Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21321
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสุขศึกษาโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อตามทฤษฎีการเรียนรู้เน้นประสบการณ์และแนวคิดการบูรณาการเนื้อหากับภาษา เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพและความสามารถในการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Development of a health study instructional model using English as a medium based on experiential learning theory and content and language integrated learning approach to enhance health behavior and English communication ability of lower secondary school students
Authors: รุ่งระวี สมะวรรธนะ
Advisors: สุมาลี ชิโนกุล
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Sumalee.C@chula.ac.th
Aimutcha.W@chula.ac.th
Subjects: สุขศึกษา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
ภาษาอังกฤษ -- การใช้ภาษา
การเรียนรู้
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
การเรียนรู้แบบประสบการณ์
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนา “รูปแบบการเรียนการสอนสุขศึกษาโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อตามทฤษีการเรียนรู้เน้นประสบการณ์และแนวคิดการบูรณาการเนื้อหากับภาษา (HEC Model)” เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพและความสามารถในการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และ (2) เพื่อประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น (HEC) การดำเนินการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ดำเนินการโดยการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหา ศึกษาแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ค้นคว้าวิเคราะห์สังเคราะห์และนำมาพัฒนาเป็นรูปแบบการเรียนการสอน ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาเครื่องมือการวิจัย การตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบที่พัฒนาขึ้น (HEC) และเครื่องมือซึ่งประกอบไปด้วยแบบทดสอบความรู้และความสามารถในการสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ แบบประเมินเจตคติและการปฏิบัติ รวมทั้งการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยเครื่องมือเหล่านี้สร้างขึ้นจากการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และได้รับการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญในด้านหลักสูตรและการสอนจำนวน 7 ท่าน ค่าความเที่ยงของเครื่องมือ เมื่อตรวจสอบแล้วอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ (ระดับที่สูงกว่า .70) และระยะที่ 3 คือการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบ HEC การวิจัยนี้เป็นแบบกึ่งทดลองที่มีการเก็บรวมรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพกับกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม โดยมีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเพื่อให้ตรงกับลักษณะของตัวแทนประชากรซึ่งเรียนอยู่ในโครงการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการเรียนการสอน ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 46 คน ผลการวิจัย มีดังนี้(1) รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น (HEC) มีองค์ประกอบหลัก 5 ประการ ได้แก่ แนวคิดทฤษฎี หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหาสุขศึกษาและภาษาอังกฤษในเนื้อหาเฉพาะ กระบวนการจัดการเรียนการสอน และการวัดและการประเมินผล โดยมีขั้น ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนรวม 3 ขั้นตอนหลักได้แก่ ขั้นที่ 1) ขั้นเตรียมการวางแผนการจัดการเรียนรู้ 2) ขั้นจัดกระบวนการเรียน การสอน ซึ่งแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ 2.1) ขั้นนำเสนอและรับประสบการณ์ 2.2) ขั้นรวบรวมข้อมูลความรู้โดยการสังเกตและไตร่ตรอง 2.3) ขั้นสรุปความรวม จัดกลุ่มความคิดอย่างเป็นระบบนำสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ 2.4) ขั้นทดลองและประยุกต์องค์ความรู้ใหม่ และขั้นที่ 3 ขั้นประเมินผลการเรียนรู้ (2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอน โดยการเปรียบเทียบผลการทดลองก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน มีดังนี้(2.1) ผลการทดลองเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นพบว่ารูปแบบนี้สามารถช่วยเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพด้านความรู้และความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของผู้เรียน โดยคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังการเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 60 ซึ่งสูงกว่าการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2.2) ผลการประเมินพฤติกรรมด้านเจตคติ และการปฏิบัติ โดยภาพรวม โดยใช้แบบสอบถามในช่วงคะแนน 5 Likert scale ซึ่งมีค่าความเที่ยงของคอนบาคอัลฟ่าที่ระดับ .76 ผลการประเมินทั้งด้านเจตคติและการปฏิบัติของผู้เรียนหลัง การเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ย สูงกว่า การประเมินก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการวิเคราะห์ข้อมูลการสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้างจากนักเรียนและผู้ปกครอง พบว่าสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (2.3) การเปรียบเทียบคะแนนการประเมินความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษที่ได้จากการทดลองระหว่างเรียนรวม 5 ครั้ง พบว่าคะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียนมีค่าความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were: (1) to develop “a Health Study Instructional Model Using English as a Medium Based on the Experiential Learning Theory and the Content and Language Integrated Learning Approach (HEC model)” to enhance health behaviors and the English communication ability of lower secondary school students; and, (2) to examine the effectiveness of such a model. The study was divided into three phases. The first was to develop the model by investigating the background, problems, theories, approaches, and literature reviews in order to analyze and synthesize the essential components of the model. The second phases involved the development and investigation of the quality of the model and the research instruments including students’ content knowledge of health behaviors and English communication test, attitude and practice of health behaviors tests, and semi-structure interview guidelines. The model and the instruments were constructed using content analysis for the validity. This was investigated and approved by seven experts in curriculum and instructional design after piloted was accepted with the terms of reliability (higher level than .70.) The third phase was to examine the effectiveness of the model using the mix method of quantitative and qualitative research within an experimental group. The participants were 46 bilingual students in a lower secondary school selected as a purposive sampling to meet the characteristics of this study. The results of the study were as follows: (1)The HEC instruction model consisted of five components: i.e., principle, objective, Health studies and English for specific content, instructional procedures, and assessment and evaluation. The instructional process was based on three main stages: Stage 1 Preparing for the learning process. Stage 2 Instructional process consisting of four sub-steps: Step 2.1) Presenting and acquiring experiences by practicing doing; Step 2.2) Gathering of the knowledge by observing and reflecting information of the knowledge; Step 2.3) Generalizing and conceptualizing to create a body of knowledge; Step 2.4) Experimenting and applying the learning to form a new concept. Stage 3 Evaluating the learning outcome. (2)The effectiveness of the instructional model was examined using an experimental group by comparing the average score of before, during, and after the experiment. The results were: (2.1) After the experiment, the average score of the students’ posttest in the content knowledge of health behaviors and English communication were above 60%, which was higher than their pretest at a significant level of .05. (2.2) After the experiment, the average score of investigating the students’ posttest in both the attitude and practice of health behaviors was higher than their pretest at a significant level of .05. There were two questionnaires using Likert scale with the Cronbach alpha reliability coefficient at .76 in evaluating students’ attitude and practice of health behaviors before and after the experiment. The results from semi-structured interviews of the students and their parents supported the quantitative parts. (2.3) During the experiment, the average scores of the five-time-repeated measurements of the students’ ability in English communication were higher than their pretest at a significant level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21321
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2000
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.2000
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
rungrawee_sa.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.