Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19370
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปองสิน วิเศษศิริ | - |
dc.contributor.advisor | ศิริเดช สุชีวะ | - |
dc.contributor.author | สุกัญญา แช่มช้อย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-05-01T14:24:34Z | - |
dc.date.available | 2012-05-01T14:24:34Z | - |
dc.date.issued | 2552 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19370 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพและปัญหาการบริหารการศึกษาของสถานศึกษาที่ถ่ายโอนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล 2) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์ในการบริหารการศึกษาสำหรับสถานศึกษาที่ถ่ายโอนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการศึกษาเชิงปริมาณมีหน่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถานศึกษาที่ถ่ายโอนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 18 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล นักวิชาการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา กรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามสภาพการบริหารการศึกษาของสถานศึกษาที่ถ่ายโอนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test) และการศึกษาเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากกรณีศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการบริหารการศึกษาจำนวน 1 โรงเรียน แล้วนำข้อมูลมาจัดทำกลยุทธ์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ SWOT กำหนดกลยุทธ์และตรวจสอบกลยุทธ์โดยการจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารของสถานศึกษาหลังการถ่ายโอนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลมีความแตกต่างจากก่อนการถ่ายโอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารการศึกษาของสถานศึกษาที่เป็นกรณีศึกษา ประกอบด้วย 1) การมีแผนพัฒนาการศึกษาที่ชัดเจนสอดคล้องกับแผนพัฒนาของ อบต. และเกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วม 2) การมีวิสัยทัศน์ และภาวะผู้นำของผู้บริหาร ประกอบด้วยนายก อบต. และผู้อำนวยการสถานศึกษา 3) ครูและบุคลากรทางการศึกษามีการทำงานเป็นทีม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน 4) ความรู้สึกเป็นเจ้าของสถานศึกษาร่วมกัน 5) วัฒนธรรมการเรียนรู้ร่วมกันของสถานศึกษา ชุมชน และ อบต. 3. การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารการศึกษาสำหรับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ถ่ายโอนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล คือ “กลยุทธ์การบริหารการศึกษาโดยสถานศึกษาและชุมชนเป็นฐาน (School and Community Based Management: SCBM Strategy” ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ระดับนโยบาย 7 กลยุทธ์ระดับโครงการ และ 21 กลยุทธ์ระดับกิจกรรม | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were 1) to analyze educational administration conditions and problems of transferred school from the office of the basic education commission: OBEC to subdistrict administration organization: SAO 2) to propose an educational administration strategies for transferred school from OBEC to SAO using mixed methodology research. Unit of analysis in Quantitative study were 18 transferred schools. 350 samples were collected from SAO CEO, SAO DCEO, academics, school administrators, teachers and academic staffs, school committees, and parents, using questionnaires to survey the educational administration conditions of transferred school from OBEC to SAO. Data were analyzed using frequencies, percentage, mean, standard deviation, and t-test. A school, which was successful in educational administration, was selected for qualitative study in order to formulate strategies by using SWOT analysis technique. Then the strategies were examined using focus group technique. The research findings were summarized as follows: 1. The school administrative environment after school transferred from OBEC to SAO is higher than before school transferred in the statistical significant of 0.05. 2. The key success factors in educational administration includes 1) A clear educational development plan, generated through participation process and consistent with SAO’s development plan. 2) Vision and Leadership of executive such as SAO CEO or educational principal. 3) Teachers and academic staffs work in team, sharing and helping each others. 4) Sense of belonging in school. 5) Learning culture among school, community, and SAO. 3. Proposed educational administration strategies for schools transferred from OBEC to SAO, called “School and Community Based Management: SCBM Strategy”, consists of 3 policy strategies and 7 project strategies and 21 function strategies. | en |
dc.format.extent | 4925073 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.591 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | โรงเรียน -- การบริหาร | - |
dc.subject | การวางแผนเชิงกลยุทธ์ | - |
dc.subject | การบริหารการศึกษา | - |
dc.title | การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารการศึกษาสำหรับสถานศึกษาที่ถ่ายโอนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล | en |
dc.title.alternative | Proposed education administration strategies for schools transferred from the office of the basic education commission to subdistrict administration organizations | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | es |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Pongsin.V@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Siridej.S@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2009.591 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sukanya_ch.pdf | 4.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.