Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17024
Title: แนวคำตัดสินของ ICSID เกี่ยวกับหลักประติบัตอย่างยุติธรรมและเที่ยงธรรม : ศึกษากรณีพิพาทระหว่างรัฐกับเอกชน
Other Titles: The principle of fair and equitable tratment under ICSID's award : study on state-investor disputes
Authors: ภารดี โชตะมะโน
Advisors: ชุมพร ปัจจุสานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อการระงับข้อพิพาททางการลงทุน
การลงทุนของต่างประเทศ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศ
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: หลักประติบัติอย่างยุติธรรมและเที่ยงธรรมในกฎหมายลงทุนระหว่างประเทศ ปรากฏในสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ โดยถือเป็นมาตรฐานขั้นต่ำเกี่ยวกับการคุ้มครองการลงทุน เพื่อให้มีการคุ้มครองการลงทุนระหว่างรัฐภาคี คือเป็นมาตรฐานขั้นต่ำในการประติบัติต่อคนต่างด้าว แต่มาตรฐานดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจน เนื่องจากเป็นกฎหมายระหว่างประเทศอันเกิดจากจารีตประเพณี โดยข้อบกพร่องของกฎหมายระหว่างประเทศอันเกิดจากจารีตประเพณีคือ มิได้อยู่ในรูปลายลักษณ์อักษรทำให้ไม่ทราบขอบเขตที่ชัดเจน จึงส่งผลต่อการปฏิบัติของรัฐต่างๆ ทำให้ต้องศึกษาค้นคว้าจากแนวคำพิพากษาของศาลต่างๆ รวมทั้งอนุญาโตตุลาการถือเป็นบ่อเกิดของกฎหมายระหว่างประเทศได้เช่นกัน คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อระงับข้อพิพาททางการลงทุน ( ICSID ) ในเรื่องนี้มีหลายคดี แต่จะศึกษาจำกัดเฉพาะ 12 คดีว่าสามารถช่วยขยายความให้ชัดเจนขึ้นได้หรือไม่เพียงใด ในการวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการว่า รัฐผู้รับการลงทุนละเมิดต่อหลักประติบัติอย่างยุติธรรมและเที่ยงธรรมหรือไม่นั้น คณะอนุญาโตตุลาการ ICSID จึงต้องวินิจฉัยคดีพิพาทโดยอาศัยมาตรฐานขั้นต่ำระหว่างประเทศอื่นมาประกอบในการวินิจฉัย ได้แก่ หลักการไม่ปฏิเสธความยุติธรรม หลักการกระทำภายใต้กระบวนการที่ชอบด้วยกฎหมาย หลักการคุ้มครองและปลอดภัยอย่างเต็มที่ หลักการไม่เลือกปฏิบัติ หลักการชำระค่าชดเชยอันเกิดจากการเวนคืนและการโอนกิจการคนต่างด้าวเป็นของรัฐ หลักการสุจริต และหลักความโปร่งใส อย่างไรก็ตาม แม้คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ICSID จะช่วยให้เกิดความชัดเจน แต่อนุญาโตตุลาการก็จำกัดอยู่แต่เฉพาะเพียงคดีนั้นๆ เท่านั้น เนื่องจากแต่ละคดีมีข้อเท็จจริงและสภาวการณ์ที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ดีแนวทางดังกล่าวสามารถช่วยให้รัฐต่างๆ นำไปปรับใช้ในการเจรจากันเพื่อทำความตกลงในสนธิสัญญาการลงทุนต่อไป
Other Abstract: Fair and equitable treatment principle which appears in Treaties or International Agreements is a provision in International Investment Law regarding investment protection provided for investment protection between or among the parties, the minimum standard of treatment to aliens. Due to the standard was recognized as a customary international law, the minimum standard of treatment has a crucial deficiency, its non-written form, which left its scope in uncertainty and affect the States practice. Thus, further study from adjudication, whether judicial or arbitration is called for. This thesis is confined to study certain cases. In order to resolve fair and equitable treatment disputes, the ICSID’s Tribunals decide the cases by applying the other international minimum standards namely non-denial of justice, due process of law, full protection and security, non-discrimination, compensation for expropriation and nationalization, good faith and transparency. Although the aforementioned Arbitral Awards give us a better more understanding of the principles and rules for fair and equitable principle, there were some limitations because many factors including circumstances had to be considered on a case by case basis. However, it can form guidelines for States to consider with a view to reaching an agreement on International Investment.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17024
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.172
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.172
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paradee_ch.pdf2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.