Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19789
Title: ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการฟื้นสภาพของผู้สูงอายุหลังได้รับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
Other Titles: The effect of self-efficacy enhancement program on recovery of elderly patients after receiving coronary artery bypass graft
Authors: วิชชุดา ดอกผึ้ง
Advisors: ศิริพันธุ์ สาสัตย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Siriphun.S@Chula.ac.th, s_sasat@hotmail.com
Subjects: ผู้สูงอายุ -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจของผูป่วยสูงอายุระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนกับกลุ่มที่ไดรับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผูป่วยที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ที่เข้ารับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจที่โรงพยาบาลศิริราช โดยมีการวางแผนผ่าตัดล่วงหน้า จำนวน 40 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) จัดกลุ่มตัวอย่างเข้าสู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยการจับคู่ (matched pair) ตามตัวแปร เพศ อายุ ประสบการณ์การได้รับการผ่าตัด และประสิทธิภาพการบีบตัวของหัวใจ เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีลักษณะใกล้เคียงกันมากที่สุด โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน แบบประเมินการฟื้นสภาพหลังผ่าตัด และเครื่องมือกำกับการทดลองวิเคราะห์ขอมูลด้วยสถิติ Man-Whitney U Test ผลการวิจัยที่สําคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. การฟื่นสภาพหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจของผู้ป่วยสูงอายุในด้านความเจ็บปวดหลังผ่าตัดระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมในวันที่ 2 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้ป่วยสูงอายุในด้านจํานวนครั้งของการเคลื่อนไหวร่างกายระหว่าง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจําแนกตามจํานวนครั้งของการบริหารการหายใจหลังผ่าตัดโดยใช้ intensive spirometer ระหว่างกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลอง ในวันที่ 1 หลังผ่าตัดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การฟื้นสภาพหลังผ่าตัดของผู้ป่วยสูงอายุในด้านจํานวนครั้งของการใช้ยาแก้ปวด ภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด และจำนวนวันที่อยู่โรงพยาบาลหลังผ่าตัด ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน
Other Abstract: The purposes of this quasi-experimental research were to compare postoperative recovery of elderly patients who received the self – efficacy enhancement program and those who had routine nursing care. Samples consisted of 40 elderly patients who received coronary artery bypass graft (CABG) for treatment at Siriraj Hospital. The samples were matched pair for sex, age, experience of having operation and ejection fraction and were assigned 20 persons into experiment and 20 persons into control group. The instruments were the self – efficacy enhancement program, postoperative recovery evaluation and experiment monitoring instrument. Data were analyzed using Man-Whitney U Test. Major findings were as follows: 1. Postoperative recovery on postoperative pain dimension between the experimental group and the control group were statistically significant different on the second days at the level of .05. 2. Postoperative recovery on postoperative ambulation dimension between the experimental group and the control group were statistically significant different on the first day at the level of .05. 3. Postoperative recovery on postoperative analgesic usage dimension, complication dimension and length of stay after operative between the experimental group and the control group were not significant different.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19789
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.478
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.478
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
witchuda_d.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.