Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18396
Title: การแตกตัวเชิงเร่งปฏิกิริยาของน้ำมันสบู่ดำเป็นเชื้อเพลิงเหลวบน HZSM-5
Other Titles: Catalytic cracking of jatropha oil to liquid fuels on HZSM-5
Authors: รวีวรรณ สวัสดิ์รักษา
Advisors: ธราพงษ์ วิทิตศานต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: tharapong.v@chula.ac.th
Subjects: เชื้อเพลิงเหลว
น้ำมันสบู่ดำ
ตัวเร่งปฏิกิริยา
Liquid fuels
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการแตกตัวของน้ำมันสบู่ดำไปเป็นเชื้อเพลิงเหลวโดยมีการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา HZSM-5 ร่วมในกระบวนการ ในเครื่องปฏิกรณ์แบบ Autoclave เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรต่างๆที่ส่งผลต่อร้อยละผลได้ผลิตภัณฑ์น้ำมัน โดยเฉพาะแนฟทา โดยออกแบบการทดลองแบบแฟคทอเรียลสองระดับปัจจัยและหาภาวะที่เหมาะสมโดยใช้โปรแกรม design-expert 6.0.10 ร่วมกับ minitab 15 ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วยอุณหภูมิ 390-440 ℃ เวลาในการทำปฏิกิริยา 30-60 นาที และร้อยละโดยน้ำหนักของตัวเร่งปฏิกิริยา 2.5-10 ที่ความดันแก๊สไฮโดรเจนคงที่ที่ 100 Ib/in² (6.8 atm) เมื่อทำการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์น้ำมันด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทรกราฟจำลองการกลั่น (Simulated Distillation Gas Chromatography) พบว่าจากการคำนวณด้วยโปรแกรม design-expert 6.0.10 ภาวะที่เหมาะสมที่ส่งผลต่อการเกิดปริมาณแนฟทาสูงสุดคือ อุณหภูมิ 426 องศาเซลเซียส เวลาในการทำปฏิกิริยา 56 นาที และร้อยละโดยน้ำหนักของตัวเร่งปฏิกิริยาเท่ากับ 6.35 ได้ร้อยละผลิตภัณฑ์น้ำมันเท่ากับ 58.62 โดยน้ำหนัก ร้อยละผลได้ของแนฟทาเท่ากับ 40.60 เมื่อนำภาวะที่เหมาะสมมาทำการทดลองเพื่อเปรียบเทียบกับการคำนวณพบว่าผลที่ได้มีค่าไม่แตกต่างกันมาก คือมีร้อยละผลได้ของผลิตภัณฑ์น้ำมันเท่ากับ 60.50 และ 57.40 ร้อยละผลได้ของแนฟทาเท่ากับ 38.35 และ 39.50 และเมื่อทำการทดลองโดยไม่ใส่ตัวเร่งปฏิกิริยาจะทำให้ร้อยละผลได้ของผลิตภัณฑ์น้ำมันเพิ่มขึ้นเป็น 65.00 และ 67.00 และร้อยละผลได้ของแนฟทาลดลงเหลือ 20.10 และ 20.20 ตามลำดับ สามารถสรุปได้ว่า อุณหภูมิ เวลาในการทำปฏิกิริยาและร้อยละโดยน้ำหนักของตัวเร่งปฏิกิริยา HZSM-5 มีผลต่อร้อยละผลได้ของผลิตภัณฑ์น้ำมัน
Other Abstract: This research aimed to study the catalytic cracking of Jatropha oil to liquid fuels with HZSM-5 in Autoclave reactor for study the affect of variable of product liquid fuels expectially naphtha. Using two level factorial design from design-expert 6.0.10 and minitab 15 to design the experiment and determine the optimum condition. The operating condition were temperature between 390℃ and 440℃, reaction time between 30 and 60 min and percent by weight of HZSM-5 between 2.5-10 at initial hydrogen pressure 100 Ib/in² .Liquid product were analyzed by simulated distillation gas chromatograph. After calculating with design-expert program, it was found that reaction temperature of 426℃, reaction time 56 min by using 6.35 percent by weight of HZSM-5 was the best condition that gave the highest yield of naphtha. The oil yield was 58.62 percent by weight, the naphtha yield was 40.60 percent by weight. Then do the experiment belong this condition to prepare between the result of the experiment and calculation from program, it was found that both of them are similar. The result conclude that reaction temperature,reaction time and percent by weight of HZSM-5 were significantly affected to oil yield.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18396
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1236
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2009.1236
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Raweevan_sa.pdf3.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.