Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15749
Title: การศึกษาความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง
Other Titles: A Study of stroke awareness in stroke risk patients
Authors: อุมาพร แซ่กอ
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: hchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th
Subjects: หลอดเลือดสมอง -- โรค
ความตระหนัก
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง และเปรียบเทียบความตระหนักรู้ของผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง โดยจำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ และประสบการณ์เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง โดยศึกษาในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูงและโรคหัวใจ จำนวน 384 คน จากโรงพยาบาล ในเขตกรุงเทพมหานคร 4 แห่ง ด้วยวิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างเป็นขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ที่มี 3 องค์ประกอบ คือ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ความเชื่อเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง การปฏิบัติตัวเพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และ แบบสอบถามประสบการณ์เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง เครื่องมือทุกฉบับได้รับการตรวจสอบเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน และหาค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบราค เท่ากับ .88 .85 .85 และ .86 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองมีความตระหนักรู้อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 36.42 (SD = 5.31) 2. ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อเปรียบเทียบตาม อายุ (F = 8.28, p<.05) ระดับการศึกษา (F = 25.71, p<.05) รายได้ (F = 22.27, p<.05) และประสบการณ์เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง ด้านปัจจัยเสี่ยง (F = 32.07), p<.05) ด้านอาการเตือน (F = 29.30, p<.05) และด้านการรักษา (F = 23.98, p<.05)
Other Abstract: To 1) study the level of stroke awareness in stroke risk patients,and 2) to compare the stroke awareness among risk patients based on patient’s gender, age, marital status, education level and, experience. A multistage sampling technique was used to recruit 384 stroke risk patients diagnosed with high blood pressure, diabetes, high cholesterol, and heart disease from four hospitals in Bangkok. The research instruments compose of the demographic questionnaire, stroke awareness questionnaire, and stroke experience questionnaire. The questionnaires were content validated by 5 experts. The Cronbach’s alpha coefficients were .88 .85 .85, and .86, respectively. Statistical techniques used in data analysis were frequency percentage, mean, standard deviation, and ANOVA Major findings were as follows: 1. The average stroke awareness score of the stroke risk patients was at the moderate level. The average total score was 36.42 (SD = 5.31) 2. There were significant differences between mean of stroke awareness scores related to age (F = 8.28, p < .05), education level (F= 25.71, p < .05), income (F= 22.27, p <.05), experienced of risk factors (F=32.07, p <.05), warning symptoms (F=29.30, p <.05), and treatment (F=23.98, p<.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15749
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1024
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1024
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Umaporn_sa.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.