Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20011
Title: แนวคำพิพากษาศาลอาญาระหว่างประเทศแห่งรวันดาต่อความผิดฐานยุยงโดยตรงและโดยสาธารณะให้ทำลายล้างเผ่าพันธุ์
Other Titles: Jurisprudence of international criminal tribunal for Rwanda on the direct and public incitement to commit genocide
Authors: วิมุตตา โทบุรี
Advisors: วิทิต มันตาภรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Vitit.M@chula.ac.th
Subjects: อนุสัญญาระหว่างประเทศเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติทุกรูปแบบ ค.ศ. 1966
อนุสัญญายุโรปว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ค.ศ.1950
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (กฎหมายระหว่างประเทศ)
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ -- รวันดา
อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ -- รวันดา
อาชญากรรมต่อสันติภาพ
การสอบสวนคดีอาญา (กฎหมายระหว่างประเทศ)
กฎหมายอาญาระหว่างประเทศ
ศาลอาญาระหว่างประเทศ
Genocide (International law)
Genocide -- Rwanda
Crimes against humanity -- Rwanda
Crimes against peace
Criminal investigation (International law)
International criminal law
International criminal courts
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ก่อนการเกิดขึ้นของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมทำลายล้างเผ่าพันธุ์ ค.ศ. 1948 การยุยงโดยตรงและโดยสาธารณะให้ทำลายล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นจะเป็นเพียงการประหัตประหารภายใต้อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ต่อมาเมื่อศาลอาญาระหว่างประเทศแห่งอดีตยูโกสลาเวียเกิดขึ้น การยุยงโดยตรงและโดยสาธารณะให้ทำลายล้างเผ่าพันธุ์จึงเป็นความผิดฐานหนึ่งภายใต้ศาลอาญาระหว่างประเทศแห่งอดีตยูโกสลาเวีย แต่ยังคงไม่ปรากฏแนวทางการใช้และการตีความความผิดฐานยุยงโดยตรงและโดยสาธารณะให้ทำลายล้างเผ่าพันธุ์ที่ชัดเจน จนกระทั่งเมื่อศาลอาญาระหว่างประเทศแห่งรวันดาเกิดขึ้น ซึ่งนอกจากธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศแห่งรวันดาจะมีการรับรองให้ความผิดฐานยุยงโดยตรงและโดยสาธารณะเป็นความผิดภายใต้ธรรมนูญศาลแล้ว ศาลอาญาระหว่างประเทศแห่งรวันดายังได้วางแนวคำพิพากษาศาลในการใช้และการตีความบทบัญญัติดังกล่าวให้ชัดเจนมากขึ้นและยืนยันถึงองค์ประกอบความผิด 5 ประการที่ต้องพิสูจน์ คือ (1) เจตนายุยงให้ทำลายล้างเผ่าพันธุ์ (2) การยุยงให้ทำลายล้างเผ่าพันธุ์ (3) การกระทำโดยตรง (4) การกระทำโดยสาธารณะ (5) การเป็นความผิดที่ไม่ต้องการความสำเร็จของการกระทำและความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล หลักกฎหมายที่เกิดจากการใช้และตีความของศาลอาญาระหว่างประเทศแห่งรวันดาต่อความผิดฐานยุยงโดยตรงและโดยสาธารณะให้ทำลายล้างเผ่าพันธุ์จึงส่งอิทธิพลต่อการกำหนดองค์ประกอบความผิดฐานนี้ในกฎหมายระหว่างประเทศอื่นๆ ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วย
Other Abstract: Before the existence of Convention on the Prevention and Punishment on a crime of Genocide, 1948, direct and public incitement to commit genocide was punishable as a crime against humanity. When International Criminal Tribunal of the former Yugoslavia (ICTY) was established, direct and public incitement to commit genocide became a punishable crime under the Statute but no evident rule of the doctrine was created until the establishment to International Criminal Tribunal for Rwanda (ICTR). The Statute of ICTR enumerated direct and public incitement to commit genocide as a crime. Moreover, the jurisprudence of ICTR has shown the clear legal character of this crime and also defined elements of crime that must be met before an inciter can be held responsible for the criminal act based on the following elements: (1) Intent to incitement to commit genocide (2) Incitement to commit genocide (3) Direct nature (4) Public nature (5) Whether such incitement be successful or not is immaterial. The concept of direct and public incitement to commit genocide applied and interpreted by ICTR has contributed to effectively defining elements of this crime under other areas of international law.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20011
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.541
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.541
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
vimutta_th.pdf3.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.