Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18862
Title: การศึกษาการก้าวพ้นข้อจำกัดของเด็กปฐมวัยในการเล่นภายใต้สัมพันธภาพระหว่างครูกับเด็ก
Other Titles: A study of transcendence of young children in play under teacher-child relationship
Authors: อัญญมณี บุญซื่อ
Advisors: บุษบง ตันติวงศ์
จุมพล พูลภัทรชีวิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Boosbong.T@chula.ac.th
Chumpol.P@Chula.ac.th
Subjects: การเล่น
พัฒนาการของเด็ก
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แบบแผนการเล่นที่นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ที่เหมาะที่สุดของเด็กปฐมวัย 2) แบบแผนสัมพันธภาพระหว่างครูกับเด็กที่ส่งเสริมการเล่นที่นำไปสู่ศักยภาพการเรียนรู้ที่เหมาะที่สุดของเด็กปฐมวัยและนำไปสู่การก้าวพ้นข้อจำกัดในการเล่น และ 3) เงื่อนไขที่ส่งเสริมการก้าวพ้นข้อจำกัดในการเล่น วิธีการวิจัยที่ใช้คือการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลเด็กด้วยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมขณะที่เด็กเล่นอิสระ และเก็บรวบรวมข้อมูลครูด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ได้ข้อค้นพบจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล 2 กลุ่มคือ เด็กจำนวน 13 คนและครูจำนวน 4 คน ใน 18 กรณีตัวอย่างจากกรณีศึกษาตั้งต้น 284 กรณี ข้อค้นพบของคำถามวิจัยข้อที่ 1 ในเรื่องแบบแผนการเล่นที่นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ที่เหมาะที่สุดของเด็กปฐมวัย พบว่ามีประสบการณ์การเรียนรู้ 2 แบบ ประกอบด้วย 6 แบบแผนการเล่นที่นำไปสู่การก้าวพ้นข้อจำกัด แบบที่ 1 การก้าวพ้นข้อจำกัดในเรื่องภายในตนเอง มี 3 แบบแผน คือ 1) การริเริ่มด้วยตนเอง 2) การสื่อความคิดและ 3) ความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง แบบที่ 2 การก้าวพ้นข้อจำกัดในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น มี 3 แบบแผน คือ 1) ความคิดเชิงบวก 2) การตอบสนองที่ดีกับผู้อื่น และ 3) การเห็นใจในความรู้สึกของผู้อื่น ข้อค้นพบของคำถามวิจัยข้อที่ 2 ในเรื่องสัมพันธภาพระหว่างครูกับเด็กที่ส่งเสริมการก้าวพ้นข้อจำกัดพบว่า การใช้สัมพันธภาพมี 2 แบบ แบบที่ 1 การสังเกตสัญญาณของเด็กทั้งในนาทีที่เกิดวิกฤติและตลอดระยะเวลาของการเล่นเป็นสัมพันธภาพแบบที่ครูใช้มากที่สุด แบบที่ 2 การรักษาระยะเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กค้นพบวิธีการเล่นของตนเองซึ่งเป็นแบบที่ครูใช้มากรองลงมา ข้อค้นพบของคำถามวิจัยข้อที่ 3 ในเรื่องเงื่อนไขที่ส่งเสริมการก้าวพ้นข้อจำกัดในการเล่นของเด็กปฐมวัยนั้นพบว่า การที่ครูเข้ามาทันในวิกฤตและใช้สัมพันธภาพแบบสังเกตสัญญาณของเด็กและการรักษาระยะภายใต้การได้มีเวลาเล่นกับเพื่อนสนิทที่คุ้นเคยในการเล่นประมาณหนึ่งชั่วโมงเป็นอย่างน้อยท่ามกลางบรรยากาศการเล่นที่สงบไม่พลุกพล่าน มีผลต่อการก้าวพ้นข้อจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสิ่งเร้าในสิ่งแวดล้อมมีความยืดหยุ่นให้ปรับเปลี่ยนวิธีการเล่นได้ในสถานการณ์ต่างๆ ยิ่งช่วยส่งเสริมการเล่นที่นำไปสู่การก้าวพ้นข้อจำกัด
Other Abstract: The purposes of this research were to study: 1) play patterns leading to the optimum preschool learning experience, 2) teacher-child relationship patterns providing optimum preschool learning experience leading to transcendence in play, and 3) conditions enhancing transcendence in play. The research method was qualitative study, utilizing nonparticipatory observation during young children's free play and in-depth interviews with teachers. The findings drew from 13 children and 4 teachers from 18 exemplars out of 284 initial exemplars. The finding of the first research question concerning play patterns leading to the optimum preschool learning experience were 2 types of learning experience comprising of 6 transcendence play patterns depending on the characteristics of crisis. The first one was intrapersonal type including 3 patterns: 1) resourcefulness, 2) expressiveness, and 3) problem-solving willfulness; the second one was interpersonal type consisting of 3 patterns: 1) positive thinking, 2) responsiveness, and 3) sympathy towards others. The finding of the second research question according to the teacher-child relationship leading to children's transcendence was that teachers' active sensing all through the play as well as at the moment of a crisis were most frequently found. Teachers' adaptive distancing from children's play ranked the second. The finding of the third research question the conditions that enhanced transcendence in play were that given that the child was playing with close friends under a calm atmosphere approximately no less than one hourand at the moment of crisis, the teacher could approach the child with active sensing or adaptive distancing, transcendence would occur. Particularly, if the existing stimulations in the environment were flexible enough for various styles of play in different situations, transcendence could even more readily be achieved.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18862
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1432
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1432
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
anyamanee_bo.pdf3.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.