Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15521
Title: การพัฒนาตัวบ่งชี้รวมสำหรับการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ
Other Titles: Development of efficient knowledge management composite indicators
Authors: จิรัชฌา วิเชียรปัญญา
Advisors: อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
วิจารณ์ พานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Onjaree.N@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การบริหารองค์ความรู้
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความรู้ เกี่ยวกับการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพสำหรับประเทศไทย สังเคราะห์ตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ 3) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตัวแปรการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ จำแนกตามหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ/เอกชน 4)พัฒนาและตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโมเดลการวัดการจัดการความรู้ ที่มีประสิทธิภาพกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 5)นำเสนอตัวบ่งชี้รวมสำหรับการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพสำหรับประเทศไทย วิธีดำเนินการวิจัยเป็นแบบผสมคือ ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการสังเคราะห์วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานที่มีการจัดการความรู้ที่เป็นเลิศ 4 หน่วยงาน และสนทนากลุ่มสำหรับผู้บริหาร ผุ้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการความรู้ในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวน 10 ท่านสำหรับการเก็บรวบรวมตัวแปรการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 221 คน ในหน่วยงานภาครัฐจำนวน 4 หน่วยงานและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ/เอกชน จำนวน 5 หน่วยงาน การตรวจสอบคุณภาพของเเครื่องมือใช้การพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหา และหาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งฉบับ ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามทั้งฉบับคือ 0.995 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยใช้โปรแกรม SPSS และโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า 1. ตัวแปรการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพมี 3 องค์ประกอบคือ 1) ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้คุณลักษณะของบุคลากรกับคุณลักษณะขององค์กร 2) กระบวนการ ประกอบด้วย ตัวบ่งชี้การพัฒนามนุษย์กับการพัฒนาองค์กรและ 3) ผลผลิต ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ทุนมนุษย์กับทุนองค์กร รวมตัวแปรสังเกตได้ที่ศึกษาทั้งสิ้น 6 ตัวแปร 2. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยตัวแปรการจัดการความรู้ ที่มีประสิทธิภาพระหว่างหน่วยงานของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ/เอกชน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในองค์ประกอบย่อยด้านกระบวนการ โดยที่ตัวบ่งชี้การพัฒนามนุษย์มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และตัวบ่งชี้การพัฒนาองค์กรมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ มีความตรงเชิงโครงสร้าง และมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( chi square=0.887, df=2, P=.642, GFI=0.999, AGFI=.986, RMR=.002) 4. ตัวบ่งชี้รวมสำหรับการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพสำหรับประเทศไทยที่พบ เรียงตามลำดับค่าน้ำหนักองค์ประกอบคือ องค์ประกอบย่อยกระบวนการ องค์ประกอบย่อยปัจจัยนำเข้า และองค์ประกอบย่อยผลผลิต.
Other Abstract: To study executive and expert's opinions in regard to efficient knowledge management for Thailand; to synthesize the indicators and variables of efficent knowledge management; to compare arithmetic mean of variables of efficient knowledge management between public and private organizations; to develop and validate the measurement model of efficient knowledge management; and to propose a composite indicators of efficient knowledge management for Thailand. The research used mixed methodology (Two phase study); the qualitative and quantitative method. Qualitative method consisted of three steps: a content analysis from the reviewed literature; in-depth interview with knowledge management managers from four organizations; and conduct a focus-group interview of 10 knowledge management variables in Thailand. Quantitative method conducted by using a survey questionnaire collected from 221 knowledge workers in four public and five private organizations in Thailand. Validity and reliability test were used to indicate the degree to which research instruments were capable of achieving certain aims. The reliabibity of the questionnaire was 0.995. The data was analyzed by content analysis, frequency distribution, percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test, the Pearson product moment correlation coefficient, and confirmatory factor analysis with SPPSS for Windows and LISREL 8.53. The research findings were 1. Knowledge management variables consisted of three components define as: input component: human characteristics and organization characteristics; process component: human development and organization development; and output component: human capital and organization capital. In this study, there were six observed varibles. 2. There was a significant difference at the .05 level in efficient knowledge management between public and private organizations in process components. There were singnificant differences at the .01 level in human development indicator and at the .05 level in organization development indicator between public and private organizations. 3. The efficient knowledge management conceptual model was fit to the empirical data(chi square = 0.887, df=2, p=.642, GFI=0.999, AGFI=.986, RMR=.002). 4. It was found that the factor loading of efficient knowledge management composite indicators for Thailand were process, input and output components, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15521
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.591
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.591
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jiracha.pdf7.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.