Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1924
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญา-
dc.contributor.authorสุทธินี วัฒนกุล, 2514--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-18T11:53:05Z-
dc.date.available2006-08-18T11:53:05Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741761384-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1924-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความวิตกกังวลของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนัก ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลและสนับสนุนการเยี่ยมอย่างมีแบบแผน และความวิตกกังวลของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนักระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลและสนับสนุนการเยี่ยมอย่างมีแบบแผนกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาใหม่ในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลอินทร์บุรี จำนวน 40 คน จัดเข้ากลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน ด้วยการจับคู่ให้มีคุณลักษณะเหมือนกันในด้านเพศกับอายุของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วย และความรุนแรงของความเจ็บป่วยของผู้ป่วย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการให้ข้อมูลและสนับสนุนการเยี่ยมอย่างมีแบบแผนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม โดยใช้แนวคิดการเตรียมบุคคลก่อนการเผชิญเหตุการณ์ที่เป็นความเครียดด้วยการให้ข้อมูลของ Leventhal and Johnson (1983) แนวคิดการสนับสนุนการเยี่ยมของ Daly (1999) และแนวคิดเกี่ยวกับความต้องการของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยวิกฤตของ Leske (2002) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วย ซึ่งเครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้วยการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และหาค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วย ได้ค่าเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนักในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลและสนับสนุนการเยี่ยมอย่างมีแบบแผน มีความวิตกกังวลหลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. สมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนักในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลและสนับสนุนการเยี่ยมอย่างมีแบบแผน มีความวิตกกังวลต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of the preparatory information and visitation facilitation program on anxiety among family members of patients in a critical care unit, Inburi Hospital, Singburi Province. The sample consisted of 40 patient's family members, and were selected into an experimental group and a control group. The two groups were similar in sex, age of family member and severity of illness (APACHE SCORE) of the patient. The experimental group received a preparatory information and visitation facilitation program, while the control group received a routine nursing care. The research instruments were preparatory information and visitation facilitation program developed based on preparatory information concept (Leventhal and Johnson, 1983), visitation facilitation concept (Daly, 1999), and family needs in critical care (Leske, 2002). Instruments used were a demographic data form and the State-Trait Anxiety Inventory From Y-1 (STAI Form Y-1).The instruments were tested for the content validity by 5 experts. The reliability of the STAI Form Y-1 were. 90. The data were analyzed by using Mean, Standard Deviation, and t-test statistic. Results were as follows: 1. The anxiety of patient's family members receiving the preparatory information and visitation facilitation program at posttest was significantly lower than that of pretest at the .05 level. 2. The anxiety of patient's family members receiving the preparatory information and visitation facilitation program were significantly lower than those who received a routine nursing care at the .05 level.en
dc.format.extent1259438 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectผู้ป่วยหนักen
dc.subjectความวิตกกังวลen
dc.subjectการพยาบาลครอบครัวen
dc.subjectความเครียด (จิตวิทยา)en
dc.titleผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลและสนับสนุนการเยี่ยมอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวลของสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนักen
dc.title.alternativeThe effect of preparatory information and visitation facilitation program on anxiety among family members of patients in a critical care uniten
dc.typeThesisen
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suttinee.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.