Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18778
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ | - |
dc.contributor.author | นิธิ จันทรธนู | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-03-27T11:11:36Z | - |
dc.date.available | 2012-03-27T11:11:36Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18778 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการรู้สารสนเทศของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ในประเทศไทย (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคัดสรรกับการรู้สารสนเทศ ของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ในประเทศไทย (3) ศึกษาค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปรที่สามารถร่วมกันทำนายการรู้สารสนเทศของนิสิตนักศึกษา คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 402 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการถดถอยพหุคูณและสหสัมพันธ์พหุคูณ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์มีการรู้สารสนเทศในระดับปานกลาง 2. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรคัดสรรกับตัวแปรการรู้สารสนเทศพบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทั้งหมด 15 ตัวแปร ตัวแปรที่สัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 จำนวน 5 ตัวแปร และตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกที่ระดับ.05 จำนวน 1 ตัวแปร และพบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางลบที่ระดับ.01 จำนวน 7 ตัวแปร และตัวแปรที่สัมพันธ์ทางลบที่ระดับ.05 จำนวน 2 ตัวแปร 3. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Method) พบตัวแปรที่สามารถอธิบายการรู้สารสนเทศได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 จำนวน 8 ตัวแปร และร่วมกันอธิบายความแปรปรวนในการรู้สารสนเทศได้ 22.1% 4. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบพิ่มตัวแปรทีละขั้น (Stepwise Method) พบตัวแปรที่สามารอธิบายการรู้สารสนเทศได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 จำนวน 8 ตัวแปร ได้แก่ 1) การเคยเรียนวิชาห้องสมุด (X14) 2) ศึกษาเกี่ยวกับประเด็นการรู้สารสนเทศจากแหล่งต่างๆด้วยตนเอง (X20) 3) การเล่นเกมออนไลน์ (X47) 4) การเคยเรียนวิชาการรู้สารสนเทศ (X18) 5) ความบ่อยในการเข้าร่วมอบรมสัมนา (X32) 6) ผลการเรียนเฉลี่ยน้อยกว่า 2.50 (X13) (7) การสนทนาออนไลน์ (X37) 8) ไม่มีประสบการณ์การเรียนวิชาห้องสมุด (X17) ตัวแปรทั้งหมดสามารถเขียนสมการทำนายได้ดังนี้ Y = 0.213 X₁₄ - 0.193 X₂₀ - 0.178 X₄₇ + 0.175 X₁₈ - 0.140 X₃₂ - 0.122 X₁₃ + 0.112 X₃₇ - 0.106 X₁₇ สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการรู้สารสนเทศได้เท่ากับ 23.1% | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to (1) study the information literacy level of pre-service teachers in Thailand (2) examine the relationship between selected variables and the information literacy of pre-service teachers in Thailand (3) explore predictor variables affecting the information literacy of pre-service teachers in Thailand. The samples were 402 pre-service teachers. Data were collected by questionnaires and analyzed using correlation and multiple linear regression. The research findings were summarized as follows: 1. Pre-service teachers had information literacy in moderate level. 2. There were fifteen selected variables statistically significant relationships at .01 level. Five of fifteen variables were statistically significant positive relationships at .01 level. One variable was statistically significant positive relationships at .05 level. The other seven variables were statistically significant negative relationships at .01 level. And another two variables were statistically significant negative relationships at .05 level. 3. In multiple regression analysis (Enter Method), eight predictor variables were statistically significant relationship at .05 and were together able to account for 21.1% of the variance in Information Literacy. 4. In stepwise multiple regression analysis at .05 level, there were eight predictor variables statistically significant as follows: 1) Had studied the library subject (X14) 2) Self-studied about information literacy (X20) 3) Played online games (X47) 4) Had studied the information literacy subject (X18) 5) Frequency of attending the seminar (X32) 6) GPA of less than 2.50 (X13) 7) Experienced online chatting (X37) , and 8) No experienced in the library subject (X17). A multiple regression equation for prediction of Information Literacy were Y = 0.213 X₁₄ - 0.193 X₂₀ - 0.178 X₄₇ + 0.175 X₁₈ - 0.140 X₃₂ - 0.122 X₁₃ + 0.112 X₃₇ - 0.106 X₁₇. Predictor variables were able to account for 23.1 % of a variance. | en |
dc.format.extent | 2935959 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ตัวแปรคัดสรรที่สัมพันธ์กับการรู้สารสนเทศของนิสิตนักศึกษาคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ในประเทศไทย | en |
dc.title.alternative | Selected variables relating to information literacy of pre-service teachers in Thailand | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | โสตทัศนศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Praweenya.S@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nithi_ju.pdf | 2.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.