Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20200
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิราพร เกศพิชญวัฒนา-
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญา-
dc.contributor.authorกัตติกา ธนะขว้าง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-06-09T10:16:14Z-
dc.date.available2012-06-09T10:16:14Z-
dc.date.issued2552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20200-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552en
dc.description.abstractการวิเคราะห์อภิมานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่เกี่ยวกับปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ และ 2) ศึกษาปัจจัยและวิเคราะห์ค่าดัชนีมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยสังเคราะห์จากงานวิจัย ที่มีการตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ. 2534-2552 จำนวน 48 เล่ม เครื่องมือที่นำมาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบคัดเลือกงานวิจัย แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย และแบบสรุปคุณลักษณะงานวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการของ Borenstein และคณะ (2009) ได้ค่าดัชนีมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ จำนวน 251 ค่า ผลการสังเคราะห์งานวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ ส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต (77%) ในสาขาวิชาการพยาบาล (77%) ตีพิมพ์เผยแพร่มากที่สุดในช่วงปี 2540-2550 (77%) เครื่องมือวัดตัวแปรของงานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์ส่วนใหญ่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพทั้งความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยง (94%) คุณภาพโดยรวมของงานวิจัยส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (73%) โดยส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่ใช้กรอบแนวคิดรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ ปีค.ศ 1996 (75%) 2. ปัจจัยสำคัญที่มีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ความรู้สึกที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ (r=0.596) ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (r=0.554) การรับรู้สมรรถนะของตน (r=0.540) การรับรู้ประโยชน์ของการกระทำพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ (r=0.526) และการสนับสนุนทางสังคม (r=0.526) ส่วนปัจจัยสำคัญที่มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ความเชื่อทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (r=0.490) การรับรู้อุปสรรคของการกระทำพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ (r=-0.465) แรงจูงใจในตนเอง (r=0.437) สิ่งชักนำให้ปฏิบัติ (r=0.436) และอิทธิพลระหว่างบุคคล (r=0.432) พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องในอดีต (r=0.364) อิทธิพลทางสถานการณ์ (r=0.361) ความสำคัญของสุขภาพ (r=0.360) ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ (r=0.358) และความเชื่ออำนาจภายในตนด้านสุขภาพ (r=0.321) ข้อค้นพบในการวิเคราะห์อภิมานครั้งนี้ ให้ข้อสรุปที่ชี้ชัดถึงปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ อันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติทางการพยาบาลในการจัดกระทำกับตัวแปรปัจจัยเหล่านี้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this meta-analysis study were 1) to study research characteristics of factors related to health promotion behaviors among older persons, and 2) to identify and examine the standard index of factors that influence health promotion behaviors of older persons. Fourty-eight correlational studies conducted in Thailand during 1991 to 2009 were recruited. Instruments using for data collection were study-selected form, research characteristic form, and quality evaluation form. Studies were analyzed using meta-analysis method guided by Borenstein, Hedges, Higgins, & Rothstein (2009), yielding 251 effect sizes. Results were as followings: 1. The majority of these studies were Master’s thesis (77%) in the field of Nursing Science (77%), published during 1997 – 2007 (77%). Most instruments used in the selected research were tested for reliability and validity, and more than half of them were moderate quality. Most of the studies using Pender’s health promotion model revised in 1996 (75%). 2. The important factors strongly related to health promotion behaviors among older persons with significance at 0.05 level were: activity-related affect (r=0.596), self-esteem (r=0.554), percieved self-efficacy (r=0.540) percieved benefits of action (r=0.526) and social support (r=0.526). The important factors moderately related to health promoting behaviors among older persons with significance at 0.05 level were: religious belief related health (r=0.490) percieved barriers to action (r=-0.465) self motivation (r=0.437) cues to action (r=0.436) interpersonal influences (r=0.432) prio related behaviors (r=0.364) situational influences (r=0.361) the important of health (r=0.360) knowledge of health (r=0.358) and self locus of control (r=0.321). Findings of this meta-analysis evidently indicate the significant factors influencing health promotion behaviors. This is helpful for nursing interventions focusing on these important factors in order to promote the older persons to practice health promotion behaviors sustainably.en
dc.format.extent2007991 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1496-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพen
dc.subjectผู้สูงอายุen
dc.titleปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ : การวิเคราะห์อภิมานen
dc.title.alternativeFactors related to health promotion behaviors among older persons: a meta-analysisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorJiraporn.Ke@Chula.ac.th-
dc.email.advisorChanokporn.J@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2009.1496-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kattika_th.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.