Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2004
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ความรุนแรงของอาการ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคมและกิจกรรมทางกายในผู้ป่วยหัวใจวายเรื้อรัง
Other Titles: Relationships between personal factors, perception of symptoms severity, self-efficacy, social support, and physical activity in patients with chronic heart failure
Authors: สายรุ้ง บัวระพา, 2518-
Advisors: สุรีพร ธนศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Sureeporn.T@Chula.ac.th
Subjects: หัวใจวาย
การออกกำลังกาย
หัวใจ -- โรค -- ผู้ป่วย
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยบรรยายเชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และความสามารถในการทำนายของปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ความรุนแรงของอาการ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม และกิจกรรมทางกายในผู้ป่วยหัวใจวายเรื้อรัง โดยใช้กรอบแนวคิดของโอก้าและคณะ (1996) เป็นกรอบแนวคิดในงานวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยหัวใจวายเรื้อรังที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลพระพุทธบาท โรงพยาบาลลพบุรี โรงพยาบาลบ้านหมี่ โรงพยาบาลอ่างทอง และโรงพยาบาลสิงห์บุรีจำนวน 120 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของอาการ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามกิจกรรมทางกาย ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ .80, .92, .92 และ .70 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์โดยใช้พอยท์ไบซีเรียล ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. กิจกรรมทางกายของผู้ป่วยหัวใจวายเรื้อรัง อยู่ในระดับปานกลาง ([Mean] = 109.65, S.D. = 61.72) 2. การรับรู้สมรรถนะแห่งตน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยหัวใจวายเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .373) 3. อายุและการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยหัวใจวายเรื้อรังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.335 และ -.200 ตามลำดับ) 4. การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และอายุสามารถร่วมกันทำนายกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยหัวใจวายเรื้อรังได้ร้อยละ 19.3 (R[superscript 2] = .193) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถสร้างสมการทำนายกิจกรรมทางกายของผู้ป่วยหัวใจวายเรื้อรังในรูปคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้ Z'[subscript กิจกรรมทางกาย]= .298 Z[subscript การรับรู้สมรรถนะแห่งตน] - .244 Z[subscript อายุ]
Other Abstract: The purposes of this research were to study the relationships and predictors among personal factors, perception of symptom severity, self-efficacy, social support, and physical activity of patients with chronic heart failure. Oka's framework (1996) guided this study. The sample consisted of 120 chronic heart failure patients recruited by simple random sampling from the Out-Patient Departments of Phaputtabath Hospital, Lopburi Hospital, Banmi Hospital, Oangthong Hospital, and Singburi Hospital. The instruments were Demographic, Perception of Symptom Severity, Self-Efficacy, Social Support, and Physical Activity Questionnaires. These instruments were tested for content validity by a panel of experts. Internal consistency reliability for each questionnaire, tested by Cronbachs alpha were .80, .92, .92 and .70, respectively. The data were analyzed using SPSS for Windows version 11.5 for mean, standard deviation, Point biserial correlation, Pearsons product moment correlation, and stepwise multiple regression. Major finding were as follows: 1. Patients with chronic heart failure had physical activity at moderate level (mean = 109.65, S.D. = 61.72). 2. There was a significant positive relationship between self-efficacy and physical activity of patients with chronic heart failure (r = .373, p < .05). 3. There were significant negative relationships between social support, age and physical activity of patients with chronic heart failure (r = -.335 and - .200, respectively, p < .05). 4. Self-efficacy and age predicted the physical activity of patients with chronic heart failure (p < .05). The predictive power was 19.3 percent of the variance (R[superscript 2] = .193). The study equation was as follows: Z'[subscript physical activity] = .298 Z[subscript self-efficacy] - .244 Z[subscript age].
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2004
ISBN: 9745313157
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sairung.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.