Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/159
Title: การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Other Titles: Tourism industry development of Lao People's Democratic Republic
Authors: เรืองชัย ฤทธิ์เดช, 2505-
Advisors: สมชาย รัตนโกมุท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Subjects: อุตสาหกรรมท่องเที่ยว--ลาว
การท่องเที่ยว--แง่เศรษฐกิจ
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออุปสงค์การท่องเที่ยวใน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ วิเคราะห์แนวโน้มทิศทางการท่องเที่ยว ตลอดจนศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นแก่การวางแผนพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวของสปป.ลาวให้เหมาะสมกับศักยภาพที่มีอยู่ ขอบเขตในการศึกษา คือ นักท่องเที่ยวจากชาติตะวันตกที่เข้ามาเยือน สปป.ลาวระหว่างเดือนตุลาคม 2544 เมษายน 2545 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการทำแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่าง 384 ราย และข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งต่างๆ ใช้วิธีการศึกษาทั้งแบบพรรณาวิเคราะห์และแบบปริมาณวิเคราะห์ซึ่งอาศัยแบบจำลองมัลติโนเมียลโลจิท (Multinomial Logit) ตามแนวคิดของค่า Utility โดยปัจจัยที่นำมาศึกษาประกอบด้วย อายุ เพศ ค่าใช้จ่าย ภูมิลำเนา ความสนใจ สื่อ ผู้ร่วมทาง จำนวนครั้งที่มาสปป.ลาว ผลการศึกษาพบว่า ความร่วมมือระหว่างไทย-ลาว ได้อำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวในการเดินทางเข้ามาเที่ยว สปป.ลาวยิ่งขึ้นเป็นลำดับ ทั้งในด้านเวลาและค่าใช้จ่าย นับแต่ปี 2539 และจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยคิดเป็นสัดส่วน 80% ซึ่งสูงที่สุดของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติของ สปป.ลาว อย่างไรก็ตาม พัฒนาการทางด้านการท่องเที่ยวของ สปป.ลาวยังไม่อาจเทียบเคียงกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียนด้วยกันเนื่องจากยังมีทรัพยากรแหล่งท่องเที่ยวที่ยังไม่ถูกนำเสนอและนโยบายที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวมีลักษณะครึ่งเปิด-ครึ่งปิด ส่วนผลที่ได้จากแบบจำลองค่อนข้างน่าพอใจ(ค่า Mc-Fadden R[superscript 2] =0.657) โดยพบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์เมื่อเทียบกับแหล่งท่องเที่ยวนันทนาการ คือ ความสนใจและแหล่งข้อมูล ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเมื่อเทียบกับแหล่งท่องเที่ยวนันทนาการ คือ รายได้ ภูมิลำเนา เพศ ความสนใจ ผู้ร่วมทาง และสื่อ และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเมื่อเทียบกับแหล่งท่องเที่ยวนันทนาการคือ อายุและความสนใจ
Other Abstract: This thesis, Tourism Industry Development of Laos PDR, aims to study the factors affect the tourism demand from foreign visitor, to analyse the industry prospect, and to identify all possible causes that hinder the industry development in Laos PDR. The information from the context will assist the relevant parties to pave a way for the brighter future of Laos PDR tourism industry. To make the study more specific, the paper focuses on the western tourists who visited Laos PDR from October 2001 to April 2002 with the sample size of 384. Information necessary for the study is gathered from both primary and secondary sources. The paper applies both descriptive and quantitative approach with a method called "Multinomial Logit", a multiple regression model that enables a researcher to find the significantly independent variable(s). In this context, the regressors are age, gender, travelling expense, visitor origination, personal interest, media from which visitor receives the information, travelling companion, and travelling frequency to Laos PDR. The qualitative result reveals that the number of tourists has been gradually increasing. The majority is Thai tourist accountable for 80% of total visitors in Laos PDR. This uptrend is a result of the cross-border scheme, a collaboration plan that provides useful and important guide to the tourists before entering to Laos PDR, between Laos PDR and Thailand initiated in 1996. However, the policies regarding the tourism development are urgently in need to increase the country's competitiveness, comparing to its neighboring country like Thailand since Laos PDR possesses a number of fantastic and potential attracting sites. In addition to the descriptive results, the statistic parameter, Mc-Fadden R[superscript 2], from quantitative approach shows a moderate satisfaction figure i.e. R[superscript 2] = 0.657. The results also indicate that independent variables (personal interest) and historical site and entertaining site are correlated.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/159
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1155
ISBN: 9741738285
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.1155
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
leuangxay.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.