Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1913
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ การรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ การรับรู้ความสามารถในการเป็นมารดา สัมพันธภาพของคู่สมรสและการสนับสนุนทางสังคมกับภาวะซึมเศร้าของหญิงในระยะตั้งครรภ์
Other Titles: Relationships between age, perceived pregnancy risks, perceived marital competence, marital relationship, social support, and antepartum depression
Authors: โสมสิริ รอดพิพัฒน์, 2520-
Advisors: ชมพูนุช โสภาจารีย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Chompunut.S@Chula.ac.th
Subjects: สตรีมีครรภ์
คู่สมรส
ความซึมเศร้าในสตรี
การสนับสนุนทางสังคม
การเป็นมารดา
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอายุ การรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ การรับรู้ความสามารถในการเป็นมารดา สัมพันธภาพของคู่สมรส และการสนับสนุนทางสังคม กับภาวะซึมเศร้าของหญิงในระยะตั้งภรรภ์ และเพื่อศึกษาความสามารถในการทำนายภาวะซึมเศร้าในระยะตั้งครรภ์จากอายุ การรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ การรับรู้ความสามารถในการเป็นมารดา สัมพันธภาพของคู่สมรส และการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์อยู่ในไตรมาสที่ 3 (อายุครรภ์ 28-40 สัปดาห์) ที่ได้มาจากการสุ่ม เมื่อมาฝากครรภ์ที่แผนกฝากครรภ์โรงพยาบาลสมุทรสาคร และโรงพยาบาลพระปกเกล้า จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการเป็นมารดา แบบสอบถามสัมพันธภาพของคู่สมรส แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามภาวะซึมเศร้าของหญิงในระยะตั้งครรภ์ แบบสอบถามทั้งหมดได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมีค่าเท่ากับ .86 .70 .77 .90 และ .79 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีภาวะซึมเศร้าในระยะตั้งครรภ์ร้อยละ 12.51 2. อายุ และการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของหญิงในระยะตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การรับรู้ความสามารถในการเป็นมารดามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับภาวะซึมเศร้าของหญิงในระยะตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -.26) สัมพันธภาพของคู่สมรส และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับภาวะซึมเศร้าของหญิงในระยะตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -.58 และ r = -.40 ตามลำดับ) 3. อายุ การรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ การรับรู้ความสามารถในการเป็นมารดา สัมพันธภาพของคู่สมรสและการสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันพยากรณ์ภาวะซึมเศร้าของหญิงในระยะตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 39.9 (R[superscript 2] = .399, F = 15.148, p < .05) โดยสมการในรูปคะแนนมาตรฐานคือ Z[subscript ภาวะซึมเศร้า] = -.520(สัมพันธภาพของคู่สมรส) - .252(การสนับสนุนทางสังคม) - .062(การรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์) - .016(อายุ) + .004(การรับรู้ความสามารถในการเป็นมารดา)
Other Abstract: The purposes of this research were to examine the relationships between age, perceived pregnancy risks, perceived maternal competence, marital relationship, social support, and antepartum depressionin pregnant women and to determine abilities of age, perceived pregnancy risks, perceived maternal competence, marital relationship and social support in predicting antepartum depression. One hundred and twenty subjects who were in third trimester of pregnancy (Gestational age 28-40 weeks) and attended the antenatal clinic at Samutsakorn Hospital and Prapokklao Hospital. Research instruments were perceived pregnancy risks, perceived maternal competence, marital relationship, social support, and antepartum depression questionnaires. The content validity and internal consistency were established. Cronbach's alpha were .86 .70 .77 .90 and .79 respectively. Statistical techniques used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, Pearson's product moment correlation, and multiple regression. Major finding were as follows: 1. The incidence of antepartum depression was 12.51 percents. 2. Age and perceived pregnancy risks were not significantly correlated with antepartum depression. Perceived maternal competence was significantly negatively correlated with antepartum depression (r = -.26, p < .01). Marital relationship and Social support were significantly negatively correlated with antepartum depression, respectively (r = -.58 p < .01, r = -.48 p < .01). 3. For the predictive abilities, all predictors together accounted for 39.9 percents of the variance in predicting antepartum depression (R[superscript 2] = .399, F = 15.148, p < .05). The standardized equation derived from the analysis waw: Z[subscript Depression] = -.520(marital relationship) - .252(social support) - .062(perceived pregnancy risks) - .016(age) + .004(perceived maternal competence).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1913
ISBN: 9741761457
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsiri.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.