Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20598
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริชัย กาญจนวาสี-
dc.contributor.authorกฤติยา วรศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-07-08T05:11:15Z-
dc.date.available2012-07-08T05:11:15Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20598-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแบบสอบวินิจฉัยการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 (2) ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นในด้านความตรงและความเที่ยง (3) วิเคราะห์รูปแบบของพฤติกรรมการอ่านที่บกพร่องของนักเรียนในการอ่านภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2550 ในจังหวัดที่พูดภาษาถิ่นล้านนา จำนวน 452 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบวินิจฉัยการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 แบ่งออกเป็น 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 แบบสอบวินิจฉัยการอ่านออกเสียง ประกอบด้วย การอ่านออกเสียงคำยาก การอ่านออกเสียงเนื้อเรื่อง และการตรวจสอบรายการพฤติกรรมการอ่านภาษาไทยที่บกพร่องของนักเรียน ฉบับที่ 2 แบบสอบวินิจฉัยความเข้าใจในการอ่าน เป็นแบบสอบปรนัยแบบหลายตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์คุณภาพข้อสอบโดยใช้ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมและทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ ได้ค่าความยาก, อำนาจจำแนก, ค่าพารามิเตอร์ความยาก, ค่าพารามิเตอร์อำนาจจำแนก, ค่าพารามิเตอร์โอกาสในการเดาข้อสอบได้ถูก และค่าความเที่ยง โดยใช้โปรแกรม TAP 6.65 โปรแกรม MULTILOG 7.03 และโปรแกรม SPSS 13 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ได้แบบสอบ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 แบบสอบวินิจฉัยการอ่านออกเสียง ประกอบด้วย การอ่านออกเสียงคำยาก 30 คำ, การอ่านออกเสียงเนื้อเรื่อง 254 คำ และ แบบตรวจสอบรายการพฤติกรรมการอ่านภาษาไทยที่บกพร่องของนักเรียน 10 ข้อ ฉบับที่ 2 แบบสอบวินิจฉัยความเข้าใจในการอ่าน เป็นแบบสอบปรนัยแบบหลายตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 2. ผลการวิเคราะห์คุณภาพรายข้อของแบบวัดตามทฤษฎีทดสอบแบบดั้งเดิม พบว่า ฉบับที่ 1 แบบสอบวินิจฉัยการอ่านออกเสียง ตอนที่ 1 การอ่านออกเสียงคำยาก มีค่าความยาก (p) อยู่ระหว่าง 0.43-0.98 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.06-0.83 ค่าความเที่ยง KR20 เท่ากับ 0.90 ค่าความตรงตามสภาพ เท่ากับ 0.34 ตอนที่ 2 การอ่านออกเสียงเนื้อเรื่อง มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.94 ค่าความตรงตามสภาพ เท่ากับ 0.30 แบบตรวจสอบรายการพฤติกรรมการอ่านภาษาไทยที่บกพร่องของนักเรียนมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.81 ค่าความตรงตามสภาพ เท่ากับ 0.39 ฉบับที่ 2 แบบสอบวินิจฉัยความเข้าใจในการอ่าน มีค่าความยาก (p) อยู่ระหว่าง 0.24-0.87 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.14-0.77 ค่าความเที่ยง KR20 เท่ากับ 0.87 มีค่าความตรงตามสภาพเท่ากับ 0.75 3. ผลการวิเคราะห์คุณภาพรายข้อของแบบวัดตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ พบว่า ฉบับที่ 1 การอ่านออกเสียงคำยาก มีค่าพารามิเตอร์ความยาก (b) อยู่ระหว่าง -2.74-0.45 ค่าพารามิเตอร์อำนาจจำแนก (a) อยู่ระหว่าง 0.39-3.58 ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.88 ฉบับที่ 2 แบบสอบวินิจฉัยความเข้าใจในการอ่าน มีค่าพารามิเตอร์ความยาก (b) อยู่ระหว่าง -1.23-2.23 ค่าพารามิเตอร์อำนาจจำแนก (a) อยู่ระหว่าง 0.39-4.45 ค่าพารามิเตอร์โอกาสในการเดาข้อสอบได้ถูก (c) ตั้งแต่ 0.00-0.56 ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.86 4. ผลการวิเคราะห์รูปแบบของพฤติกรรมการอ่านที่บกพร่องของนักเรียนในการอ่านภาษาไทย พบว่า ในการอ่านออกเสียง นักเรียนมีพฤติกรรมการอ่านที่บกพร่องในองค์ประกอบความตระหนักในเสียงมากที่สุด ส่วนรูปแบบของพฤติกรรมการอ่านเพื่อความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมการอ่านเพื่อความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในองค์ประกอบด้านความตระหนักในโครงสร้างประโยคมากที่สุดen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to (1) develop a thai reading diagnostic test for fourth grade students in provinces using Lanna dialect. (2) investigate a quality of a thai reading diagnostic test. (3) analyze pattern of reading behavior. The sample consisted of 452 fourth grade students in provinces using Lanna dialect. The research instrument consisted of 2 parts; part 1 to diagnose oral reading consisted of single word reading, oral reading in context and oral reading behavior checklist and part 2 to diagnose reading comprehension in multiple choice test form. Data were analyzed by item analysis based on the Classical Test Theory and the Item Response Theory, level difficulty, discrimination power, reliability coefficient, difficulty parameter, discrimination parameter, guessing parameter through TAP 6.65, MULTILOG 7.03 and SPSS 13. Major results of the study were as follow: 1. The developing of a thai reading diagnostic test for fourth grade students in provinces using Lanna dialect consisted of 2 parts; part 1 consisted of single word reading of 30 words, oral reading in context of 254 words and oral reading behavior checklist of 10 items and part 2 reading comprehension in multiple choice test form of 30 items. 2. The item analysis of the scale by the Classical Test Theory showed in single word reading providing level difficulty of the items in the ranged of 0.43-0.98, discrimination power of the items in the ranged of 0.06-0.83, KR20 reliability coefficient of 0.90, concurrent validity of 0.34. The oral reading in context provided Cronbach’s alpha reliability coefficient of 0.94, concurrent validity of 0.30. The oral reading behavior checklist provided Cronbach’s alpha reliability coefficient of 0.81, concurrent validity of 0.39. The reading comprehension provided level difficulty of the items in the ranged of 0.24-0.87, discrimination power of the items in the ranged of 0.14-0.77, KR20 reliability coefficient of 0.87 and concurrent validity of 0.75. 3. The item analysis of the scale by the Item Response Theory showed in single word reading providing difficulty parameter in the ranged of -2.74-0.87, discrimination parameter in the ranged of 0.39-3.58, reliability coefficient of 0.88. The reading comprehension provided difficulty parameter in the ranged of -1.23-2.23, discrimination parameter in the ranged of 0.39-4.45, guessing parameter in the ranged of 0.00-0.56, reliability coefficient of 0.86. 4. Pattern of oral reading behavior from single word reading and oral reading in context showed in the most deficient oral reading behavior was phonemic awareness deficient. Pattern of reading behavior from the reading comprehension showed in the most deficient reading comprehension behavior was the syntactic awareness deficient.en
dc.format.extent4120773 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1111-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภาษาไทย -- การอ่านen
dc.subjectแบบทดสอบวินิจฉัยen
dc.subjectการอ่าน -- การทดสอบความสามารถen
dc.titleการพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยการอ่านภาษาไทยสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดที่พูดภาษาถิ่นล้านนาen
dc.title.alternativeA development of a Thai reading diagnostic test for fourth grade students in provinces using Lanna dialecten
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSirichai.k@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1111-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kritiya_wo.pdf4.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.