Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18974
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์-
dc.contributor.advisorกฤษดา ศิรามพุช-
dc.contributor.authorกรุณา นนทรักส์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-04-03T14:27:55Z-
dc.date.available2012-04-03T14:27:55Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18974-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบยิมนาสติกทั่วไป เพื่อส่งเสริมภาวะสุขภาพและสุขสมรรถนะของผู้สูงอายุสตรี กลุ่มตัวอย่าง เป็นอาสาสมัครผู้สูงอายุสตรี อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 32 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 16 คน โดยใช้วิธีการสุ่มเข้ากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลภาวะสุขภาพและสุข สมรรถนะ และอุปกรณ์สำหรับตรวจสุขภาพและสุขสมรรถนะ ส่วนคุณภาพของรูปแบบ ให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความตรงเชิงเนื้อหา และนำมาหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับเนื้อหา ผู้วิจัยดำเนินการทดลองเป็นเวลา 12 สัปดาห์ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และมาทดสอบค่า "ที" วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และทดสอบความมีนัยสำคัญของความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธี แอล เอส ดี กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยปรากฏว่า รูปแบบยิมนาสติกทั่วไปเพื่อส่งเสริมภาวะสุขภาพและสุขสมรรถนะของผู้สูงอายุ สตรีที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบที่พัฒนาขึ้นอย่างถูกต้องตามหลักปรัชญา ของยิมนาสติกทั่วไป และวิทยาศาสตร์การกีฬา ประกอบด้วยขั้นปฐมนิเทศ ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน ขั้นกำหนดโครงการยิมนาสติกทั่วไป ขั้นปฏิบัติการยิมนาสติกทั่วไป ที่เป็นการแสดงกิจกรรมยิมนาสติกและเต้นรำ ทั้งที่ใช้อุปกรณ์บอลและริบบิ้นและไม่ใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดง และขั้นวัดและประเมินผลภาวะสุขภาพและสุขสมรรถนะ ซึ่งสามารถใช้เสริมสร้างภาวะสุขภาพและสุขสมรรถนะผู้สูงอายุสตรีได้เป็นอย่าง ดี ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุสตรีของกลุ่มทดลอง พบว่า ด้านอัตราการเต้นของหัวใจ ด้านความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว และค่าดัชนีมวลกาย ระหว่าง ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 6 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 12 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนสุขสมรรถนะ พบว่า ด้านส่วนประกอบของร่างกาย ด้านความอดทนของกล้ามเนื้อ ด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือข้างขวา และด้านความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ ระหว่าง ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 6 และหลังการทดลอง สัปดาห์ที่ 12 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ภาวะสุขภาพ และสุขสมรรถนะของผู้สูงอายุสตรี ทุกด้าน ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยภาวะสุขภาพและสุขสมรรถนะของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research was to develop a general gymnastics model to promote health status and health related physical fitness of elderly women. Samples in this study were 32 elderly women, 60⁺ years of age, randomly allocated, 16 each, to experimental and control groups. Research instruments were data recording form of health status and health-related physical fitness and equipments for examining health status, testing of health-related physical fitness and for experimental purposes. the quality of the model and instruments were evaluated by 7 experts for quality-content validity and Index of Objective-Item Congruence. The experimental periods were 12 weeks. The collected data were then analyzed for evaluating model. The descriptive statistics was used to find percentages, means, and standard deviations. The inferential statistics was also employed for hypotheses testing by using independent t-test, repeated measures one- way ANOVA, if the ANOVA null hypothesis of equal means had been rejected the Fisher's LSD method would be used for comparing treatment group means at the level of the statistical significance at .05. It was found that: The developed general gymnastics model to promote health status and health-related physical fitness of elderly women was appropriate in accordance with principles and philosophy of general gymnastics and sports science. It included the Orientation phase, Baseline data collecting phase, Determining phase, Exercise phase with ball and ribbon, and Assessment and evaluation phase of health status and health-related physical fitness. It could be well used to promote health status and health-related physical fitness of elderly women. There was statistically significant difference of the elderly women health status at the .05 level in terms of Heart Rate, DBP, and BMI among before, after 6[superscript th] week, and after 12[superscript th] week of experiments. With regard to health-related physical fitness: Body composition, muscular endurance, right-hand muscular strength, and the cardiorespiratory endurance were statistically significant different before, after 6[superscript th] week, and after 12[superscript th] week of experiments at the level of .05. In conclusion, health status and health-related physical fitness of experimental group were better than control group significantly at the level of .05en
dc.format.extent76212381 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.738-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectยิมนาสติกส์en
dc.subjectสตรีสูงอายุen
dc.titleการพัฒนารูปแบบยิมนาสติกทั่วไปเพื่อส่งเสริมภาวะสุขภาพและสุขสมรรถนะของผู้สูงอายุสตรีen
dc.title.alternativeDevelopment of a general gymnastics model to promote health status and health-related physical fitness of elderly womenen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineพลศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAimutcha.W@chula.ac.th-
dc.email.advisordrkrisda@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.738-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
karuna_no.pdf74.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.