Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17875
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรเวศม์ สุวรรณระดา-
dc.contributor.authorวิลาวัลย์ ดำจุติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2012-03-13T14:51:45Z-
dc.date.available2012-03-13T14:51:45Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17875-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractทุนทางสังคมเป็นเรื่องความสัมพันธ์ของคนในสังคม ทุนทางสังคมมีลักษณะทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม ซึ่งเกิดขึ้นบนความไว้วางใจกัน บรรทัดฐาน ค่านิยม และวัฒนธรรมร่วมกัน ทุนทางสังคมมีทั้งการรวมกลุ่มกันในแบบ สถาบัน องค์กร หรือเครือข่าย และมีความสัมพันธ์ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ศึกษาลักษณะทุนทางสังคม พิจารณาความแตกต่างของระดับทุนทางสังคมในระดับจังหวัด และวิเคราะห์ผลกระทบของทุนทางสังคมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการพิจารณาตัวแปรแทนทุนทางสังคมบางตัว ผลการศึกษาพบว่าตัวแปรทุนทางสังคมมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาความยากจน โดยปัจจัยสัดส่วนครัวเรือนมีคนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของชุมชนหรือท้องถิ่นมีผลในทิศทางลบต่อจำนวนคนจนด้านรายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะเดียวกันตัวแปรทุนทางสังคมก็มีส่วนช่วยให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ กล่าวคือปัจจัยสัดส่วนคนที่มีสิทธิ์ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งมีผลในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อปัจจัยผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อประชากร และปัจจัยสัดส่วนครัวเรือนมีคนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์ของชุมชนหรือท้องถิ่นมีผลในทิศทางบวกต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อประชากรแต่อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ในทางตรงกันข้ามตัวแปรทุนทางสังคมบางตัวก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ กล่าวคือปัจจัยการมีสหภาพแรงงานมีผลในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อจำนวนคนจนด้านรายได้ และปัจจัยสัดส่วนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมีผลในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อจำนวนคนจนด้านรายได้และมีผลในทิศทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อประชากรและรายได้ครัวเรือน แม้ว่าในการศึกษาครั้งนี้จะยังไม่พบผลกระทบของทุนทางสังคมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญอันเนื่องมาจากข้อจำกัดของข้อมูล อย่างไรก็ตามปัจจุบันพบว่าองค์กรชุมชนซึ่งเป็นทุนทางสังคมที่มีการก่อตัวขึ้นใหม่อย่างหลากหลาย จากการศึกษาพบว่า องค์กรที่มีแรงจูงใจทางการเงินมีแนวโน้มเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับต่ำ กล่าวคือในจังหวัดที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อประชากรและรายได้ครัวเรือนน้อย แต่มีจำนวนคนจนและมีอัตราการพึ่งพิงสูง รวมทั้งเป็นจังหวัดที่มีการใช้จ่ายภาครัฐต่อหัวหมวดที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจน้อยจะมีแนวโน้มมีองค์กรที่มีแรงจูงใจทางการเงินสูง ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงนัยว่า การพัฒนาเศรษฐกิจที่ขาดความสมดุลอย่างที่ผ่านมาเป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดทุนทางสังคมen
dc.description.abstractalternativeSocial capital is defined as the tangible and intangible relationship among people in a society which bases on trust, standard, value and culture. Formal or informal cooperation between people in forms of institute organization or network can be also classified as social capital. This thesis focused on various types of social capital at provincial level of Thailand and analyzed their effects on provincial development. Our results confirm the fact that some types of social capital namely people‘s community participation contributes on poverty reduction. In addition, some types of social capital for example political participation or people’s community participation contributes positively on gross provincial product per capita‘s expansion. Unfortunately, the latter’s effect is not statistically significant. In contrast, labor union or safety in life and properties at provincial level do not contribute on poverty reduction or provincial economic development. However, in Thai society at the present time, there is newly established social capital in the form of community organization throughout the country. We confirm the fact that low economic development stimulates the formation of Olson type social capital in a province. Other economic factors like poor government redistributive policy and high dependency ratio stimulate the establishment of Olson type social capital. This study implies that the past unbalanced economic development is a factor which forms social capitalen
dc.format.extent14839468 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.283-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectนโยบายเศรษฐกิจ -- ไทยen
dc.subjectการพัฒนาสังคม -- ไทยen
dc.subjectทุนทางสังคม -- ไทยen
dc.subjectไทย -- ภาวะเศรษฐกิจen
dc.titleทุนทางสังคมกับการพัฒนาเศรฐกิจของจังหวัดในประเทศไทยen
dc.title.alternativeSocial capital and provincial economic development in Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorWorawet.S@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.283-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wilawan_du.pdf14.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.