Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/169
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุทธิพันธ์ จิราธิวัฒน์ | - |
dc.contributor.author | พราวพรรณ ประทุมชาติ, 2525- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.coverage.spatial | จีน | - |
dc.date.accessioned | 2006-05-30T04:01:05Z | - |
dc.date.available | 2006-05-30T04:01:05Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9745319899 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/169 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | ความตกลงการเปิดการค้าเสรีที่กำลังดำเนินไประหว่างไทย-จีนจะทำให้หลายอุตสาหกรรมของไทยต้องมีการปรับตัวในระดับที่แตกต่างกัน โดยหากการค้าเติบโตมาจากการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน (Intra-Industry Trade) แล้ว ต้นทุนการปรับตัวจะต่ำกว่า เนื่องจากไม่ต้องมีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตระหว่างอุตสาหกรรม (Reallocation of Resources Across Industries) การขยายตัวของการค้าจะเป็นการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยการใช้ปัจจัยการผลิตจัดสรรกันระหว่างสายการผลิตภายในอุตสาหกรรมซึ่งมีความคล้ายคลึงทั้งในด้านชนิดและสัดส่วนของปัจจัยการผลิต ดังนั้น ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่จึงปรับตัวได้ง่ายกว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการค้าระหว่างอุตสาหกรรม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ได้ทำการศึกษาที่มาของการเติบโตในมูลค่าการค้ารวมในอุตสาหกรรมหลักที่มีมูลค่าการค้าระหว่างไทยและจีนสูงที่สุด และอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะมีการขยายตัวในอนาคต ด้วยการคำนวณดัชนีที่ใช้วัดระดับการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน แล้วนำมาคำนวณหาที่มาของการเติบโตทางการค้า (Decomposition of Total Trade ; Contributions of Inter-Industry and Intra-Industry Trade) โดยศึกษาในช่วงปี 2541, 2542, 2543 และ 2545 ผลการศึกษา พบว่า อุตสาหกรรมที่มีการเติบโตทางการค้ามาจากการค้าระหว่างอุตสาหกรรมมากกว่าการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน ได้แก่ ปิโตรเคมี และเคมีอินทรีย์ โดยเป็นผลมาจากการค้าระหว่างอุตสาหกรรมร้อยละ 24.54 และ 6.27 และอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตทางการค้ามาจากการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันมากกว่าการค้าระหว่างอุตสาหกรรม ได้แก่ พลาสติก เครื่องจักรกล คอมพิวเตอร์ และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ โดยเป็นผลมาจากการเติบโตของการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันร้อยละ 10.87, -4.29, 7.83 และ -0.04 จึงสามารถสรุปได้ว่า การค้าในอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทยและจีนนั้นมีการเติบโตมาจากการค้าภายในอุตสาหกรรม ในด้านการวิเคราะห์รูปแบบของการค้าภายในอุตสาหกรรมของแต่ละอุตสาหกรรมหลักๆ พบว่า การค้าภายในอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันในอุตสาหกรรมที่ทำการศึกษาส่วนมากเป็นการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันแบบแนวตั้ง (Vertical Intra-Industry Trade) แบบ Superior Vertical หรือเป็นการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันแบบที่สินค้าที่ความแตกต่างกันในด้านคุณภาพซึ่งสะท้อนออกมาในราคาที่แตกต่างกัน โดยที่ประเทศไทยผลิตสินค้าคุณภาพดีกว่า หรือมีการผลิตชิ้นส่วนที่มีมูลค่าสุงกว่าโดยอาจเกิดจากการค้าของบริษัทข้ามชาติที่ตั้งฐานการผลิตในประเทศจีนและส่งออกเข้ามาประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปในประเทศไทยอีกต่อหนึ่ง ในด้านปัจจัยที่กำหนดการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันระหว่างประเทศไทยและจีนนั้น พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญคือ ความแตกต่างของสินค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน การประหยัดต่อขนาดและความไม่สมดุลทางการค้าสอดคล้องกับสมมติฐานในการค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันแบบแนวตั้ง | en |
dc.description.abstractalternative | Trade liberalization between Thailand and China will affect several industries in Thailand. Indeed, factors of production have to be reallocated after the change of volume of trade. If intra-industry trade effects on trade growth between two countries are more pronounced than inter-industry trade effects, then the costs of reallocation will be lower because of factor flows more freely within industries. The purpose of this thesis is to study sources of international trade growth in major industries, pattern of intra-industry trade and determinants of intra-industry trade between Thailand and China using the decomposition of total trade model; product similarity criterion and multiple regression analysis. The data used in this study cover the period 1998-2000 and 2002. The results of the study have shown industries that trade growth resulting from inter-industry trade effects rather than intra-industry trade effects are petrochemical industry and organic chemical industry. Inter-industry effects have contributed to trade growth of 24.54% and 6.27% respectively for these two industries. On the other hand, for industries like plastic, machinery and computer, electrical and electronic and automotive, trade growth of these industries is mainly derived from intra-industry trade effects. Intra-industry trade effects have respectively contributed to a growth of 10.87%, -4.29%, 7.83% and -0.04% respectively. In terms of the pattern of intra-industry trade, most of intra-industry trade happened between Thailand and China is superior vertical intra-industry trade : This superior vertical intra-industry trade is resulted from product differentiation by quality and price. Also, it can be explained that intra-firm trade could occur with the presence of multinational corporations (MNCs) that have production bases located in Thailand and China. Moreover, the determinants of intra-industry trade between two countries can be explained by product differentiation, economies of scale and trade imbalance. | en |
dc.format.extent | 1236293 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.86 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน | en |
dc.subject | ไทย--การค้ากับต่างประเทศ--จีน | en |
dc.title | การค้าภายในอุตสาหกรรมเดียวกันระหว่างประเทศไทยและจีน | en |
dc.title.alternative | Intra-industry trade between Thailand and China | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์ | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Suthiphand.C@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2004.86 | - |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Praopan.pdf | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.