Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19456
Title: ปัจจัยทำนายการแสดงบทบาทการเป็นมารดาของมารดาที่มีบุตรน้ำหนักน้อย
Other Titles: Predicting factors of maternal role attainment of low birth weight infant mothers
Authors: พัชรีย์ กลัดจอมพงษ์
Advisors: ประนอม รอดคำดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Pranom.R@Chula.ac.th
Subjects: มารดาและทารก
ทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำ
ทารกแรกเกิด
ทารกแรกเกิดภาวะวิกฤต
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความวิตกกังวล ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การรับรู้สื่อสัญญาณทารก และการสนับสนุนทางสังคมกับการแสดงบทบาทการเป็นมารดาของมารดาที่มีบุตรน้ำหนักน้อย และเพื่อศึกษากลุ่มตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์การแสดงบทบาทการเป็นมารดาของมารดาที่มีบุตรน้ำหนักน้อย กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาที่มีบุตรน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ได้จากการกำหนดเกณฑ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลด้านมารดาและด้านทารก แบบสอบถามความวิตกกังวล แบบสอบถามความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แบบสอบถามการรับรู้สื่อสัญญาณทารก แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามการแสดงบทบาทการเป็นมารดาของมารดาที่มีบุตรน้ำหนักน้อย ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค มีค่าความเที่ยงระหว่าง .80 ถึง .89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนน การแสดงบทบาทการเป็นมารดาของมารดาที่มีบุตรน้ำหนักน้อยอยู่ในระดับดี ( x = 3.27 , S.D. = .332 ) 2) ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการแสดงบทบาทการเป็นมารดาของมารดาที่มีบุตรน้ำหนักน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .684, .579 , p <.05 ตามลำดับ) การรับรู้สื่อสัญญาณทารก และความวิตกกังวลไม่มีความสัมพันธ์กับการแสดงบทบาทการเป็นมารดาของมารดาที่มีบุตรน้ำหนัก (r = -.195, .037 , p >.05) 3) กลุ่มตัวแปรทั้ง 4 คือ ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้สื่อสัญญาณทารกและความวิตกกังวล ร่วมกันพยากรณ์การแสดงบทบาทการเป็นมารดาของมารดาที่มีบุตรน้ำหนักน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ระดับ .05 ( F=40.062, p<.05 )โดยร่วมกันทำนายได้ ร้อยละ 62.8 (R2 = .628) ซึ่งมีสมการ ดังนี้ Zการแสดงบทบาทการเป็นมารดา= .558 (ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง) + .397 (การสนับสนุนทางสังคม) -.184 (การรับรู้สื่อสัญญาณทารก) - .163 (ความวิตกกังวล )
Other Abstract: The purposes of this descriptive research were to examine maternal role attainment, to examine the relationship between anxiety, self esteem, perception of infant cues and social support and to determine the predictors of maternal role attainment in low birth weight infant mothers. The subjects of this study were 100 low birth weight infant mothers who were selected through inclusion criteria method. Data were collected by using demographic questionnaire, Anxiety, Self esteem, Perception of infant cues, Social support and Maternal role attainment questionnaire. The instruments were content validated and tested for reliability. The cronbach's alpha were between .80 and .89. The statistics used in this study were percentage, mean, standard deviation, Pearson's product moment correlation and multiple regression analysis. The result revealed that: 1.The mean score of maternal role attainment in low birth weight infant mothers was good ( x = 3.27 , S.D. = .332 ) 2.Self esteem, Social support related to maternal role attainment in low birth weight infant mothers were positively significant (r = .684, .579 , p<.05 at respectively) However, Perception of infant cues and anxiety not associated with maternal role attainment in low birth weight infant mothers (r = -.195, .037, p>.05 at respectively) 3. Self esteem, Social support, Perception of infant cues and anxiety were found to contribute significantly to the prediction of maternal role attainment in low birth weight infant mothers. these predictors accounted for 62.8 percent of the variance (R2 = .628, F = 40.062, P<.05 ) The equation derived from regression analysis showed as follows: Z maternal role attainment= .538 (Self esteem) + .397 (Social support) -.184 (Perception of infant cues) - .163 (anxiety)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19456
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.451
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.451
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patcharee_kl.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.