Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2079
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุญาณี พงษ์ธนานิกร-
dc.contributor.advisorสุนทรี รัตนชูเอก-
dc.contributor.authorสุธารส ปริญญาปุณโณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคกลาง)-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.date.accessioned2006-08-21T16:26:55Z-
dc.date.available2006-08-21T16:26:55Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741761147-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2079-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractปัจจุบันภาวะทุพโภชนาการในวัยเด็กยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยพบว่าช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เด็กวัยเรียนมีภาวะโภชนาการต่ำร้อยละ 10 ปีภาวะโภชนาการเกินร้อยละ 13 และมีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ตามมา ปัญหาภาวะโภชนาการส่วนใหญ่เกิดจากการบริโภคไม่เหมาะสม พบว่าเด็กวัยเรียนมีการบริโภคแป้ง น้ำตาล และไขมัน ปริมาณสูง บริโภคผัก ผลไม้ปริมาณต่ำ อาจทำให้ขาดวิตามินบางชนิดรวมทั้งโฟเลต ซึ่งสำคัญต่อการเติบโตและพัฒนาการของร่างกาย และมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด การศึกษานี้วิเคราะห์ปริมาณโฟเลตที่ได้รับจาการบริโภคโดยใช้บันทึกความถี่การบริโภคอาหารกึ่งปริมาณ และบันทึกการบริโภคอาหารย้อนหลัง 24 ชั่วโมง และวิเคราะห์ภาวะโฟเลตในเลือดด้วยวิธีจุลชีววิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย อายุ 13-15 ปี เป็นผู้มีภาวะโภชนาการเกิน 51 คน โภชนาการปกติ 71 คน และโภชนาการต่ำ 10 คน พบว่าปริมาณโฟเลตที่ได้รับจากการบริโภคอาหาร ระดับโฟเลตในซีรัม และในเม็ดเลือดแดงของนักเรียนทั้งสามกลุ่มภาวะโภชนาการไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีระดับโฟเลตในซีรัม และในเม็ดเลือดแดง เฉลี่ย 3.50-2.12 และ 161.97+-41.01 นาโนกรัม/ มิลลิลิตร ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 45 มีโฟเลตในซีรัมอยู่ในระดับขาด และร้อยละ 25 มีโฟเลตในเม็ดเลือดแดงอยู่ในระดับขาด ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างนี้ได้รับโฟเลตจากอาหารในระดับต่ำ และมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาการขาดโฟเลต ซึ่งจะส่งผลเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังตามมา จึงควรส่งเสริมการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม และเฝ้าระวังภาวะโฟเลตให้กับเด็กวัยเรียนen
dc.description.abstractalternativeMalnutrition in children has still been an important problem in Thailand. During the past 5 years, 1-% of children was underweight and 13% was overweight. These problems were associated with inappropriate dietary intake. High fat and carbohydrate, low fruit and vegetable intakes were found in children. Consequently, they might receive low vitamins, especially folate. Folate is important for child growth and the deficiency is associated with increasing risk of some chronic diseases including cardiovascular disease. This study determined folate intake by semiquantitative food frequency questionnaire and 24-hour recall while folate status was determined by microbioassay. The objective was to investigate the relationship between dietary folate intake, folate status and nutritional status in 51 healthy overweight, 71 normal and 10 underweight students of Mattayom 2 in Samsen Wittayalai School. It was found that dietary folate intake, serum folate and red blood cell folate were not significantly different among three nurtritional groups. The serum and red blood cell folate were 3.5+2.12 and 161.97+-41.01 ng/ml respectively. The results showed that 45% of subjects had serum folate deficiency, and 25 % had red blood cell folate deficiency representing low folate intake. They had tendency towards folate deficiency that may lead to an increased risk of chronic diseases. Therefore, they should be promoted proper food selection and get folate status surveillance.en
dc.format.extent3684790 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกรดโฟลิกen
dc.subjectทุพโภชนาการในเด็กen
dc.subjectเด็ก--โภชนาการen
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคอาหารโฟเลต ภาวะโฟแลต กับภาวะโภชนาการของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย กรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeRelationship between dietary folate intake, folate status and nutritional status of mattayom 2 students in Samsen Wittayalai School, Bangkoken
dc.typeThesisen
dc.degree.nameเภสัชศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineอาหารเคมีและโภชนศาสตร์ทางการแพทย์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSuyanee.P@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sutharot.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.