Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18866
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุชาดา บวรกิติวงศ์-
dc.contributor.authorอาภรณ์ พลเสน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2012-03-29T04:46:57Z-
dc.date.available2012-03-29T04:46:57Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18866-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractเปรียบเทียบและศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต ความมีสติสัมปชัญญะ ความรับผิดชอบ ความยุติธรรม ความขยันหมั่นเพียร ความมีวินัย และความอดทน ของนักเรียนเตรียมทหารเหล่าทหารเรือ นักเรียนนายเรือ และข้าราชการทหารเรือ ตามตัวแปรต้น ได้แก่ ประเภทของบุคคล ระดับชั้นปี และประสบการณ์การทำงาน วิธีการเก็บข้อมูลมี 2 ประเภท คือ (1) การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนเตรียมทหารเหล่าทหารเรือ นักเรียนนายเรือ และข้าราชการทหารเรือ จำนวน 165, 280 และ 105 คน ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติภาคบรรยาย และ MANOVA (2) การเก็บข้อมูล เชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา สร้างข้อสรุปแบบอุปนัยและเปรียบเทียบ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เมื่อเปรียบเทียบระดับคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต ความมีสติสัมปชัญญะ ความรับผิดชอบ ความยุติธรรม ความขยันหมั่นเพียร ความมีวินัย และความอดทน ของราชนาวีไทย ระหว่าง 1.1 นักเรียนเตรียมทหารเหล่าทหารเรือ นักเรียนนายเรือ และข้าราชการทหารเรือ พบว่า 1.1.1 นักเรียนเตรียมทหารเหล่าทหารเรือ มีระดับคุณธรรมจริยธรรมสูงกว่านักเรียนนายเรือ ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ความมีสติสัมปชัญญะ ความมีวินัยและความอดทน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 1.1.2 ข้าราชการทหารเรือ มีระดับคุณธรรมจริยธรรมสูงกว่านักเรียนเตรียมทหารเหล่าทหารเรือ ใน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านความขยันหมั่นเพียร และความอดทน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 1.1.3 ข้าราชการทหารเรือ มีคุณธรรมจริยธรรมสูงกว่านักเรียนนายเรือใน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านความมีสติสัมปชัญญะ ความรับผิดชอบ ความยุติธรรม ความขยันหมั่นเพียร ความมีวินัย และความอดทน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 1.2 นักเรียนเตรียมทหารเหล่าทหารเรือ ที่มีระดับชั้นปีแตกต่างกัน พบว่า 1.2.1 นักเรียนเตรียมทหารเหล่าทหารเรือ ชั้นปีที่ 3 มีระดับคุณธรรมจริยธรรมสูงกว่า ชั้นปีที่ 1 ใน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านความมีสติสัมปชัญญะ และด้านความอดทน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 1.2.2 นักเรียนเตรียมทหารเหล่าทหารเรือ ชั้นปีที่ 3 มีระดับคุณธรรมจริยธรรมสูงกว่า ชั้นปีที่ 2 ใน 1 ด้าน ได้แก่ ด้านความอดทน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 1.3 นักเรียนนายเรือ ที่มีระดับชั้นปีแตกต่างกัน พบว่า 1.3.1 นักเรียนนายเรือ ชั้นปีที่ 1 มีระดับคุณธรรมจริยธรรมสูงกว่าชั้นปีที่ 3 ใน 1 ด้าน ได้แก่ ด้านความอดทน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 1.3.2 นักเรียนนายเรือ ชั้นปีที่ 4 มีระดับคุณธรรมจริยธรรม สูงกว่าชั้นปีที่ 3 ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความมีสติสัมปชัญญะ ความมีวินัย และความอดทน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 1.4 ข้าราชการทหารเรือ ที่มีประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน พบว่า 1.4.1 ข้าราชการทหารเรือ ที่มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปี มีระดับคุณธรรมจริยธรรมสูงกว่า ผู้ที่มีประสบการณ์การทำงาน น้อยกว่า 6 ปี ทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 1.4.2 ข้าราชการทหารเรือที่มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปี มีระดับคุณธรรมจริยธรรมสูงกว่าผู้ที่มีประสบการณ์การทำงาน 6-10 ปี ใน 1 ด้าน คือ ด้านความมีสติสัมปชัญญะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. แนวทางการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนเตรียมทหารเหล่าทหารเรือ นักเรียนนายเรือ และ ข้าราชการทหารเรือ พบว่า 1) สำหรับนักเรียนเตรียมทหารเหล่าทหารเรือและนักเรียนนายเรือ ด้านกองทัพเรือต้องมีนโยบายเป็นรูปธรรม ด้านโรงเรียนเตรียมทหารและโรงเรียนนายเรือ มีความร่วมมือและประสานงานระหว่าง 2 โรงเรียน และกับสถาบันครอบครัว คัดเลือกครูและนายทหารปกครอง และจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ด้านหลักสูตร บรรจุเนื้อหาจริยศึกษาและสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในชั้นเรียน ด้านครู/นายทหารปกครอง แสวงหาความรู้อยู่เสมอ และด้านตัวนักเรียน มีการสอบคัดเลือก ทั้งด้านความรู้และด้านคุณธรรมจริยธรรม และ 2) สำหรับข้าราชการทหารเรือ ด้านกองทัพเรือ ต้องมียุทธศาสตร์ชัดเจน ด้านหน่วยขึ้นตรงของกองทัพเรือ จัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สนับสนุนให้มีการวิจัย และใช้ประกอบการพิจารณาบำเหน็จ การโยกย้าย และบรรจุลงตำแหน่งen
dc.description.abstractalternativeTo compare various factors affecting moral virtues which are honesty, consciousness, responsibility, justice, diligence, discipline and endurance of naval precadets, naval cadets and naval officers by using independent variables such as categories of naval cadets and officers, classes of cadets and work experiences, and to develop guidelines for moral virtues enhancement of Royal Thai Navy. Two types of research data used in this study were (1) quantitative data through the use of questionnaires. Sample used in this research were 165 naval precadets, 280 naval cadets and 105 naval officers. The quantitative data were analyzed by employing descriptive statistics and MANOVA. (2) qualitatively data through interviewing 3 experts. Data were analyzed by employing content analysis, inductive conclusion and comparison. The research findings were summarized as follows: 1. The research findings by comparing multivariate factors affecting moral virtues such as honesty, consciousness, responsibility, justice, diligence , discipline and endurance of the Royal Thai Navy were as follows : 1.1 to compare between naval precadets, naval cadets and naval officers were as follows : 1.1.1 Naval precadets had higher degree in moral virtues than naval cadets in honesty, consciousness, discipline and endurance with statistically significant at 0.01. 1.1.2 Naval officers had higher degree in moral virtues than naval precadets in diligence and endurance with statistically significant at 0.01. 1.1.3 Naval officers had higher degree in moral virtues than naval cadets in consciousness, responsibility, justice, diligence, discipline and endurance with statistically significant at 0.01. 1.2 to compare between naval precadets which had different class were as follows : 1.2.1 Third-class naval precadets had higher degree in moral virtues than first-class in consciousness and endurance with statistically significant at 0.05. 1.2.2 Third-class naval precadets had higher degree in moral virtues than second-class in endurance with statistically significant at 0.05. 1.3 to compare between naval cadets which had different class were as follows : 1.3.1 First-class cadets had higher degree in moral virtues than third-class in endurance with statistically significant at 0.01. 1.3.2 Fourth-class naval cadets had higher degree in moral virtues than third-class in consciousness, discipline, and endurance with statistically significant at 0.01. 1.4 to compare between naval officers which had different work experiences were as follows : 1.4.1 Naval officers having work experiences more than 10 years would have higher degree in moral virtues than those who had work experiences less than 6 years in every factors with statistically significant at 0.01. 1.4.2 Naval officers having work experiences more than 10 years would have higher degree in moral virtues than those in between 6-10 years in consciousness with statistically significant at 0.01. 2. Guidelines for developing moral virtues enhancement of naval precadets, naval cadets and naval officers were as follows : (1) Royal Thai Navy must have a tangible policy regarding moral virtues. Furthermore, military preparatory school must corporate and coordinate with naval academy and also with naval families. Teachers, naval commanding officers and cadets must have activities on moral virtues. In addition, military preparatory school and naval academy must have a course on moral virtues. (2) Royal Thai Navy must have tangible strategy regarding moral virtues and support research for personnel posting and promotion.en
dc.format.extent1921228 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1179-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการพัฒนาจริยธรรมen
dc.subjectทหารเรือ -- ไทยen
dc.titleผลการวิเคราะห์ตัวแปรพหุของคุณธรรมจริยธรรมเพื่อพัฒนาแนวทางการสร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมของราชนาวีไทยen
dc.title.alternativeResults of a multivariate analysis of moral virtues to develop guideliens for moral virtues enhancement of Royal Thai Navyen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSuchada.b@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1179-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
aporn_p.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.