Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1980
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชนกพร จิตปัญญา | - |
dc.contributor.author | นุสรา วิชย์โกวิทเทน, 2517- | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2006-08-19T06:39:37Z | - |
dc.date.available | 2006-08-19T06:39:37Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.isbn | 9745321826 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1980 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะความกดดันด้านจิตใจของคู่สมรสผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการฝึกกู้ชีวิตขั้นพื้นฐานร่วมกับการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ และภาวะความกดดันด้านจิตใจของคู่สมรสผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฝึกกู้ชีวิตขั้นพื้นฐานร่วมกับการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ คู่สมรสผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายที่เข้ารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จำนวน 40 คน จัดเข้ากลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน ด้วยการจับคู่ให้มีลักษณะเหมือนกัน ในด้านเพศกับอายุของคู่สมรสผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมการฝึกกู้ชีวิตขั้นพื้นฐานร่วมกับการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมโดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับภาวะความกดดันด้านจิตใจของ Ridner (2004) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินภาวะความกดดันด้านจิตใจของคู่สมรสผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งเครื่องมือทุกชุดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คนและมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที่ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คู่สมรสผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกกู้ชีวิตขั้นพื้นฐานร่วมกับการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ มีภาวะความกดดันด้านจิตใจหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 2 และสัปดาห์ที่ 3 ต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คู่สมรสผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกกู้ชีวิตขั้นพื้นฐานร่วมกับการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ มีภาวะความกดดันด้านจิตใจต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this quasi-experimental research was to study the effects of basic cardiac life support training combined with informational and emotional support program on psychological distress in spouses of myocardial infarction patients, Sappasitthiprasong Hospital. The sample consisted of 40 patient's spouses who were assigned to an experimental group and a control group. The two groups were similar in sex and age. The experimental group received basic cardiac life support training combined with information and emotional support program, which was developed from Ridner's (2-004) concept of psychological distress. The control group received routine nursing care. Instruments used were a demographic data form and the Brief Symptom Inventory (BSI). The instruments were tested for content validity by 5 experts. The reliability of the BSI was .97. The data were analyzed using Mean, Standard Deviation, and t-tests. Results were as follows: 1. The psychological distress of spouses of myocardial infarction patients receiving basic cardiac life support training combined with informational and emotional support program at posttests two and three weeks post-intervention were significantly lower than that at pretest (p=.05). 2. The psychological distress in spouses of myocardial infarction patients receiving basic cardiac life support training combined with informational and emotional support program were significantly lower than those who received routine nursing care (p=.05). | en |
dc.format.extent | 1370434 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | กล้ามเนื้อหัวใจวาย | en |
dc.subject | คู่สมรส | en |
dc.subject | ความเครียด (จิตวิทยา) | en |
dc.subject | ครอบครัว | en |
dc.title | ผลของโปรแกรมการฝึกกู้ชีวิตขั้นพื้นฐานร่วมกับการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ต่อภาวะความกดดันด้านจิตใจของคู่สมรสผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย | en |
dc.title.alternative | Effects of basic cardiac life support training combined with informational and emotional support program on psychological distress in spouses of myocardial infarction patients | en |
dc.type | Thesis | en |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | en |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | en |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nussara.pdf | 1.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.