Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16753
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุวิมล ว่องวาณิช | - |
dc.contributor.advisor | โชติกา ภาษีผล | - |
dc.contributor.author | ขวัญเมือง แก้วดำเกิง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-02-09T14:29:18Z | - |
dc.date.available | 2012-02-09T14:29:18Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16753 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานในลักษณะการอธิบายตามหลัง มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปัจจัยคุณลักษณะโรงเรียนกับตัวแปรเครือข่ายทางสังคม และตัวแปรการจัดบริการสุขภาพตามระบบดัชนีสุขภาพโรงเรียน (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปัจจัยคุณลักษณะโรงเรียน ตัวแปรเครือข่ายทางสังคม และตัวแปรการจัดบริการสุขภาพตามระบบดัชนีสุขภาพโรงเรียน กับสุขภาวะของนักเรียนในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับมัธยมศึกษา และ (3) เพื่อเปรียบเทียบเครือข่ายทางสังคมในโรงเรียนที่มีคุณภาพการจัดบริการสุขภาพตามระบบดัชนีสุขภาพโรงเรียนแตกต่างกัน การวิจัยแบ่งเป็นสามระยะคือ ระยะที่หนึ่ง พัฒนาระบบดัชนีสุขภาพโรงเรียน ระยะที่สอง สำรวจสภาพและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และระยะที่สาม ศึกษาเครือข่ายทางสังคมเชิงลึกรายกรณี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน และสังกัดสำนักบริหารการศึกษาท้องถิ่น วิจัยในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี สุพรรณบุรี ระยอง กาญจนบุรี และกรุงเทพมหานคร รวมจำนวน 247 โรงเรียน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากโรงเรียนทั่วประเทศ และกลุ่มตัวอย่างสมาชิกเครือข่ายทางสังคมในโรงเรียนที่คัดเลือกศึกษารายกรณี จำนวน 3 แห่ง รวมจำนวน 181 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติภาคบรรยาย วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยวิธีวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทางและแบบทางเดียว วิเคราะห์โมเดลโครงสร้างด้วยโปรแกรม LISREL 8.7 วิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม ด้วยโปรแกรม UCINET 6.187 และ NetDraw 2.081 และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่า เครือข่ายทางสังคมมีความสัมพันธ์กับการจัดบริการสุขภาพฯ และสุขภาวะของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการจัดบริการสุขภาพฯ มีความสัมพันธ์กับสุขภาวะของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2) ปัจจัยคุณลักษณะโรงเรียน ได้แก่ (ก) สังกัดของโรงเรียนไม่มีความสัมพันธ์กับเครือข่ายทางสังคม การจัดบริการสุขภาพฯ และสุขภาวะของนักเรียน (ข) ขนาดของโรงเรียนมีความสัมพันธ์กับการจัดบริการสุขภาพฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับเครือข่ายทางสังคม และสุขภาวะของนักเรียน และ (ค) สัดส่วนครูต่อนักเรียนมีความสัมพันธ์กับเครือข่ายทางสังคมและการจัดบริการสุขภาพฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับสุขภาวะของนักเรียน (3) ผลการวิเคราะห์ค่าอิทธิพลของตัวแปร พบว่า เครือข่ายทางสังคมและการจัดบริการสุขภาพฯ มีค่าอิทธิพลทางตรงต่อสุขภาวะของนักเรียนแตกต่างกัน โดยเครือข่ายทางสังคมมีขนาดอิทธิพลทางตรงต่อสุขภาวะของนักเรียนเท่ากับ 0.18 และมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านการจัดบริการสุขภาพฯ เท่ากับ 0.24 และพบว่า การจัดบริการสุขภาพฯ มีขนาดอิทธิพลทางตรงต่อสุขภาวะของนักเรียนเท่ากับ 0.35 (4) ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลโครงสร้างการส่งเสริมสุขภาวะของนักเรียน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (chi-square=114.64, df=94, p=0.07, GFI=0.948, AGFI=0.915, RMR=0.051) (5) ผลการศึกษาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนสุขภาวะนักเรียน และการจัดบริการสุขภาพฯ ระหว่างโรงเรียนที่มีลักษณะเครือข่ายทางสังคมด้านโครงสร้าง ด้านบทบาทหน้าที่ และด้านปฏิสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน พบว่า สุขภาวะของนักเรียนได้รับอิทธิพลจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างลักษณะเครือข่ายทางสังคมในด้านโครงสร้างและด้านปฏิสัมพันธ์ ส่วนการจัดบริการสุขภาพฯ ไม่ได้รับอิทธิพลจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรลักษณะเครือข่ายทางสังคมดังกล่าว (6) การศึกษาเปรียบเทียบเครือข่ายทางสังคมของโรงเรียน 3 แห่ง โดยการวิเคราะห์บุคคลศูนย์กลางและการวิเคราะห์แบบทั้งเครือข่ายชี้ให้เห็นว่า โรงเรียนที่มีคุณภาพการจัดบริการแตกต่างกัน จะมีลักษณะเครือข่ายทางสังคมที่แตกต่างกันด้วย (7) ผลการเปรียบเทียบเครือข่ายทางสังคมของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพที่มีการจัดบริการสุขภาพฯ แตกต่างกัน พบว่า ขนาดของเครือข่าย (network size) การรวมศูนย์ (centralization) และการจัดกลุ่ม (clustering) สามารถใช้จำแนกความแตกต่างระหว่างโรงเรียนที่มีคุณภาพการจัดบริการสุขภาพแตกต่างกันได้ดี ส่วนค่าความหนาแน่นของเครือข่าย (density) และการประสานศูนย์กลาง (eigenvector centrality) ใช้จำแนกได้ไม่ชัดเจน | en |
dc.description.abstractalternative | This research was designed on mixed methods with 3 objectives: (1) To study the relationships among the variable of school characteristics and the variables of social network and health services management according to the school health index system (2) To study the relationships between the variables of school characteristics, social network and the school health index system and the variable of students well-being and (3) To compare social networks in health promoting schools. The research was divided into 3 phases: Phase 1-development of the school health index system; Phase 2-exploration and study of the relationships among school characteristics, social network and school health index system and student well-being in health promoting schools and; Phase 3- a case study of social network in health promoting schools. The multi-stage sample consisted of 247 schools: secondary schools under the supervision of the Office of the Basic Education Commission, the Office of the Private Education Commission and the Bureau of Local Education Administration in Nonthaburi, Suphanburi, Rayong, Kanchanaburi and Bangkok and a sample group of health networks from schools selected for the case study for a total of 181 people. Data analysis included descriptive statistics, Pearson's product moment correlation, ANOVA using SPSS 11.5 and analyses of structural model using LISREL 8.7 and social network analyses using UCINET and NetDraw programs and analyses of qualitative data using content analysis. The findings: (1) In terms of the relationships among the variables, it was found that social network was significantly associated with school health index system and significantly associated with student well-being. Furthermore, school health index system was significantly associated with student well-being. (2) School characteristic variables comprised the following: (a) school sector was not significantly associated with social network, school health index system or student well-being. (b) school size was significantly associated with school health index system, but was not significantly associated with social network and student well-being and (c) teacher ratio was significantly associated with social network and school health index system but was not significantly associated with student well-being. (3) Student well-being was directly affected by social network with a score of 0.18 and indirectly affected through the school health index system with a score of 0.24. Student well-being was directly affected by the school health index system with a score of 0.35 (4) The validation results of the structural model for health promotion in secondary school students, it was found that the model fit nicely with the empirical data (chi-square=114.64, df=94, p=0.07, GFI=0.948, AGFI=0.915, RMR=0.051). (5) The results of comparison of means of student well-being or school health index system with different social network (structure, functional and interaction) it was found that the student well-being has effects from interaction between structure and interaction but the school health index system has no retrieve effects from interaction. (6) According to the egocentric and whole-network analyzing indicated that the schools which different with quality of School health index system they were different social network. (7) By the comparison of social networks of schools with differing school health index systems, it was found that network size, centralization, and clustering can be used to categorize schools with diverse good health service management according to the school health index system. The density of the network and eigenvector centrality cannot be clearly categorized. | en |
dc.format.extent | 4399364 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.201 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | โรงเรียน -- บริการส่งเสริมสุขภาพ | en |
dc.subject | การส่งเสริมสุขภาพ | en |
dc.subject | บริการสุขภาพในโรงเรียน | en |
dc.subject | เครือข่ายสังคม | en |
dc.subject | เครื่องชี้ภาวะสุขภาพ | en |
dc.subject | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต | en |
dc.title | เครือข่ายทางสังคมและระบบดัชนีสุขภาพโรงเรียนในฐานะตัวแทรกแซงที่ส่งเสริมสุขภาวะของนักเรียนในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ | en |
dc.title.alternative | Social network and school health index system as interventions enhancings students' well-being in health promoting schools | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | es |
dc.degree.discipline | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | wsuwimon@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.201 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kwanmuang_ka.pdf | 4.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.