Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2037
Title: การเปรียบเทียบประสิทธิผลของการใช้ยาอะทอวาสแตติน 10 มิลลิกรัม วันละครั้ง กับ วันเว้นวัน ในผู้ป่วยภาวะโคเลสเตอรอลสูง
Other Titles: A comparison efficacy of atorvastatin 10 mg every day versus atorvastatin 10 mg ever other day in hypercholesterolemic patients
Authors: ศรัญาพร พฤติสุนากร, 2517-
Advisors: อัจฉรา อุทิศวรรณกุล
ชุมพล เปี่ยมสมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Achara.U@Chula.ac.th
Subjects: การใช้ยา
โคเลสเตอรอล
อะทอวาสแตติน
ไลโปโปรตีน
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงประสิทธิผลของการลดระดับไขมันในเลือดด้วยยา Atorvastatin 10 มิลลิกรัมวันละครั้ง กับยา Atorvastatin 10 มิลลิกรัมวันเว้นวัน ในผู้ป่วยภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูง รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบ Randomize Double Blind Parallel Groups ประเภทผู้ป่วยนอกที่มีภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงและไม่มีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบมารับการรักษา ณ คลินิกโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ระหว่างเดือน กันยายน 2544 ถึง สิงหาคม 2545 โดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะคือ ระยะการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต (สัปดาห์ที่ 0-8) และระยะการรักษาด้วยยา (สัปดาห์ที่ 9-16) ผลการศึกษาผู้ป่วยทั้งสิ้น 59 ราย มีอายุเฉลี่ย 60.56+-9.57 ปีและมีระดับไขมันพื้นฐานดังนี้ ระดับโคเลสเตอรอลรวม 256+-48.54 มก./ดล. ระดับ LDL-C 174.80+-44.15 มก./ดล. ระดับไตรกลีเซอไรด์ 163.57+-81.18 มก./ดล. และระดับ HDL-C 57.25+-14.26 มก./ดล. หลังการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตมีผู้ป่วย 7 ราย (ร้อยละ 12) ลดระดับไขมันลงได้ตามเป้าหมายของ NCEP ATP III โดยลดระดับโคเลสเตอรอลรวม ร้อยละ 8 (p<0.05) และลดระดับ LDL-C ร้อยละ 22 (p<0.05) มีผู้ป่วยเข้าสู่ระดับการรักษาด้วยยา 51 ราย ได้รับการรักษาด้วยยา Atorvastatin 10 มิลลิกรัม วันละครั้ง 25 ราย และวันเว้นว้น 26 ราย ผลการลดระดับไขมันในเลือดหลังรับประทานยา Atorvastatin 10 มิลลิกรัม วันละครั้ง พบว่าระดับโคเลสเตอรอลรวมลดลงร้อยละ 30 (p<0.001) และระดับ LDL-C ลดลงร้อยละ 40 (p<0.001) ระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลงร้อยละ 15(p<0.05) และระดับ HDL-C ลดลงร้อยละ 4(p>0.05) ผลการลดระดับไขมันในเลือดหลังรับประทานยา Atorvastatin 10 มิลลิกรัม วันเว้นวัน พบว่าระดับโคเลสเตอรอลรวมลดลงร้อยละ 20 (p<0.001) ระดับ LDL-C ลดลงร้อยละ 30(p<0.001) ระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลงร้อยละ 5(p<0.05) และระดับ HDL-C เพิ่มขึ้นร้อยละ 2(p>0.05) เมื่อเทียบกับระดับไขมันก่อนการได้รับยา ผลเปรียบเทียบการลดระดับไขมันในเลือดระหว่างทั้งสองกลุ่ม พบว่าลดระดับโคเลสเตอรอลรวมและระดับ LDL-C แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.01 และ p<0.001) ในขณะที่จำนวนผู้ป่วยที่ลดระดับไขมันได้ตามเป้าหมายของ NCEP ATP III ในกลุ่มที่ได้รับยาวันละครั้งมีร้อยละ 76(19 ราย) และกลุ่มที่ได้รับยาวันเว้นวันมี ร้อยละ 64(16 ราย) ไม่แตกต่างกัน (p=0.355) ด้านความร่วมมือตามคำสั่งรักษาด้วยยา พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 92 มีความร่วมมือดี และพบการเกิดอาการอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในผู้ป่วย 4 ราย (ร้อยละ 7.8) ได้แก่ อาการอันไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหาร ระดับเอนไซม์ตับและระดับเอนไซม์ Creatine Kinase สูงขึ้น สรุปว่า การใช้ยา Atrovastatin ทั้ง 2 รูปแบบมีประสิทธิผลในการรักษาผู้ป่วยภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงเหมือนกัน แต่อาจต้องพิจารณาถึงขนาดยาที่ใช้ให้เหมาะสมกับระดับโคเลสเตอรอลในระยะแรกที่เริ่มการรักษาด้วยยา
Other Abstract: The objective of this study was to assess the lipid lowering effects of Atorvastatin 10 mg every day versus every other day in hypercholesterolemic patients for primary prevention of coronary heart disease (CHD). This was randomized double blind parallel groups design that enrolled outpatients without CHD at Cardiovascular clinic, Pharamongkutklao Hospital, between September 2001 to August 2002. There were 2 periods of the study: therapeutic lifestyle change (week 0-8) and drug therapy (week 9-16). Fifty-nine hypercholesterolemic patients were recruited, mean baseline of Total cholesterol (TC), LDL-C, Triglyceride (TG) and HDL-C were 256+-48.54 mg/dl, 174.80+-44.15 mg/dl, 163.57+-81.18 mg/dl and 57.25+-14.26 mg/dl, respectively. After therapeutic lifestyle change, seven patients (12%) reached LDL-C goal. Relative to baseline, TC and LDL-C decreased 8% and 22% (p<0.05), respectively. The 51 patients were treated with Atorvastatin. They were randomized into 2 groups of treatment, Atorvastatin 10 mg once dailygroup (25 patients) and alternate day group (26 patients). After 8 weeks of treatment, Atorvastatin 10 mg once daily group decreased 30% of TC (p<0.0001) and 40% of LDL-C (p<0.0001), 15% of TG (p<0.05) and 4% of HDL-C (p<0.05). For every other day group decreased 20% of TC (p<0.0001), 30% of LDL-C (p<0.0001) and 5% of TG (p<0.05), while increased 2% of HDL-C (p>0.05). A comparison of lipid lowering efficacy between 2 groups, reduction of TC and LDL-C levels were significantly difference (p<0.01 and p<0.001). LDL-C goal were reached in 76% (19 patients) of once daily group and 64% (16 patients) of alternate day group (p = 0.355). Patients in both groups were 92% moderate to high compliance to medication. There were 3 adverse drug reactions in 4 patients (7.8%), GI disturbance, elevated plasma CK and elevated plasma AST and ALT. Atorvastatin every other day is effective in lowering total cholesterol and LDL-C in patients with hypercholesterolemia the same as every day dosing, especially in patiets who do notrequire a large reduction in lipid levels. Thus baseline lipid levels are required in clinical decision to therapy.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2037
ISBN: 9741710771
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saranyaporn.pdf8.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.