Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20793
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนารัต เกษตรทัต-
dc.contributor.advisorสุรวุฒิ ไผ่ประเสริฐ-
dc.contributor.authorชญานิน กำลัง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-07-13T14:04:30Z-
dc.date.available2012-07-13T14:04:30Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20793-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำแบบสำเร็จรูปในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ในด้านการจัดการเกี่ยวกับปัญหาทางยาและอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำ ผลการรักษาทางคลินิกและการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำ วิธีวิจัย รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนา เก็บข้อมูลผลการบริบาลทางเภสัชกรรมตามแนวทางในการดูแลและการติดตามผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำแบบสำเร็จรูปที่กำหนดขึ้นโดยทีมแพทย์ เภสัชกร และพยาบาล โดยใช้การทบทวนเวชระเบียนและสัมภาษณ์ผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มต้นจนหยุดให้อาหารดังกล่าว ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เมษายน พ.ศ. 2554 ผลการศึกษา ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์การศึกษา 38 ราย อายุเฉลี่ย 64.8±17.3 ปี ได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำแบบสำเร็จรูปจำนวน 71 ครั้ง ผู้ป่วย 19 รายได้รับอาหารไม่เต็มส่วนทางหลอดเลือดดำ 30 ครั้ง(ร้อยละ 42.3) โดยมีข้อบ่งชี้เป็นการให้หลังการผ่าตัด 8 ครั้ง รองลงมาคือ ให้ก่อนการผ่าตัดและภาวะท้องเสียเรื้อรังอย่างละ 3 ครั้ง ผู้ป่วย 19 รายได้รับอาหารครบถ้วนทางหลอดเลือดดำ 41 ครั้ง(ร้อยละ 57.7) โดยมีข้อบ่งชี้ คือภาวะ enterocutaneous fistula 9 ครั้ง และการให้หลังผ่าตัด 7 ครั้ง เภสัชกรพบปัญหาทางยาและอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำรวม 81 ปัญหา เภสัชกรให้ข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขหรือป้องกันปัญหา 51 ปัญหา(ร้อยละ 63.0) เป็นปัญหาจากการให้อาหารทางหลอดเลือดดำ 39 ปัญหา ปัญหาจากยาอื่น 12 ปัญหา ข้อเสนอแนะได้รับการยอมรับ 33 ปัญหา(ร้อยละ 64.7) ส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอแนะในด้านการตรวจติดตามผลจากการให้อาหารทางหลอดเลือดดำ การให้ข้อเสนอแนะด้วยวาจาจะได้รับการตอบรับมากกว่าการบันทึก เมื่อวัดผลการรักษาทางคลินิกในผู้ป่วยที่ได้รับอาหารนานกว่า 1 สัปดาห์ ซึ่งมีการให้รวม 32 ครั้ง ได้รับผลการรักษาทางคลินิก 19 ครั้ง(ร้อยละ 59.4) ส่วนใหญ่คือมีระดับอัลบูมินในเลือดเพิ่มขึ้น 0.2 กรัม/เดซิลิตร/สัปดาห์(ร้อยละ 47.4) ภาวะแทรกซ้อนส่วนใหญ่เป็นภาวะแทรกซ้อนทางเมแทบอลิก พบภาวะน้ำตาลสูงในเลือด ร้อยละ 31.4 ภาวะเลือดมีโซเดียมต่ำ ร้อยละ 26.5 ภาวะเลือดมีโพแทสเซียมต่ำ ร้อยละ 15.5 ภาวะแทรกซ้อนอื่นที่พบ คือการอักเสบของหลอดเลือดดำร้อยละ 23.3 ซึ่งพบเฉพาะในกลุ่มที่ได้รับอาหารไม่เต็มส่วนทางหลอดเลือดดำ สรุป อาหารทางหลอดเลือดดำแบบสำเร็จรูปมีโอกาสใช้ในโรงพยาบาลทั่ว ๆ ไปมากกว่าการใช้อาหารทางหลอดเลือดดำที่เตรียมขึ้นตามความต้องการเฉพาะราย แต่ข้อจำกัดที่สำคัญคือเป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยทั่วไป จึงอาจไม่เหมาะกับผู้ป่วยบางรายที่มีความต้องการเฉพาะหรือมีปัญหาบางประการ เช่น ผู้ป่วยมีภาวะไตหรือตับทำงานบกพร่อง มีภาวะเสียดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลต์ จึงอาจก่อปัญหาให้แก่ผู้ป่วยได้ หากทีมบุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยขาดความเชี่ยวชาญในการสั่งใช้หรือติดตามผลการใช้อย่างใกล้ชิด การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำแบบสำเร็จรูป ยังพบปัญหาทางยาตลอดจนภาวะแทรกซ้อนจำนวนมาก บทบาทของเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยร่วมในทีมสามารถช่วยให้พบปัญหาและแก้ไขก่อนเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้en
dc.description.abstractalternativeObjectives: To study the results of pharmaceutical care services in patients receiving commercial premixed parenteral nutrition at Nopparatrajathanee Hospital, including the management of drug and parenteral nutrition related problems (DRPs), clinical outcomes and complications from commercial premixed parenteral nutrition. Methods: Descriptive study was conducted. Pharmaceutical care service was implemented following the practice guideline developed by physician, pharmacist and nurse. Results of the service were collected by reviewing medical records and interviewing patients admitted during January to April 2011. Results: Thirty-eight patients were recruited, mean age was 64±17.3 years, 71 times of commercial premixed parenteral nutrition were given. Of these, 30 times(42.3%) of partial parenteral nutrition(PPN) were given in 19 patients with the indication for post-operation 8 times, pre-operation and chronic diarrhea each of 3 times. Nineteen patients received total parenteral nutrition(TPN) 41 times(57.7%) with the indication for enterocutaneous fistula 9 times, post-operation 7 times. Pharmacist found 81 DRPs, 51 DRPs(63.0%) were intervened, 39 DRPs were related to parenteral nutrition, 12 DRPs were related to other drugs. Thirty-three interventions(64.7%) were accepted by parenteral nutrition team, mostly were parenteral nutrition monitoring. The acceptance of interventions were from oral communication more than written. Clinical outcomes were evaluated after patients received parenteral nutrition longer than 1 week, 32 times were evaluated, albumin rising to 0.2 g/dL/week was the most therapeutic outcomes(47.4%). Most of the complications were metabolic complications including hyperglycemia(31.4%), hyponatremia(26.5%) and hypokalemia(15.5%). Other complications were phlebitis(23.3%) which found only in PPN group. Conclusions: Commercial premixed parenteral nutrition products are commonly used in hospital than individual preparations. One drawback of these products is that they are prepared to generally fit for most patients, thus they may not appropriate for some patients such as hepatic or renal insufficiency, fluid or electrolyte imbalance. Without intensive monitoring or specialized care team may lead patients to adverse outcomes. This study revealed numerous complications and DRPs occurred in patients receiving commercial premixed parenteral nutrition. Pharmacist participated in the multidisciplinary team can help preventing and solving these problems.en
dc.format.extent1803156 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1920-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการบริบาลทางเภสัชกรรมen
dc.titleการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางหลอดเลือดดำแบบสำเร็จรูปที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานีen
dc.title.alternativePharmaceutical care in patients receiving commercial premixed parenteral nutrition at Nopparatrajathanee Hospitalen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเภสัชกรรมคลินิกes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorNarat.K@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1920-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chayanin_ku.pdf1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.