Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1830
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความสามารถในการสื่อสาร ปัจจัยด้านองค์การและพฤติกรรมการบริหารแบบมีส่วนร่วม ของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นโรงพยาบาลรัฐที่ผ่านการรับรองคุณภาพ
Other Titles: Relationships between personal factors, communication ability, organizational factors, and participative management behavior of first line nurse managers, accredited government hospitals
Authors: วันชัย พิริยะวดี, 2510-
Advisors: วีณา จีระแพทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Veena.J@Chula.ac.th
Subjects: การบริหารแบบมีส่วนร่วม
การบริหารคุณภาพโดยรวม
พยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย
โรงพยาบาล -- การบริหาร
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริหารแบบมีส่วนร่วม ของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น และศึกษาความความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความสามารถในการสื่อสาร ปัจจัยด้านองค์การ และพฤติกรรมการบริหารแบบมีส่วนร่วม ของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น และศึกษาตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการบริหารแบบมีส่วนร่วม ของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น กลุ่มตัวอย่างคือหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลรัฐที่ผ่านการรับรองคุณภาพ ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น จำนวน 267 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมการบริหารแบบมีส่วนร่วม แบบประเมินความสามารถในการสื่อสาร และแบบสอบถามปัจจัยด้านองค์การ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและมีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงเท่ากับ .87, .85, .91 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสหสัมพันธ์พหุคูณแบบถดถอย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการบริหารแบบมีส่วนร่วม ของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลรัฐ ที่ผ่านการรับรองคุณภาพ อยู่ในระดับสูง ( = 4.01, SD = .33) 2. ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการสื่อสาร ปัจจัยด้านองค์การ คือ โครงสร้างองค์การ ภาวะผู้นำ ลักษณะงาน การสนับสนุนขององค์การ และการให้รางวัลกับพฤติกรรมการบริหารแบบมีส่วนร่วม ของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลรัฐที่ผ่านการรับรองคุณภาพ มีความสัมพันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .555, .458, .380, .379, .325 และ .139 ตามลำดับ) 3. ตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ พฤติกรรมการบริหารแบบมีส่วนร่วม ของผู้บริหารการพยาบาล ระดับต้น โรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพ ได้แก่ ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร โครงสร้างองค์การ ระดับการศึกษา และภาวะผู้นำ ซึ่งสามารถร่วมกันพยากรณ์ พฤติกรรมการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นได้ร้อยละ 39.4 (R2 = 39.4 ; p <.05) โดยมีสมการพยากรณ์พฤติกรรมการบริหารแบบมีส่วนร่วม ของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น ในรูปคะแนนมาตรฐานดังนี้ พฤติกรรมการบริหารแบบมีส่วนร่วม = .425 (ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร) + .215 (โครงสร้างองค์การ) + .136 (ภาวะผู้นำ)+ .129 (ระดับการศึกษา )
Other Abstract: The purposes of this research were to study participative management behavior , to study the correlation between personal factors, communication ability, organizational factors and participative management behavior of first line nurse managers and to explore the variables which predicted participative management behavior of first line nurse managers. The sample consisted of 267 head nurses working in public governmental accredited hospital and was randomly selected through stratify random sampling. Research instruments were individual factors questionnaire, participative management behavior questionnaire, communication ability evaluation form and organizational factors questionnaire. The instruments were tested for content validity and had reliability of .87, .85, and .91, respectively. Statistical tests for data analysis included mean, standard deviation, Pearson's product moment correlation and Stepwise multiple regression analysis. Major findings were as follows: 2. The mean score of participative management behavior of first line nurse managers, accredited government hospital was at high level, ( = 4.01, SD = .33) 2. Communication ability and organizational factors that were organizational structure, leadership, job design, resource and reward were significantly and moderately correlated with participative management behavior at the .01 level (r = .555, .458, .380, .379, .325, and .139 respectively).3. Selected independent variables for inclusion in the multiple regression equation were communication ability, organizational structure, level of education and leadership. These predictors accounted for 39.4 % of the variance (R2 = .394, p< .05). The prediction equation in standard score form can be stated as follow : participative management behavior = .425 (communication ability) + .215 (organizational structure) + .136 (leadership) + .129 (level of education).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1830
ISBN: 9741709803
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanchai.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.