Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20245
Title: ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายในสตรีสูงอายุโรคกระดูกพรุน
Other Titles: Selected factors related to exercise behavior in elderly women with osteoporsis
Authors: กรรณิการ์ เทพกิจ
Advisors: จิราพร เกศพิชญวัฒนา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: wwattanaj@ yahoo.com
Subjects: กระดูกพรุนในสตรี
ผู้สูงอายุ
การออกกำลังกายสำหรับสตรี
การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายในสตรีสูงอายุ โรคกระดูกพรุน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ ความรู้ในการออกกำลังกาย ความปวด การรับรู้ภาวะสุขภาพ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการออกกำลังกายในสตรีสูงอายุโรคกระดูกพรุน กรอบแนวคิดของการวิจัยที่ใช้เป็นแนวทางในการศึกษา คือ การส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ (Pender, 2002) โดยสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างสตรีสูงอายุโรคกระดูกพรุน จำนวน 110 คน ที่มารับการรักษาที่ห้องตรวจโรคกระดูกและข้อ แผนกผู้ป่วยนอกหรือคลินิกวัยทอง ในโรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลราชวิถีและโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า โดยการสัมภาษณ์สตรีสูงอายุโรคกระดูกพรุนตามแบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย 7 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบวัดความรู้ในการออกกำลังกาย 3) แบบประเมินความปวด 4) แบบสอบถามการรับรู้ภาวะสุขภาพ 5) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง 6) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และ 7) แบบวัดพฤติกรรมการออกกำลังกาย ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product - Moment Correlation) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สตรีสูงอายุโรคกระดูกพรุน ร้อยละ 61.70 มีพฤติกรรมการออกกำลังกายอยู่ในระดับดี (X̅ = 2.78, SD = .70 ) 2. การรับรู้ภาวะสุขภาพ การรับรู้ความสามารถของตนเองและการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกำลังกายในสตรีสูงอายุโรคกระดูกพรุน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (r = .317, r = .512 และ r = .426 ตามลำดับ) 3. ความรู้ในการออกกำลังกายและความปวดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกำลังกายในสตรีสูงอายุโรคกระดูกพรุน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .051 และ r = .021 ตามลำดับ ) การศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้สำหรับพยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพโดยเป็นแนวทางใน การส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกาย สำหรับสตรีสูงอายุโรคกระดูกพรุนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพยาบาลให้กับสตรีสูงอายุโรคกระดูกพรุนที่ไม่ออกกำลังกายต่อเนื่องต่อไป
Other Abstract: This descriptive research was conducted with the objectives of exploring exercise behaviors among elderly women with osteoporosis and the relationships between selected factors i.e. knowledge of exercise, pain, perceived health status, perceived self-efficacy and social support in exercise behaviors among elderly women with osteoporosis. The conceptual framework employed as a guideline for the study was the Health Promotion Model (Pender, 2002) by randomly selecting 110 elderly women with osteoporosis who came to receive treatment at the Out Patient Department Orthopedic or Menopause Clinic at Police General Hospital, Rajavithi Hospital and Somdejprapinklao Hospital as samples. Data was collected by interviewing elderly women who had osteoporosis. The questionnaire comprised 7 parts: 1) demographic data questionnaire: 2) exercise knowledge assessment from: 3) pain evaluation from: 4) questionnaire on perceived health status: 5) questionnaire on perceived self-efficacy: 6) questionnaire on social support and 7) exercise behavior assessment form. The questionnaire passed content validity testing by qualifiled experts. Data were analyzed by using descriptive statistics and Pearson’s Product-Moment Correlation. The research findings can be concluded as follows: 1. At total of 61.70 % of the elderly women with osteoporosis had good exercise behaviors. (X̅ = 2.78, SD = .70 ). 2. Perceived health status, perceived self-efficacy, and social support were positively related to exercise behaviors in elderly women with osteoporosis with statistical significance at .05. (r = .317, r = .512, r = .426, respectively). 3. Knowledge of exercise and pain were positively related to exercise behaviors in elderly women with osteoporosis with no statistical significance at .05. (r = .051, r = .021, respectively). This study can be implemented for nurses and health personnel as effective guidelines for promoting exercise behaviors in elderly women with osteoporosis. The findings can also be implemented as basic data in providing nursing care for elderly women with osteoporosis who do not exercise regularly
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20245
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.444
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.444
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kannikar_ta.pdf2.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.