Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1831
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวราภรณ์ ชัยวัฒน์-
dc.contributor.authorวิมลพร ไสยวรรณ, 2512--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-16T06:07:15Z-
dc.date.available2006-08-16T06:07:15Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741709854-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1831-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--, 2545en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการ ในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลรัฐ ระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการบริหารความเสี่ยงที่พัฒนาขึ้นไปใช้ ในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลรัฐ ระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โดยการสัมภาษณ์ความเสี่ยงและการสนทนากลุ่ม 3 ครั้ง กลุ่มตัวอย่างในการทำสนทนากลุ่มคือ หัวหน้าพยาบาล พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การทำงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 5 ปีขึ้นไป นักวิชาการด้านการบริหารความเสี่ยง นักวิชาการด้านการบริหารทางการพยาบาล และนักวิชาการด้านการบริหารความเสี่ยงโรงพยาบาล จำนวน 15 คน ระยะที่ 2 เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการบริหารความเสี่ยงที่พัฒนาขึ้นไปใช้ ในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลรัฐ ระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร โดยนำรูปแบบที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ที่ห้องฉุกเฉินและอุบัติเหตุ โรงพยาบาลตำรวจเป็นระยะเวลา 1 เดือน กลุ่มตัวอย่างคือ หัวหน้าพยาบาล และพยาบาลวิชาชีพทั้งหมดในห้องฉุกเฉินและอุบัติเหตุ โรงพยาบาลตำรวจ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบการบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการไปใช้ ในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลรัฐระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการบริหารความเสี่ยงหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลรัฐระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร ครอบคลุมความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้บริการอันเนื่องมาจากการให้บริการโดยตรง 5 เรื่อง คือ 1) ผู้ใช้บริการได้รับยา/เลือดและสารน้ำผิดพลาด 2) ผู้ใช้บริการได้รับบาดเจ็บจากการผูกมัด 3) ผู้ใช้บริการตกเตียง/ลื่นหกล้ม 4)ผู้ใช้บริการได้รับบาดเจ็บหรืออันตรายจากการที่พยาบาลใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ไม่ถูกวิธี หรือใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ชำรุด และ 5) ผู้ใช้บริการได้รับการพยาบาลผิดคน รูปแบบการบริหารความเสี่ยงประกอบด้วย นโยบาย วัตถุประสงค์ ผู้รับผิดชอบ บทบาทและหน้าที่ และ กระบวนการบริหารความเสี่ยง 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การค้นหาความเสี่ยง 2) การวิเคราะห์ความเสี่ยง 3) วิธีการจัดการความเสี่ยง และ 4)การประเมินผล โดยแต่ละขั้นตอนจะกำหนดกิจกรรม ระยะเวลา วัตถุประสงค์ ลักษณะกิจกรรม 2. รูปแบบการบริหารความเสี่ยงรายรวมมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลรัฐ ระดับตติยภูมิ กรุงเทพมหานคร คือผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านบุคลากรผู้รับผิดชอบและบทบาทหน้าที่ ด้านการวิเคราะห์ความเสี่ยง ด้านวิธีการจัดการความเสี่ยง และด้านการประเมินผล มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ ส่วนด้านการค้นหาความเสี่ยงไม่ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80en
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research was to develop of patients' risk management model for emergency department, governmental hospitals, Bangkok Metropolis and to assess feasibility of the risk management model. The study was divided in to 2 phases. In phase I, the risk model was developed by interviewing and 3 focus groups. Participants of the focus groups consisted of head nurses and professional nurses working in emergency department, governmental hospitals, Bangkok Metropolis more than 5 years, and experts in risk management, nursing management and hospital management. Phase II was the assessment of feasibility of the developed risk management model by implementing the model in emergency department of Police hospital. Samples consisted of the head nurse and all professional nurses working there. The feasibility of the risk management model for emergency department, governmental hospitals, Bangkok Metropolis was measured by a questionnaired, developed by researcher. Results of the study were as follows 1. The risk management model for emergency department, governmental hospitals, Bangkok Metropolis covered 5 patients' risk. 1) medication error, 2) injury in restainsts, 3) patient fall, 4) injury in equibment error, and 5) wrong patient nursing care. The model consisted of policy, objectives, staff, roles and function, and risk management process including: risk identification, risk analysis, risk treatment, and risk evaluation. Datails of each step of the process were activities, time, objectives, and activities characteristics. 2. The developed risk management model was feasible for emergency department, governmental hospitals, Bangkok Metropolis. When considering each dimensions of the model, it was founded that the dimension of staff, roles and function, risk analysis, risk treatment, and risk evaluation were feasible. The dimension of risk indentification was the only dimension that failed the feasibility criterion (80%).en
dc.format.extent1662449 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการบริหารความเสี่ยงen
dc.subjectโรงพยาบาล -- การบริหารen
dc.subjectการบริหารแบบมีส่วนร่วมen
dc.titleการพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงแบบมีส่วนร่วมในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลรัฐ กรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeThe development of participative risk management model in emergency department, governmental hospitals, Bangkok Metropolisen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorWaraporn.Ch@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wimonporn.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.