Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20506
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอวยพร เรืองตระกูล-
dc.contributor.authorภาวนา เปลี่ยนศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-07-06T12:32:34Z-
dc.date.available2012-07-06T12:32:34Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20506-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดความสำเร็จของการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมของโรงเรียนจัดการเรียนร่วม 2) ศึกษาระดับความสำเร็จของการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมของโรงเรียนจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) พัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของความสำเร็จในการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมของโรงเรียนจัดการเรียนร่วม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 313 โรงเรียน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดการศึกษาแบเรียนร่วมของโรงเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสำเร็จของการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมมีองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ ความเสมอภาคทางการศึกษา มี 4 ตัวชี้วัด คือ (1) นักเรียนมีสิทธิและโอกาสเข้ารับการศึกษา (2) นักเรียนรับริการทางการศึกษา เท่าเทียมกับนักเรียนปกติ (3) นักเรียนเข้าเรียนในชั้นเรียนปกติได้เต็มเวลา และ(4) นักเรียนมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นตามศักยภาพ ความหลากหลายในการจัดการศึกษา มี 3 ตัวชี้วัด คือ (1) หลักสูตรมีความยืดหยุ่นตามความเหมาะสม (2) สื่อ วิธีการสอนที่ใช้มีความหลากหลาย และ (3) การ วัดและประเมิน และการรายงานสอดคล้องกับแผน IEP และด้านการประสานความร่วมมือ มี 2 ตัวชี้วัด คือ (1) การทำงานแบบร่วมมือรวมพลังของบุคลากร และ (2) ชุมชนสนับสนุนสิ่งจำเป็นในการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วม 2. ความสำเร็จของการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมด้านความเสมอภาค และด้านความหลากหลายในการจัดการศึกษาอยู่ในระดับมาก ด้านการประสานความร่วมมืออยู่ในระดับปานกลาง ตัวแปรปัจจัยของความสำเร็จของการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมมี 3 ตัว ได้แก่ (1) ตัวแปรปัจจัยด้านการบริหารจัดการของผู้บริหาร (2) ตัวแปรปัจจัยด้านความพร้อมของบุคลากร และ (3) ตัวแปรปัจจัยด้านการสนับสนุนของผู้เกี่ยวข้อง 3. โมเดลเชิงสาเหตุของความสำเร็จในการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X² = 28.464 df = 27 p = .389 GFI = .988 AGFI = .947 RMR = .013) โดยตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรความสำเร็จในการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมได้ร้อยละ 99.00en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were 1) to study factors and indicators of the success in inclusive education management, 2) to study levels of the success in inclusive education management, and 3) to develop and verify validity of the causal model of the success in inclusive education management. The sample consisted of 313 leading inclusive schools under The Office of The Basic Education Commission. The research instrument was questionnaire about inclusive education management. Data analysis used the principle of LISREL. The research results were summarized as follows: 1. The success in inclusive education management consisted of 3 factors. The equality of education that had 4 indicators: (1) Students had privilege and opportunities for education, (2) Students had received education’s service by equalization, (3) Students attended to class full time, and 4) Student had basic potential skills. A variety of education management that had 3 indicators:(1) Flexible curriculum, (2) Educational media and various teaching method, (3) Measurement and assessment and report that agreed with IEP. And Coordinate collaboration that had 2 indicators: (1) Collaboration of personnel and (2) Encouragement of necessity of community for inclusive education management. 2. The success of inclusive education management in equality of education and the variety of education management were in high level. The coordinate collaboration was in medium level. There were 3 variable factors of the success in inclusive education management as follow: Management of administrators, Readiness of personnel, and Encouragement of stakeholder. 3. The causal model that was developed fitted with empirical data (X² = 28.464 df = 27 p = .389 GFI = .988 AGFI = .947 RMR = .013). The model amplified the variance of the success in inclsive educ ation management. 99%.en
dc.format.extent1534095 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.460-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมen
dc.subjectความสำเร็จen
dc.titleการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความสำเร็จในการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานen
dc.title.alternativeDevelopment of a causal model of the success in inclusive education management of schools under The Office of the Basic Education Commissionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAuyporn.R@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.460-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
pavana_pl.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.