Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18759
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเลอสรวง เมฆสุต-
dc.contributor.advisorประพันธ์ คูชลธารา-
dc.contributor.authorเอกพร แจ่มกระจ่าง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-03-26T22:44:13Z-
dc.date.available2012-03-26T22:44:13Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18759-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractแกซิฟิเคชันเป็นเทคโนโลยีที่มีความเป็นไปได้ในการแปรสภาพขยะพลาสติกให้อยู่ในรูปของเชื้อเพลิงแก๊สที่มีประสิทธิภาพ โดยในปัจจุบันพบว่าขยะพลาสติกสามารถใช้เป็นสารป้อนในกระบวนการแกซิฟิเคชันได้ เนื่องจากมีค่าความร้อนสูง อย่างไรก็ตามขยะพลาสติกมักประกอบด้วยพลาสติกหลายชนิดปะปนกัน และจากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่าพลาสติกผสมดังกล่าวมีการเกิดอันตรกิริยาในระหว่างกระบวนการสลายตัวด้วยความร้อน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาถึงอันตรกิริยาที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการแกซิฟิเคชันด้วยไอน้ำและออกซิเจนของพลาสติกผสม ทั้งกรณีที่ใช้และไม่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา NiO/dolomite ภายในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่ง ที่อุณหภูมิ 850 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 60 นาที โดยพลาสติกที่นำมาศึกษา ได้แก่ พอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE) พอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) พอลิโพรพิลีน (PP) และพอลิสไตรีน (PS) นอกจากนี้ในการทดลองยังได้ทำการวิเคราะห์หาอิทธิพลของชนิดพลาสติกที่มีต่อร้อยละการเปลี่ยนของคาร์บอนและองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์แก๊ส โดยผลการทดลองแกซิฟิเคชันพลาสติกชนิดเดียวทั้งที่ใช้และไม่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาพบว่า พอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูงสามารถผลิตแก๊สได้มากที่สุด ในขณะที่พอลิสไตรีนสามารถผลิตแก๊สได้ต่ำที่สุด ส่วนการแกซิฟิเคชันพลาสติกผสมสองชนิดโดยไม่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยานั้น พบว่าพลาสติกที่มีพอลิสไตรีนผสมอยู่ด้วยจะให้ผลิตภัณฑ์แก๊สที่มีสัดส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ตามการใช้พอลิสไตรีนในพลาสติกผสมด้วยอัตราส่วนที่มากกว่าครึ่ง ส่งผลให้เกิดอันตรกิริยาเชิงบวกต่อการผลิตแก๊ส โดยเฉพาะแก๊สไฮโดรเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาร่วมกับพลาสติกที่มีพอลิสไตรีนผสมอยู่ก่อให้เกิดอันตรกิริยาเชิงบวกต่อการผลิตแก๊สแก๊สไฮโดรเจน คาร์บอนมอนอกไซด์ และคาร์บอนไดออกไซด์อย่างเห็นได้ชัดอีกด้วยen
dc.description.abstractalternativeGasification is one of promising ways to obtain useful gaseous fuel from plastic wastes. Plastic waste is considered as a good feedstock for the gasification, due to its high calorific value. Typically, plastic waste is a mixture of various types of plastics. There are a previous literatures mentioned about interaction of mixed plastic during thermal decomposition processes. This research attempted to explore interaction of mixed plastic in steam/O₂ gasification with and without the presence of NiO/dolomite catalyst. Experiments were carried out in a drop tube fixed bed reactor at 850°C for 60 min. Four types of plastics, including HDPE, LDPE, PP and PS, were used in this work. Moreover, effect of plastic type on gas yield and gas composition was investigated. The results of gasification of a single plastic with and without catalyst indicated that HDPE gave the highest gas yield while PS gave the lowest. In case of gasification of mixed plastic, the mixture with the presence of PS exhibited less gas production. However, the presence of PS more than half showed positive interaction on overall gas production, especially H2 and CO₂. Moreover, the positive interaction was observed to become more dominant when NiO/dolomite catalyst was useden
dc.format.extent5857545 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.524-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectขยะพลาสติกen
dc.subjectเครื่องปฏิกรณ์en
dc.titleแกซิฟิเคชันด้วยไอน้ำและออกซิเจนของพลาสติกผสมในเครื่องปฏิกรณ์เบดนิ่งen
dc.title.alternativeSteam/O₂ gasification of mixed plastic in fixed bed reactoren
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเคมีเทคนิคes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorlursuang.M@chula.ac.th-
dc.email.advisorprapank@sc.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.524-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ekaporn_ja.pdf5.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.