Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19190
Title: การวิเคราะห์แนวคิดการศึกษาชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของศาสตราจารย์เสน่ย์ จามริก
Other Titles: An analysis of saneh chamarik's thoughts on community education for sustainable development
Authors: สิทธิชัย ละมัย
Advisors: วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: wirathep.p@chula.ac.th, wirathep@yahoo.com
Subjects: การพัฒนาแบบยั่งยืน
การศึกษาชุมชน
เสน่ห์ จามริก
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิดการศึกษาชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก โดยผู้วิจัยใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำรายงานการวิจัยรวมทั้งสิ้น 10 เดือน การเก็บรวบรวมข้อมูลได้ใช้วิธีการสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการ การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ และการวิเคราะห์เอกสาร ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดการศึกษาชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก เป็นแนวคิดเชิงบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยเชื่อมโยงเป็นระบบด้วยกระบวนการเรียนรู้อันเดียวกัน และเป็นแนวคิดที่เน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยสาระคือ นำองค์ความรู้ของชุมชนเข้าไปประกอบเป็นฐานในการกำหนดหลักสูตรการเรียนรู้ของชุมชน ทั้งการศึกษาระบบโรงเรียนชุมชนแบบในระบบและนอกระบบ ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงการใช้ภูมิปัญญาของท้องถิ่นในการจัดการศึกษาให้กับชุมชน ที่นำมาใช้ประกอบเป็นกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน โดยมีกระบวนการทางการศึกษาชุมชนทั้งหมด 5 ขั้นตอน กล่าวคือ การคิดร่วมกัน การวางแผนร่วมกัน การร่วมกันปฏิบัติ การร่วมกันประเมิน การร่วมกันรับผลประโยชน์ ซึ่งแนวคิดการศึกษาชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก นี้ ยังได้สอดคล้องกับหลักคิดในเรื่องของการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาเพื่อช่วยให้ชุมชนพึ่งตนเอง การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการศึกษา การใช้เครือข่ายการเรียนรู้ในการถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชน การเสริมสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเองของคนในชุมชน การบูรณาการกระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน การเข้าถึงการศึกษาทุกคนโดยไม่จำกัดวิธีการ การจัดการศึกษาที่สนองต่อความต้องการของบุคคลและชุมชน และการใช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดการศึกษา
Other Abstract: This research was descriptive research. The purposes were to analyze the Saneh Chamarik’s thoughts on community education for sustainable development. The researcher spent 10 months for collecting data, analyzing data, and reporting procedures. The data collection was done through non-participant observation, formal and informal interview and documentary study. The research results were as follows. Saneh Chamarik’s thoughts on community education for sustainable development were the integrated and systematic concept which emphasized on the community participation in both formal and non-formal education management. Beside, the concept also included the local wisdom for community education management which can be applied as one of the community learning processes. There were 5 steps of the community education processes: co- thinking, co- planning, co- implementation, co- evaluation and co- benefit. Saneh Chamarik’s thoughts on community education for sustainable development related to the community participation concept for educational management, educational management for self-reliance, the use of local wisdom and community learning networks, self-learning enhancement of the community members, the integration of learning processes relating to community members’ life style, direct access of every target groups education, serve the needs of both individual and community, and using community-based in educational management.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19190
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.411
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.411
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sittichai_l.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.