Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19923
Title: ผลของการเชื่อมแนวประสานเชิงกรานส่วนหน้าโดยใช้ศัลยกรรมเยือกแข็งต่อการพัฒนากระดูกเชิงกรานในหนูตะเภา
Other Titles: Effect of Public Symphysiodesis by cryosurgery on pelvic development in guinea pigs
Authors: พิมพักตร์ กลับวิเศษ
Advisors: กัมปนาท สุนทรวิภาต
อติชาต พรหมาสา
วิจิตร บรรลุนารา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Kumpanart.S@Chula.ac.th
Atichat.B@Chula.ac.th
Wijit.K@Chula.ac.th
Subjects: กระดูก -- ศัลยกรรม
กระดูกเชิงกราน
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การเชื่อมแนวประสานเชิงกรานส่วนหน้าในหนูตะเภาเพศผู้ อายุประมาณ 4 สัปดาห์ จำนวน 23 ตัว แบ่งหนูตะเภาออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม 7 ตัว กลุ่มทดลองโดยวิธีศัลยกรรมจี้ไฟฟ้าโดยใช้เครื่องจี้ไฟฟ้าแบบหนึ่งขั้ว 6 ตัว และกลุ่มทดลองโดยวิธีศัลยกรรมเยือกแข็งโดยใช้ไนโตรเจนเหลว 10 ตัว ในช่วงสัปดาห์แรกหลังทำศัลยกรรมพบหนูตะเภาตายจำนวน 4 ตัว โดยแบ่งเป็น หนูตะเภาในกลุ่มควบคุมจำนวน 1 ตัว กลุ่มทดลองโดยวิธีศัลยกรรมจี้ไฟฟ้าจำนวน 1 ตัว และหนูตะเภาในกลุ่มศัลยกรรมเยือกแข็ง 2 ตัว ประเมินผลการเปลี่ยนแปลงของเบ้ากระดูกเชิงกรานจากค่ามุม Norberg มุม DAR และมุม DARS จากภาพถ่ายทางรังสี ก่อนทำศัลยกรรม หลังทำศัลยกรรมที่ 2, 4, 6, 8, 12 และ 16 สัปดาห์ และผลทางจุลพยาธิวิทยาหลังทำศัลยกรรมที่ 2, 8 และ 16 สัปดาห์ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของเซลล์กระดูกอ่อนบริเวณแนวประสานเชิงกรานส่วนหน้า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าค่าเฉลี่ยของมุม Norberg มุม DAR ในหนูตะเภากลุ่มศัลยกรรมจี้ไฟฟ้าและกลุ่มศัลยกรรมเยือกแข็งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในขณะที่ค่ามุม DARS ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมในสัปดาห์ที่ 16 หลังศัลยกรรม และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มศัลยกรรมจี้ไฟฟ้าและกลุ่มศัลยกรรมเยือกแข็งพบว่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p≥0.05) ผลทางจุลพยาธิวิทยาพบการตายของเซลล์กระดูกอ่อนบริเวณแนวประสานเชิงกรานส่วนหน้าในหนูตะเภากลุ่มศัลยกรรมจี้ไฟฟ้า และกลุ่มศัลยกรรมเยือกแข็ง แต่ในกลุ่มศัลยกรรมเยือกแข็งพบว่ามีการแทนที่ของกระดูกจนเกือบสมบูรณ์ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 8 หลังศัลยกรรม จากการศึกษานี้สรุปได้ว่าการเชื่อมแนวประสานเชิงกรานส่วนหน้าในหนูตะเภาโดยใช้ศัลยกรรมเยือกแข็ง มีผลให้เกิดการปิดตัวก่อนกำหนดของแนวประสานเชิงกรานและเบ้ากระดูกเชิงกรานคลุมหัวกระดูกต้นขาหลังได้มากขึ้น ดังนั้นวิธีศัลยกรรมเยือกแข็งจึงเป็นแนวทางเลือกหนึ่งเพื่อไปประยุกต์ใช้ในการบำบัดโรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติในลูกสุนัขต่อไป
Other Abstract: The pubic symphysiodesis was performed in 23 four-week-old male guinea pigs. Guinea pigs were divided to 3 groups, including control (sham-operated) group (C) (n=7), electrosurgical symphysiodesis group (E) by using monopolar electrocautery (n=6) and cryosurgical symphysiodesis group (Cr) by using liquid nitrogen (n=10). Four guinea pigs (c=1, E=1, Cr=2) were died at first period after surgery ( within 1st week). Norberg angle (NA), dorsal acetabular rim angle (DARA) and dorsal acetabular rim slope (DARS) were evaluated for acetabular ventroversion changes at before and 2, 4, 6, 8, 12 and 16 weeks after surgery from radiographs. At 2 and 8 weeks after surgery, one guinea pig from each group was euthanized for histological examination. The rest of guinea pigs in each group were euthanized at 16 weeks after surgery (20 weeks of age) for histological examination. Guinea pigs of the electrosurgery group and cryosurgery group had increased NA and DARA while DARS had decreased comparing with the control group (p<0.05). In contrast, there was no significant differences between electrosurgery group and cryosurgery group in NA, DARA and DARS at 16 weeks after surgery (p0.05). Histological examination showed the column of chondrocytes in control group while the electrosurgery group and cryosurgery group showed the death of chondrocytes. However, bony union had occurred in cryosurgery group since 8 weeks after surgery. In conclusion, pubic symphysiodesis by cryosurgery can be applied to use in canine for an alternative treatment of canine hip dysplasia.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19923
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1343
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1343
Type: Thesis
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pimpak_Kl.pdf3.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.