Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17454
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุธาทิพย์ พิชญไพบูลย์-
dc.contributor.authorสการินทร์ มีสมพืชน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-03-07T07:21:01Z-
dc.date.available2012-03-07T07:21:01Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17454-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์:เพื่อประเมินผลลัพธ์ทางคลินิกและผลของปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานภายหลังการได้รับการจ่ายยาต่อเนื่องโดยเภสัชกร วิธีดำเนินการวิจัย: ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการจ่ายยาต่อเนื่องโดยเภสัชกรเป็นระยะเวลา 3 เดือน ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนธันวาคม 2551 ถึงเดือนมีนาคม 2552 โดยพบเภสัชกรเพื่อจ่ายยาต่อเนื่อง ให้ความรู้ คำปรึกษาแนะนำ การติดตามและการดูแลรักษา โดยประเมินผลลัพธ์ทางคลินิก ได้แก่ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด และการทำงาน ของไต รวมถึงปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาของผู้ป่วย เปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังได้รับการจ่ายยาต่อเนื่องโดยเภสัชกร ผลการวิจัย: ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการวิจัยทั้งสิ้น 41 ราย เป็นเพศหญิง 37 ราย เพศชาย 4 ราย มีอายุเฉลี่ย 64.00  8.81 ปี ผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงและระดับน้ำตาล สะสม ได้ลดลงตามเป้าหมายพบว่าไม่แตกต่างกันระหว่างก่อนและหลังการวิจัย (p = 1.000 และ p = 0.267 ตามลำดับ) แต่พบว่าจำนวนของผู้ป่วยที่ควบคุมระดับน้ำตาลสะสมได้ตามเป้าหมาย เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 36.6 เป็นร้อยละ 48.7 ผู้ป่วยที่ควบคุมระดับ TC (p = 0.000) ลดลงได้ตามเป้าหมายเมื่อสิ้นสุดการวิจัย ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิต (p = 0.143) ระดับ LDL-C (p = 0.096) ระดับของยูเรียไนโตรเจนในเลือด (p = 0.250) และครีเอตินิน (p = 0.625) ตามเป้าหมายพบว่าไม่แตกต่างกัน เภสัชกรสามารถค้นพบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาทั้งสิ้น 185 ปัญหา โดยปัญหาที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยาในการรักษาเพิ่มเติม (ร้อยละ 38.4) ได้รับยาในขนาดต่ำ เกินไป (ร้อยละ 23.7) และการไม่ให้ความร่วมมือในการใช้ยา (ร้อยละ18.3) เป็นปัญหาที่แก้ไขได้โดยเภสัชกร 75 ปัญหา (ร้อยละ 40.6) และ 110 ปัญหา (ร้อยละ 59.4) ต้องขอคำปรึกษาจากแพทย์ สรุปผลการวิจัย : การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการจ่ายยารักษาโรคเบาหวานต่อเนื่องโดยเภสัชกรในศูนย์สุขภาพชุมชนช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลสะสม และระดับ TC ที่ดีขึ้น และสามารถช่วยแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาให้แก่ผู้ป่วยได้en
dc.description.abstractalternativeObjectives : The study was to determine the clinical outcomes and drug related problems (DRPs) in diabetic patients after received drug refilling by pharmacist. Methods : The diabetic patients received drug refilling by pharmacist and were followed up for a period of three months. The study was conducted during December 2008 to March 2009. The patients met pharmacist for refilling, education, medication counseling, monitoring, and management. The evaluation was done by comparing the clinical outcomes of patients based on assessment of blood glucose, blood pressure, lipid profiles, renal function and outcomes of drug related problems before and after drug refilled by pharmacist. Results : Forty-one patients completed the study. There were 37 women and 4 men with a mean age of 64.00 ± 8.81 years. The patients had no significantly differences in hemoglobin A1C and fasting plasma glucose levels before and at the end of the study (p = 1.000 and p = 0.267 ,respectively). However, the percentage of patients who had target A1C increased from 36.6% to 48.7%. The total cholesterol (p = 0.000) were reduced to target at the end of study. The patients had no significantly differences in target blood pressure (p = 0.143), low density lipoprotein (p = 0.096), blood urea nitrogen (p = 0.250) and creatinine (p = 0.625). The pharmacist can detected 185 DRPs. Most of them were needs additional drug therapy (38.4%), dosage too low (23.7%) and noncompliance (18.3%). Seventy-five problems (40.6%) were resolved by pharmacist and 110 problems (59.4%) had to consult with the physician. Conclusions : The study demonstrated that the antidiabetic drug refilling by pharmacist at primary care unit achieved an improvement in A1C and total cholesterol of patients and could resolve the number of drug related problemsen
dc.format.extent1531232 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1327-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectศูนย์สุขภาพชุมชนตลาดเกรียบen
dc.subjectเบาหวานen
dc.subjectเบาหวาน -- การรักษาen
dc.subjectการใช้ยาen
dc.titleผลลัพธ์ของการจ่ายยารักษาโรคเบาหวานต่อเนื่องโดยเภสัชกรในศูนย์สุขภาพชุมชนตลาดเกรียบen
dc.title.alternativeOutcomes of antidiabetic drug refilling by pharmacist at Taladkreab Primary Care Uniten
dc.typeThesises
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมคลินิกes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSutathip.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1327-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sakarin_me.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.