Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15960
Title: เภสัชจลนศาสตร์ของยาเซฟไตรอะโซนในผู้ป่วยโรคเบต้า-ธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอี
Other Titles: Pharmacokinetics of ceftriaxone in β-thalassemia/hemoglobin E patients
Authors: นวรัตน์ ปัญจสวัสดิ์วงศ์
Advisors: วันชัย ตรียะประเสริฐ
อิศรางค์ นุชประยูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Wanchai.T@Chula.ac.th
Issarang.N@Chula.ac.th
Subjects: เภสัชจลนศาสตร์
ธาลัสสีเมีย
เซฟไตรอะโซน
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ของยาเซฟไตรอะโซนขนาด 1 กรัม วันละครั้ง ในผู้ป่วยโรคเบต้า-ธาลัสซีเมีย/ฮีโมโกลบินอี หารูปแบบทางเภสัชจลนศาสตร์ของยาเซฟไตรอะโซนในผู้ป่วยกลุ่มนี้ และสร้างแบบจำลองกราฟความเข้มข้นของยากับเวลา อาสาสมัครที่เข้าร่วมการวิจัยจำนวน 18 คน ได้รับยาเซฟไตรอะโซนขนาด 1 กรัม ครั้งเดียว โดยหยดยาเข้าทางหลอดเลือดดำนาน 30 นาที หลังจากนั้นจึงทำการเก็บตัวอย่างเลือดทั้งหมด 10 ครั้งๆ ละ 5 มิลลิลิตร ณ เวลาก่อนเริ่มให้ยา และที่เวลา 15, 30 (หลังจากที่ให้ยาหมดแล้ว), 40 นาที ต่อไปที่เวลา 1, 2, 4, 8, 12 และ 24 ชั่วโมง หลังจากเริ่มให้ยา การวิเคราะห์ระดับยาในพลาสมาใช้หลักการโครมาโทกราฟฟีแบบของเหลวสมรรถนะสูง (HPLC) ผลการวิเคราะห์ค่าเภสัชจลนศาสตร์ พบว่า ค่าคงที่ของการกำจัดยา (Ke) เฉลี่ยเท่ากับ 0.0860 + 0.0146 ชั่วโมง-1 ค่าครึ่งชีวิตของการกำจัดยา (t1/2) เฉลี่ยเท่ากับ 8.27 + 1.35 ชั่วโมง พื้นที่ภายใต้เส้นโค้งของความเข้มข้นของยาในพลาสมากับเวลา (AUC) เฉลี่ยเท่ากับ 1544.66 + 275.75 ชั่วโมง*ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ปริมาตรการกระจายยา (Vd) เฉลี่ยเท่ากับ 7847.09 + 1338.35 มิลลิลิตร และค่าการกำจัดของยา (CL) เฉลี่ยเท่ากับ 667.22 + 120.04 มิลลิลิตร/ชั่วโมง โดยรูปแบบทางเภสัชจลนศาสตร์ที่มีความเหมาะสมที่สุดที่จะนำมาใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างระดับยาเซฟไตรอะโซนในพลาสมากับเวลา คือ แบบจำลองสองห้อง ตามสมการ Ct = -1306386e-2.3673(t) + 121.12e-0.0847(t) + 1306264.88e-2.3669(t) การสร้างกราฟแบบจำลอง เพื่อหาเวลาที่ระดับยาในเลือดอยู่เหนือค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อได้ (Time above MIC, T > MIC) แสดงให้เห็นว่ายาเซฟไตรอะโซนขนาด 1 กรัม วันละครั้ง ทางหลอดเลือดดำ โดยหยดยานาน 30 นาที มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ Salmonella, Streptococcus pneumoniae, Klebsiella pneumoniae, Escherichia coli และ Staphylococcus aureus อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาระดับยาอิสระในพลาสมา พบว่า ยาเซฟไตรอะโซนมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ Salmonella, Streptococcus pneumoniae ดังนั้นการให้ยาเซฟไตรอะโซนในขนาดดังกล่าว อาจมีผลทำให้เวลาที่ระดับยาในเลือดอยู่เหนือค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ มีค่าน้อยกว่าร้อยละ 80 ได้ การเพิ่มประสิทธิภาพของยาเซฟไตรอะโซนในการฆ่าเชื้อสามารถทำได้หลายวิธี ได้แก่ การเพิ่มขนาดยา หรือ การลดระยะห่างของการให้ยา หรือ การเพิ่มระยะเวลาการให้ยา
Other Abstract: The purposes of this study were to evaluate pharmacokinetics of intravenous ceftriaxone 1 g once daily in β-thalassemia/hemoglobin E patients, to develop ceftriaxone pharmacokinetic model and to simulate concentration-time curve. Eighteen β-thalassemia/hemoglobin E patients were recruited and subsequently received a single dose of ceftriaxone 1 g by intravenous infusion over 30 min. Blood samples were collected at times 0, 0.25, 0.5, 0.67, 1, 2, 4, 8, 12 and 24 hr after administration of the drug. Plasma ceftriaxone concentrations were assayed by high performance liquid chromatography (HPLC). The results of non-compartmental pharmacokinetic analysis show that the mean value +standard deviation of elimination rate constant (Ke) was 0.0860+0.0146 hr-1, half-life (t1/2) 8.27+1.35 hr, area under the curve (AUCinf) 1544.66+275.75 hr*ug/mL, volume of distribution (Vd) 7847.09+1338.35 mL and ceftriaxone clearance (CL) 667.22+120.04 mL/hr. The most suitable pharmacokinetic model that can describe the pharmacokinetic profile of ceftriaxone concentrations was a two-compartment model as equation Ct = -1306386e-2.3673(t) + 121.12e-0.0847(t) + 1306264.88e-2.3669(t). The simulation of concentration-time curve to determine the time when concentration exceeds the MIC (T > MIC) shows that ceftriaxone 1 g by intravenous infusion over 30 min once daily had efficacy against Salmonella, Streptococcus pneumoniae, Klebsiella pneumoniae, Escherichia coli and Staphylococcus aureus. Nevertheless, free drug concentration had efficacy against Salmonella and Streptococcus pneumoniae. As this dosage regimen of ceftriaxone, it might affect time above MIC value (< 80%). The efficacy of ceftriaxone could be increased by giving higher dose or decreasing the dosing interval or increasing the infusion duration.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15960
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.182
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.182
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
navarat_pa.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.