appropriate demands for elderly persons in Tsunami disaster which were physical, psychological, social and spiritual.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลผู้สูงอายุ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15480
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanyaluk_sa.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.