Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20909
Title: พระราชนิพนธ์บทละครนอกในรัชกาลที่ 2 : การศึกษาในเชิงวิจารณ์
Other Titles: Lakhon nok by King Rama II : a critical study
Authors: เบญจวรรณ ฉัตระเนตร
Advisors: เบ็ญจวรรณ สุนทรากูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไมีมีข้อมูล
Subjects: ละครนอก
Issue Date: 2518
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาพระราชนิพนธ์บทละครนอกในรัชกาลที่ 2 โดยอาศัยความรู้ในสาขาวิชาวรรณคดีวิจารณ์ หลักฐานอ้างอิงต่างๆ ในการค้นคว้านี้ได้จากเอกสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งการสัมภาษณ์ท่านผู้รู้บางท่าน วิทยานิพนธ์เรื่องนี้แบ่งออกเป็น 5 บท บทที่ 1 บทนำ ผู้เขียนได้กล่าวถึงความเป็นมาของปัญหา ความมุ่งหมายของการวิจัย ขอบเขตของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย และประโยชน์ของการวิจัย บทที่ 2 กล่าวถึงแก่นเรื่องพระราชนิพนธ์บทละครนอกในรัชกาลที่ 2 แก่นเรื่องพระราชนิพนธ์บทละครนอกแต่ละเรื่อง และกล่าวถึงคุณค่าของแก่นเรื่อง บทที่ 3 เสนอสัญลักษณ์ต่างๆ ในพระราชนิพนธ์บทละครนอก และคุณค่าของลักษณะนั้นๆ บทที่ 4 กล่าวถึงความเปรียบเทียบในพระราชนิพนธ์บทละครนอกในแง่ของโครงสร้างของความเปรียบภาพพจน์ของความเปรียบ และวิเคราะห์คุณค่าของความเปรียบในบทพระราชนิพนธ์ เหล่านั้น บทที่ 5 สรุปการวิจัยและเสนอแนะ ผู้เขียนเสนอความคิดว่าแก่นเรื่อง สัญลักษณ์ และความเปรียบเทียบล้วนมีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้พระราชนิพนธ์บทละครนอกในรัชกาลที่ 2 เป็นวรรณคดีชิ้นเอกของวงวรรณคดี วิทยานิพนธ์เรื่องนี้จบลงด้วยข้อเสนอแนะว่าควรจะมีการศึกษาพระราชนิพนธ์บทละครนอกในด้านอื่นๆ อันได้แก่ในแง่วรรณคดีการแสดง วรรณคดีเปรียบเทียบ คติชาวบ้าน สำนวนไทย และการสร้างภาพพจน์ในพระราชนิพนธ์บทละครนอก ผู้เขียนคาดหมายว่าการศึกษาเรื่อง เหล่านี้จะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาวรรณคดีไทย
Other Abstract: This thesis is an attempt to study Lakhon Nok by King Rama II by the literary criticism approach. The references in this research are based on materials both in Thai and English, and include interviews from some experts in this field. The thesis is divided into five chapters. In Chapter 1, the introduction, the writer points out the main problems, the purpose, the scope, the procedure in conducting, and the advantages of the 'research. Chapter 2 discusses the thenes of Lakhon Nok written. by King Rama II, the theme of each of the plays, and the values of the 'themes. Chapter 8 reveals the symbols in King Rama II's Lakhon Nok, and discusses the values of such symbols. Chapter 4 discusses, by way of their construction, the similes and metaphors, points out the images, and analyzes the values of similes and metaphors in those works. Chapter 5 concerns conclusion and suggestions. The writer believes that the themes, symbols, and the similes and metaphors are all wonderful tools that help King Rama II's Lakhon Wok to be one of the masterpieces of literature. At the end of the thesis the writer suggests that there should be further studies from other aspects, such as, the aspects of dramatic literature, comparative literature, folklores, Thai idioms, figures of speech construction, etc. The writer strongly believes that further studies in these areas will render great benefits to the study of Thai literature.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20909
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Benjavan_Ch_front.pdf368.6 kBAdobe PDFView/Open
Benjavan_Ch_ch1.pdf418.81 kBAdobe PDFView/Open
Benjavan_Ch_ch2.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open
Benjavan_Ch_ch3.pdf2.04 MBAdobe PDFView/Open
Benjavan_Ch_ch4.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open
Benjavan_Ch_ch5.pdf310.98 kBAdobe PDFView/Open
Benjavan_Ch_back.pdf355.67 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.