Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17447
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพุทธกาล รัชธร-
dc.contributor.advisorแล ดิลกวิทยรัตน์-
dc.contributor.authorวีรวัฒน์ อริยะวิริยานันท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-03-07T06:03:16Z-
dc.date.available2012-03-07T06:03:16Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17447-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractเศรษฐศาสตร์การเมืองในการออกแบบกฎหมายปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2518 มีอยู่สามระลอกใหญ่ๆ ระลอกแรกในปี พ.ศ. 2476 เค้าโครงการเศรษฐกิจที่คณะราษฎรนำเสนอมีเนื้อหาสาระในการรวมที่ดิน ถูกต่อต้านจากคณะเจ้าและขุนนางข้าราชการชั้นสูงอย่างรุนแรงจน นายปรีดี พนมยงค์ ถูกปลดและต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ ระลอกที่สองรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงครามได้ตราพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินและประมวลกฎหมายที่ดิน 2497 ซึ่งมีเนื้อหาสาระในการจำกัดการถือครองที่ดิน ต่อมาถูกยกเลิกโดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 49 โดยรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ระลอกที่สามภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จากการเรียกร้องที่ดินทำกินของสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย และรัฐบาลเฉพาะกาลได้ตราพระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ซึ่งมีเนื้อหาสาระในการจัดหาที่ดินรกร้างว่างเปล่าหรือที่ดินของรัฐเพื่อให้ราษฎรทำกิน ประกาศใช้เป็นกฎหมายในสมัยรัฐบาลหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ การศึกษาใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองที่มองทุกสรรพสิ่งแบบองค์รวม (Holistic) โดยไม่แยกส่วนไม่ว่าจะเป็นปัจจัย เศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยม อุดมการณ์ กฎหมาย กฎระเบียบ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ฯลฯ รวมทั้งแนวคิดเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ กรรมสิทธิ์ตามธรรมชาติ กรรมสิทธิ์รวมหมู่ชุมชน กรรมสิทธิ์แนวพุทธและกรรมสิทธิ์เอกชน ผลของการศึกษาพบว่า นโยบายปฏิรูปที่ดินที่มาจากความตั้งใจจะแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดินซึ่งดำรงอยู่ก่อนการเปลี่ยนแปลง 2475 ของคณะราษฎร แต่การที่คณะราษฎรไม่สามารถกุมอำนาจไว้ได้อย่างเบ็ดเสร็จ และการแตกกันเองภายในของคณะราษฎร รวมทั้งนโยบายปฏิรูปที่ดินด้วยการรวมที่ดินส่งผลกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงต่อการถือครองที่ดิน ของคณะเจ้าและขุนนางข้าราชการชั้นสูง ทำให้ถูกต่อต้านจนกลายเป็นสิ่งต้องห้ามที่จะพูดถึง ในขณะที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม สามารถผ่านเป็นกฎหมายได้เพราะการกุมอำนาจในฐานะหัวหน้าคณะรัฐประหาร แต่ก็ถูกยกเลิกเพราะไปขัดกับหลักการเศรษฐกิจเสรีนิยม ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจของธนาคารโลก ส่วน พ.ร.บ. ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 สามารถผ่านเป็นกฎหมายในสถานการณ์ทางการเมืองยุคที่ประชาธิปไตยเบ่งบานโดยรัฐบาลพระราชทาน เพราะเนื้อหาสาระไม่กระทบกระเทือนการถือครองที่ดินของกลุ่มทุนen
dc.description.abstractalternativeThere were three significant cases on political economy of the passing of land reform law between 1932 to 1975. The first was in year 1933, the draft of the economic plan, aimed at consolidating all the land by the state, proposed by the People’s Party. This was strongly against by the elites and the high ranking bureaucrats. The resistance on the proposal resulted in Pridi Pranomyong’s dismissal from his post and had to seek asylum aboard. Next, Piboonsongkram’s government was succeeded on passing the law that limited the seizure of land holding but was revoked later by the Revolutionary Decree 49. by Sarit’s government. The third was after the October 14, 1973 student uprising incident, when the Farmer’s Federation demanding for farm land, the then ad hoc government had passed on the land reform law for agricultural purpose by allocating wasted land and government-owned-land. The demand was made effective by Kurkrit Pramote’s government and the law lasted until today. The study utilize the political economy approach which takes into analysis the total social element of a society such as political, economic, cultural, ideological and legal factors. This includes the perception of property right in various forms such as natural property right, collective property right, Buddhist property right, and private property right. The study revealed that the land reform policy initiated by the People’s Party to solve the land holding problems that prevailed before the1932 Revolution was made forgotten because the People’s Party had no real administration power and the consolidation of land infringed the land holding of the elites and the high ranking bureaucrats. In Piboonsongkram’s case such a law could be passed on due to his capacity as head of the Revolutionary Council but also revoked later as it was against the principle of the free trade policy by the World Bank Development Plan. The third was passed on by a favorable political atmosphere and was not revoked as it was not infringed the land holding of the capitalist groupen
dc.format.extent1950874 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.894-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการปฏิรูปที่ดินen
dc.subjectการปฏิรูปที่ดิน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen
dc.titleวิวัฒนาการของการปฏิรูปที่ดินในประเทศไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีการออกกฎหมายปฏิรูปที่ดิน (พ.ศ. 2475-พ.ศ. 2518)en
dc.title.alternativeDevelopment of land reform in Thailand : a case study on the passing of land reform law (B.E. 2475- B.E. 2518)en
dc.typeThesises
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์การเมืองes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorBuddhagarn.R@Chula.ac.th-
dc.email.advisorLae.D@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.894-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
veerawat_ar.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.