Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18322
Title: ผลของอุณหภูมิไพโรไลซิสต่อรีฟอร์มิงด้วยไอน้ำเชิงเร่งปฏิกิริยาของทาร์จากชีวมวลในเบดนิ่งสองขั้นตอน
Other Titles: Effect of pyrolysis temperature on catalytic steam reforming of biomass-derived tar in two-stage fixed bed
Authors: ศิวพรรณ มหาสุภาพ
Advisors: ประพันธ์ คูชลธารา
วีรชัย สุนทรรังสรรค์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Prapan.K@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ชีวมวล
แกสซิฟิเคชันของชีวมวล
การแยกสลายด้วยความร้อน
การเร่งปฏิกิริยา
Biomass
Biomass gasification
Pyrolysis
Catalysis
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของอุณหภูมิไพโรไลซิสต่อรีฟอร์มิงด้วยไอน้ำเชิงเร่งปฏิกิริยาของทาร์จากชีวมวล ในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่งสองขั้นตอน ขั้นแรกศึกษาเอกลักษณ์เฉพาะตัวของทาร์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการไพโรไลซิสที่อุณหภูมิในช่วง 400 ถึง 800 องศาเซลเซียส ขั้นที่สองศึกษาการสลายตัวทางความร้อนของทาร์ที่เกิดจากกระบวนการไพโรไลซิสในปฏิกิริยารีฟอร์มิงด้วยไอน้ำที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส ทั้งแบบใช้และไม่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานิกเกิลบนตัวรองรับอะลูมินาที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยแมกนิเซียมออกไซด์ โดยอิทธิพลที่ตรวจสอบคือ ชนิดของชีวมวลและอุณหภูมิของกระบวนการไพโรไลซิส ต่อร้อยละผลได้และองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์แก๊สและทาร์ ด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟ (GC/TCD) และแก๊สโครมาโทกราฟ-แมสสเปกโทรเมตรี (GC-MS) ตามลำดับ จากผลการทดลองพบว่า เมื่ออุณหภูมิไพโรไลซิสสูงขึ้น ร้อยละการเปลี่ยนของคาร์บอนเป็นทาร์ที่เกิดจากกระบวนการไพโรไลซิสมีแนวโน้มลดลง ในทางตรงกันข้าม ร้อยละการเปลี่ยนของคาร์บอนเป็นทาร์ที่เหลือจากกระบวนการรีฟอร์มิงด้วยไอน้ำ ทั้งในกรณีที่ใช้และไม่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยามีแนวโน้มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาพบว่า ที่อุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียส ร้อยละการเปลี่ยนของคาร์บอนเป็นทาร์มีค่าสูงที่สุด นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบระหว่างไม้กระถินยักษ์และขี้เลื่อย ในกระบวนการรีฟอร์มิงด้วยไอน้ำแบบใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา พบว่าขี้เลื่อยมีร้อยละการเปลี่ยนของคาร์บอนเป็นชาร์ที่สูงกว่า แต่มีร้อยละการเปลี่ยนของคาร์บอนเป็นแก๊สที่ต่ำกว่าไม้กระถินยักษ์ นอกจากนี้ยังพบว่า ขี้เลื่อยมีร้อยละการเปลี่ยนของทาร์ต่ำกว่าไม้กระถินยักษ์ด้วย จากผลการทดลองสรุปได้ว่า ทาร์ที่เกิดจากกระบวนการไพโรไลซิสที่อุณหภูมิสูง มีความว่องไวต่อการสลายตัวด้วยไอน้ำ และตัวเร่งปฏิกิริยาต่ำกว่าทาร์ที่เกิดจากกระบวนการไพโรไลซิสที่อุณหภูมิต่ำ ส่วนทาร์ที่เกิดจากขี้เลื่อยนั้น มีความว่องไวต่อการสลายตัวด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาต่ำกว่าทาร์ที่เกิดจากไม้กระถินยักษ์
Other Abstract: Effect of pyrolysis temperature on catalytic steam reforming of biomass-derived tar was studied in this research. The pyrolysis and steam reforming were conducted in a two-stage fixed bed reactor. The influences of pyrolysis temperature in range of 400 to 800℃ and biomass types were investigated on reforming reaction of the released tar at 800℃ in terms of composition and conversion. The products including gas and tar were analyzed by GC/TCD and GC/MS, respectively. Results indicated that trend of carbon conversion into tar of pyrolysis was decreased obviously with an increase in pyrolysis temperature. In contrast, trend of carbon conversion into tar of steam reforming with catalyst was slightly increased. It was found that the released tar at 600℃ was converted hardly by catalytic steam reforming. Sawdust gave higher carbon conversion into char than giant leucaena wood whereas it exhibited lower carbon conversion into gas. In addition, conversion of sawdust-tar by steam reforming was found to be less than that of giant leucaena-tar. Therefore, it can be concluded that released tar at relatively high pyrolysis temperature was more hardly decomposed than that released at low temperature. Moreover, the released tar of sawdust was more hardly decomposed than that released of giant leucaena wood.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18322
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.434
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.434
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
siwapan_ma.pdf5.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.