Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1949
Title: การวิเคราะห์รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อคุณภาพบริการการพยาบาล โรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพ
Other Titles: Analysis of a causal relationship model on nursing service quality, accredited hospitals
Authors: นิภาพร ลครวงศ์, 2516-
Advisors: บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Boonjai.S@Chula.ac.th
Subjects: บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล
โรงพยาบาล--การรับรองคุณภาพ
ความพอใจของผู้ใช้บริการ
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยที่ผ่านมามุ่งหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพบริการการพยาบาลในโรงพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพ แต่การทดสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและอิทธิพลของตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อคุณภาพบริการดังกล่าวยังมีจำนวนจำกัด ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมุ่งทดสอบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและอิทธิพลของตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อคุณภาพบริการการพยาบาล โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 392 คน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพบริการ ความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพบริการของผู้นำองค์การการยึดหลักความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ การมีส่วนร่วมของบุคลากร การปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่องของบุคลากร และการวัดผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโดยผู้นำองค์การ การวัดความเที่ยงของเครื่องมือโดยวิธีครอนบราคได้ค่าเท่ากับ .93, .84, .86, .85, .86 และ .85 ตามลำดับ การทดสอบรูปแบบทางสถิติและความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของตัวแปร ใช้การวิเคราะห์เส้นทาง ผลการทดสอบรูปแบบครั้งสุดท้ายมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า ความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพบริการของผู้นำองค์การมีอิทธิพลต่อคุณภาพบริการทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยทางอ้อมผ่านการยึดหลักความพึงพอใจของผู้ใช้บริการการมีส่วนร่วมของบุคลากร และการวัดผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโดยผู้นำองค์การ การยึดหลักความพึงพอใจของผู้ใช้บริการมีอิทธิพลต่อคุณภาพบริการทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยทางอ้อมผ่านการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่องของบุคลากร การมีส่วนร่วมของบุคลากรมีอิทธิพลต่อคุณภาพบริการทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยทางอ้อมผ่านการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่องของบุคลากร และการยึดหลักความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ส่วนการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่องของบุคลากรมีอิทธิพลต่อคุณภาพบริการโดยทางตรงเท่านั้น แต่การวัดผลการปฏิบัติงานของบุคลากรโดยผู้นำองค์การมีอิทธิพลต่อคุณภาพบริการโดยทางอ้อมเท่านั้น โดยผ่านการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่องของบุคลากร และการมีส่วนร่วมของบุคลากร งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าตัวแปรต่างๆ ในรูปแบบที่ศึกษาสามารถทำนายการเกิดคุณภาพบริการได้ร้อยละ 46
Other Abstract: Prior research studies had mainly investigated the variables that related to service quality in accredited hospitals. The study of the variables effect on service quality and the causal relationship among the variables had been scanty. Therefore, this study aimed to examine the causal relationship model of service quality. The sample of this study was composed of 392 professional nurses. The research instrument was a set of questionnaires, consisted of service quality, leadership commitment, focus on customer satisfaction, employee involvement, continuous process improvement, and performance measure. The Cronbach Alpha Coefficient were .93, .84, .86, .85, .86 and .85 respectively. Path analysis was used for testing statistically model and qualifying the causal relationship. The final model fitted the data. The results of this research study indicated that leadership commitment was direct and indirect effects on service quality. Indirectly, it effected service quality, passing by focus on customer satisfaction, employee involvement, and performance measure. Focus on customer satisfaction was direct and indirect effects on service quality. Indirectly, it effected service quality, passing by continuous process improvement. Employee involvement was direct and indirect effects on service quality. Indirectly, it effected service quality, passing by continuous process improvement and focus on customer satisfaction. Continuous process improvement was only direct effect on service quality. Performance measure was only indirect effect on service quality, passing by continuous process improvement and employee involvement. This research study indicated that the variables in this model accounted for 46% of the variance.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1949
ISBN: 9741762321
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nipaporn.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.