Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1921
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินตนา ยูนิพันธุ์-
dc.contributor.authorอุบล วรรณกิจ, 2515--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-17T15:27:20Z-
dc.date.available2006-08-17T15:27:20Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741762941-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1921-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการดูแลตนเองของเด็กปัญญาอ่อนและความพึงพอใจของผู้ดูแล ก่อนและหลังได้รับการปฏิบัติการพยาบาลในระบบพยาบาลในระบบพยาบาลเจ้าของไข้ และเปรียบเทียบความสามารถในการดูแลตนเองของเด็กปัญญาอ่อนและความพึงพอใจของผู้ดูแลระหว่างกลุ่มที่ได้รับการปฏิบัติการพยาบาลในระบบพยาบาลเจ้าของไข้กับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือเด็กปัญญาอ่อน จำนวน 40 คน และผู้ดูแลเด็กปัญญาอ่อน จำนวน 40 ซึ่งจัดแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยการจับคู่ตามอายุระดับสติปัญญา และการวินิจฉัยโรค ได้เด็กปัญญาอ่อนและผู้ดูแลกลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการปฏิบัติการพยาบาลในระบบพยาบาลเจ้าของไข้ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนปฏิบัติการพยาบาลในระบบพยาบาลเจ้าของไข้ แบบประเมินความสามารถในการดูแลตนเองของเด็กปัญญาอ่อน และแบบวัดความพึงพอใจของผู้ดูแลต่อการพยาบาล ซึ่งตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 ท่าน ค่าความเที่ยงของแบบประเมินความสามารถในการดูแลตนเองของเด็กปัญญาอ่อนเท่ากับ .89 และแบบวัดความพึงพอใจของผู้ดูแลต่อการพยาบาลเท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test ผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ 1. ความสามารถในการดูแลตนเองของเด็กปัญญาอ่อนและความพึงพอใจของผู้ดูแลหลังได้รับการปฏิบัติการพยาบาลในระบบพยาบาลเจ้าของไขัสูงกว่าก่อนได้รับการปฏิบัติการพยาบาลในระบบพยาบาลเจ้าของไข้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการดูแลตนเองของเด็กปัญญาอ่อนกลุ่มที่ได้รับการปฏิบัติการพยาบาลในระบบพยาบาลเจ้าของไข้สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึงพอใจของผู้ดูแลกลุ่มที่ได้รับการปฏิบัติการพยาบาลในระบบพยาบาลเจ้าของไข้ไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study were to compare self care abilities of mentally retarded children and caregivers' satisfaction before and after receiving primary nursing practice system, and to compare self care abilities of mentaly retarded children and caregivers' satisfaction in the group that received the primary nursing practice system, and those who received regular caring activities. Forty patients and their caregivers were assigned into an experimental group and a control group by matching with ages, IQ and diagnosis. The experimental group received primary nursing practice systems, whereas the control group received the regular nursing care activities. Research instruments were primary nursing practice system, mentally retarded children's self care abilities scale, and caregivers' satisfaction scale which were developed by the researcher. The content validity was established by a panel of 7 experts. The reliability of mentally retarded children's self care abilities scale was .89 and caregivers' satisfaction scale was .97. Data were analyzed by t-test. Major findings were as follows: 1. Self care abilities of mentally retarded children and caregivers' satisfaction, after receiving the primary nursing practice system were significantly higher than those before the experiment, at the .05 level. 2. Self care abilities of mentally retarded children were significantly higher than those of mentally retarded children who received the regular nursing care activities, at the .05 level, but there was no significant difference between satisfaction of caregivers in the two groups.en
dc.format.extent1870799 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเองen
dc.subjectเด็กปัญญาอ่อนen
dc.subjectผู้ดูแลen
dc.subjectความพอใจen
dc.titleผลของการปฏิบัติการพยาบาลในระบบพยาบาลเจ้าของไข้ต่อความสามารถในการดูแลตนเองของเด็กปัญญาอ่อนและความพึงพอใจของผู้ดูแลen
dc.title.alternativeEffects of primary nursing practice system on self care abilities of mentally retarded children and caregivers' satisfactionen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorJintana.Y@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ubon.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.