Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1928
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินตนา ยูนิพันธุ์-
dc.contributor.advisorรังสิมันต์ สุนทรไชยา-
dc.contributor.authorจุฬาลักษณ์ ช่ำชอง, 2520--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-18T12:13:19Z-
dc.date.available2006-08-18T12:13:19Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9745320838-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1928-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อบรรยายการให้ความหมายและประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่ป่วยซ้ำ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาของ Husserlian Phenomenology ผู้วิจัยคัดเลือกผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่ป่วยซ้ำแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 ราย เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และการบันทึกภาคสนามนำข้อมูลการสัมภาษณ์มาถอดข้อมูลแบบคำต่อคำ (Verbatim) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามแบบของ Colaizzi ผลการวิจัย พบว่าผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่ป่วยซ้ำ ให้ความหมายการดูแลตนเอง คือ การที่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง ไม่เป็นภาระของบุคคลอื่น เป็นการดูแลเพื่อให้มีร่างกายแข็งแรง จิตใจสดใส อยู่ร่วมกับครอบครัว สังคมได้อย่างปกติไม่มีอาการกำเริบ ประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่ป่วยซ้ำ ประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ 1) ประสบการณ์การดูแลตนเองด้านร่างกาย จำแนกเป็น 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ การใช้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์และ การงดสารกระตุ้นประสาท 2) ประสบการณ์การดูแลตนเองด้านจิตใจ จำแนกเป็น 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ การทำงานและ/หรือกิจกรรมที่ทำให้เกิดความภาคภูมิใจและผ่อนคลายและ การปรับความคิดและจิตใจ 3) ประสบการณ์การดูแลตนเองด้านสังคม จำแนกเป็น 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ การปฏิบัติตนเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวและ การปฏิบัติตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม 4) ประสบการณ์การดูแลตนเองด้านจิตวิญญาณ จำแนกเป็น 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ การปฏิบัติกิจกรรมตามความเชื่อทางศาสนาและ การฝึกจิตให้สงบ การศึกษาครั้งนี้ทำให้เข้าใจถึงความหมายและประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่ป่วยซ้ำ สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษา การปฏิบัติการพยาบาลและการวิจัยทางการพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทต่อไปen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to explain meaning and self-care experiences of non relapse schizophrenic patients. A qualitative research method of Husserlian phenomenology was applied as a methodology. A purposive sample was 10 non-relapse schizophrenic patients. An in-depth interview with tape-recorded and field notes were performed to collect data. Audio tapes of the interviews were transcribed verbatim. Data were analyzed utilizing Colaizzi,s method. The finding demonstrated that non-relapse schizophrenic patients defined their self-care as their abilities to perform the daily activities by themselves without being burdened by others. It was their self-care for staying physical, mental, and social health. They were able to live as normal people with families and societies happily without having recurrent symptoms. Self-care experiences of non-relapse schizophrenic patients consisted of four major themes : 1) physical self-care experiences which included 2 subthemes : following physician's prescription, and avoiding stimulant. 2) mental self-care experiences which included 2 subthemes : performing relaxing and encouraging activities, and thinking and adjusting mentally. 3) social self-care experiences which included 2 subthemes : making themselves as apart of families, and making themselves as apart of societies, and 4) spiritual self-care experiences which included 2 subthemes : performing religious worship, and practicing peaceful mind. This study provided us with understanding the meaning and self-care experiences of non-relapse schizophrenic patients. Knowledge generated from this study can further guide to improve nursing education, nursing practices, and nursing research related to self-care of schizophrenic patients.en
dc.format.extent722370 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการดูแลตนเองen
dc.subjectผู้ป่วยจิตเภทen
dc.subjectปรากฏการณ์วิทยาen
dc.titleประสบการณ์การดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทที่ไม่ป่วยซ้ำen
dc.title.alternativeSelf-care experiences of non-relapse schizophrenic patientsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorJintana.Y@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Julaluck.pdf816.57 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.