Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15562
Title: ประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้ยาเม็ดมะขามแขกในการรักษาภาวะท้องผูกเรื้อรังในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย
Other Titles: Effectiveness and safety of senna tablets in treatment of chronic constipation patients with end stage renal disease
Authors: นงลักษณ์ ลิ้มกุล
Advisors: พรอนงค์ อร่ามวิทย์
อำนาจ ชัยประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: annablee@hotmail.com
achaiprasert@hotmail.com
Subjects: ไตวายเรื้อรัง
ท้องผูก
มะขามแขก
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบทดลองก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้ยาเม็ดมะขามแขก ในการรักษาภาวะท้องผูกเรื้อรังในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือล้างไตทางช่องท้องที่มีภาวะท้องผูกเรื้อรังจำนวน 51 คน มีผู้ป่วยเข้าร่วมการวิจัยจริงจำนวน 48 คน (ชาย 22 คน และหญิง 26 คน อายุเฉลี่ย 59.5 ± 13.8 ปี) เริ่มรับประทานยาเม็ดมะขามแขกครั้งละ 2 เม็ด วันละ 1 ครั้งก่อนนอน นาน 1 สัปดาห์ กรณีที่ไม่ได้ผล จะปรับขนาดยาเพิ่มขึ้นครั้งละ 2 เม็ดต่อวัน ทุก 1 สัปดาห์ขนาดยาสูงสุดที่ผู้ป่วยได้รับคือ 8 เม็ดต่อวัน เมื่อผู้ป่วยได้รับขนาดยาที่เหมาะสม จะคงขนาดยานั้นนาน 4 สัปดาห์ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษา 87.5 จำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ก่อนได้รับยาเม็ดมะขามแขก 1.0 ± 1.0 ครั้งต่อสัปดาห์และหลังได้รับยา 6.1 ± 1.8 ครั้งต่อสัปดาห์) (p < 0.001) ขนาดยาที่ทำให้ผู้ป่วยหายจากภาวะท้องผูกเรื้อรั ง เฉลี่ยวันละ 3.2 ± 1.4 เม็ด อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่พบในการศึกษานี้คือ อาการปวดท้อง มวนท้อง ท้องอืด และถ่ายเหลว พบอาการปวดท้องที่รุนแรงเพียง 1 รายแต่อาการดีขึ้นเมื่อหยุดยา ระดับชีวเคมีในเลือดของผู้ป่วยไม่เปลี่ยนแปลงตลอดที่ได้รับยาเม็ดมะขามแขก การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ยาเม็ดมะขามแขกมีประสิทธิผลและความปลอดภัยในการรักษาภาวะท้องผูกเรื้อรังในผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย ที่ได้รับการรักษาบำบัดทดแทนไต อย่างไรก็ตามมีผู้ป่วยบางส่วนไม่สามารถทนต่ออาการไม่พึงประสงค์ของยาได้.
Other Abstract: This before and after study was designed to assess the effectiveness and safety of senna tablets for the treatment of chronic constipation in patients with end stage renal disease (ESRD) undergoing hemodialysis (HD) or continuous ambulatory peritoneal dialysis (CAPD) at Phramongkutklao Hospital. Initially 51 patients were included. Data from 48 patients was used for analysis (22 men, 26 women; mean age 59.5 ± 13.8 years). Patients were treated with 2 tablets of senna once daily at bedtime for one week. The dose was increased by 2 tablets per day each week until approaching the maximum dose (8 tab per day) in the patients who had no response during the preceding one week, then continue of with this dose for 4 weeks. The results showed that the response rate was 87.5 % and statistically increase the defecation frequency per week from 1.0 ± 1.0 to 6.1 ± 1.8 (p < 0.001). The average daily dosage for this group of patients was 3.2 ± 1.4 tablets. Adverse effect such as flatus, griping, abdominal pain and loose stools occurred during study. However, one patient reported severe abdominal pain during senna tablet therapy, the symptoms disappeared after discontinue the medicine. No clinically significant differences in blood chemistries were observed during enrollment and the active treatment period. From this study showed that senna tablet is effective and safe to use in end stage renal disease patients. However, some patients cannot tolerate the adverse effects.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15562
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.967
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.967
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nongluk_li.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.