Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17459
Title: การใช้ยาเพื่อการจัดการภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่โรงพยาบาลตาคลี
Other Titles: Medication management for cardiovascular complication in type 2 diabetic patients at Takhli Hospital
Authors: สายันต์ ศรีชมภู
Advisors: อัจฉรา อุทิศวรรณกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: achara.u@chula.ac.th
Subjects: เบาหวาน -- ผู้ป่วย
หลอดเลือด -- โรค
หัวใจ -- โรค
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
เบาหวาน -- ภาวะแทรกซ้อน
การใช้ยา
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ยาเพื่อการจัดการภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลชุมชน โดยใช้แนวทางของสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 2008 และ medication assessment tool for coronary artery disease (MAT-CHD) โดยทำการศึกษาในผู้ป่วยนอกจำนวน 353 ราย ที่ได้จากการสุ่มแบบมีระบบจากผู้ป่วยที่มารับบริการจากคลินิกเบาหวานของโรงพยาบาลตาคลีตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 ถึงเดือนมีนาคม 2552 ผู้ป่วยทั้งหมด 353 ราย เป็นเพศหญิงร้อยละ 81.0 มีอายุเฉลี่ย 59.43±13.52 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นโรคเบาหวานมาเป็นเวลา 1-5 ปี ร้อยละ 44.5 มีโรคอื่นร่วมด้วยร้อยละ 52.4 โดยเฉลี่ยผู้ป่วยแต่ละรายมีโรคร่วม 2.1 โรค โรคร่วมที่เป็นมากที่สุดคือ ความดันเลือดสูงและไขมันในเลือดสูง คิดเป็นร้อยละ 88.7 และ 85.3 ตามลำดับ ผู้ป่วยที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือดสะสม ระดับไขมันในเลือด และระดับความดันเลือดให้อยู่ในเป้าหมายการรักษาคิดเป็นร้อยละ 43.9, 34.6, 35.3 และ 32.2 ตามลำดับ มีการใช้แอสไพรินเพื่อการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิคิดเป็นร้อยละ 24.5 และ 100.0 ตามลำดับ จากการประเมินความสอดคล้องของการใช้ยาเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจโดยใช้ MAT-CHD พบว่ามีข้อที่อยู่ในเกณฑ์สอดคล้องปานกลางและต่ำจำนวน 1 และ 8 ข้อ ซึ่งควรแก้ไขให้สูงขึ้น ได้แก่ ข้อที่ 15 การสั่งใช้แอสไพรินอย่างปลอดภัย ข้อที่ 2 การใช้แอสไพรินถูกขนาด ข้อที่ 6 การใช้ยากลุ่ม beta-blockers ข้อที่ 11 การสั่งใช้ยากลุ่ม ACE inhibitors ในผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ข้อที่ 14 การสั่งใช้แอสไพรินเพื่อการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจแบบปฐมภูมิ ข้อที่ 16 การใช้ยากลุ่ม statins เพื่อการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจแบบปฐมภูมิ ข้อที่ 18 การควบคุมความดันเลือดให้อยู่ในเป้าหมายการรักษา ข้อที่ 19 การควบคุมระดับไขมัน ในเลือดให้อยู่ในเป้าหมายการรักษา และข้อที่ 21 การสั่งใช้ ACE inhibitor ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ผลประเมินความสอดคล้องของการใช้ยาเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของผู้ป่วยเบาหวาน ตามเกณฑ์ของสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกาอยู่ในระดับต่ำ ผู้ป่วยเบาหวาน ควรได้รับยาเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มคุณภาพในการรักษาผู้ป่วย
Other Abstract: The purpose of this study was to explore medication management of cardiovascular complications in type 2 diabetic patients in district hospital according to standards of medical care in diabetes 2008 which provided by American Diabetes Association (ADA) and medication assessment tool for coronary artery disease (MAT-CHD). The 353 diabetic outpatients were recruited at Takhli hospital during December 2008 to March 2009. All of 353 patients, the female was 81 % with mean age 59.43±13.52 years. Duration of diabetes 1-5 years were 44.5 % and 2.1 co-morbid diseases especially hypertension and dyslipidemia were 88.7 and 85.3 %, respectively. Only 43.9, 34.6, 35.3 and 32.2 % met the goal of therapy in FPG, HbA1c, LDL-cholesterol and blood pressure, respectively. = Adherence to the use of aspirin in primary and secondary prevention for coronary heart disease (CHD) were 24.5 and 100.0 %, respectively. The data from MAT-CHD which used for assessing adherence of prescribed medication for preventing CHD in diabetic patients indicated that the intermediate adherence was number 15 (Safe of use aspirin) and also found 8 criterions in low adherence level such as number 2 (Appropriate dose of aspirin), number 6 (Use of beta-blocker), number 11(Use of ACE inhibitor in post myocardial infarction), number 14 (Use of aspirin in primary prevention), number 16 (Use of statin in primary prevention), number 18 (Achievement of target blood pressure), number 19 (Achievement of target total cholesterol) and number 21 ACE inhibitor in patients with risk factors. The results showed that overall adherences were low thus diabetic patients needed the medications to prevent CHD according to ADA guideline in order to improve a quality of drugs therapy
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17459
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1305
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1305
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sayan_sr.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.