Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1959
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญา-
dc.contributor.authorกันตพร ยอดใชย, 2519--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-19T04:13:42Z-
dc.date.available2006-08-19T04:13:42Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741768222-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1959-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ อายุ เพศ ความรุนแรงของโรค คุณภาพการนอนหลับเดิมก่อนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ยาที่ได้รับขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ความเหนื่อยล้า อาการหายใจลำบาก ความซึมเศร้า และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยโรคหัวใจที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 2 แห่งทางภาคใต้ของประเทศไทย (โรงพยาบาลหาดใหญ่และโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาล จำนวน 150 คน คัดเลือกโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 7 ส่วน คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดคุณภาพการนอนหลับ แบบประเมินความเหนื่อยล้า แบบประเมินอาการหายใจลำบาก แบบประเมินความซึมเศร้า และแบบประเมินเกี่ยวกับปัจจัยสิ่งแวดล้อม ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค อยู่ในช่วง .88 ถึง .94 ของแบบประเมินทั้งหมด คะแนนคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยโรคหัวใจในโรงพยาบาลอยู่ในช่วง 24-138 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 86.95 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 25.93) อาการหายใจลำบาก ความเหนื่อยล้า ความซึมเศร้า และคุณภาพการนอนหลับเดิมก่อนเข้ารับการรักษาโรงพยาบาล มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพการนอนหลับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.327, -.324, -.215 และ -.161 ตามลำดับ) คุณภาพการนอนหลับถูกทำนายโดย 4 ตัวแปร ได้แก่ อาการหายใจลำบาก ความเหนื่อยล้า คุณภาพการนอนหลับเดิมก่อนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และความซึมเศร้า ร่วมกันพยากรณ์คุณภาพการนอนหลับของกลุ่มตัวอย่างได้ร้อยละ 19.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <.05en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to examine the relationships among age, sex, severity of illness, prehospitalization sleep quality, medication, fatigue, depression, environmental factors and quality of sleep of cardiac disease patients at two hospitals in the south of Thailand (Hatyai and Suratthanee). Study sample consisted of 150 cardiac disease patients selected by random sampling. The instrument for the study was a seven part questionnaire that included a demographic data form, a sleep questionnaire, a fatigue questionnaire, a dyspnea questionnaire, a depression questionnaire, and an environmental factors questionnaire. Content validity for all questions were reviewed by a panel of experts. Internal consistency reliability determined by Cronbach's alpha ranged from .88 to .94 for all questionnaires. The mean quality of sleep scores in hospitalized cardiac disease patients ranged from 24 to 138, with a mean of 86.95 (S.D. = 25.93). Negative correlations were delected between dyspena (-.327), fatigue (-.324), depression (-.215), and prehospitalization sleep quality (-.161) Quality of sleep was predicted by four valiabiables; Dyspnea, fatigue, prehospitalization sleep quality and depression, predicting 19.9% of the total variance (<.05).en
dc.format.extent1129837 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการนอนหลับen
dc.subjectหัวใจ--โรค--ผู้ป่วยen
dc.titleปัจจัยคัดสรรที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยโรคหัวใจที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลen
dc.title.alternativeSelected factors related to quality of sleep in hospitalized cardiac disease patientsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kantaporn.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.