Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21509
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิจิตร เกิดวิสิษฐ์-
dc.contributor.authorเพ็ญแข กิตติศักดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-08-18T03:20:20Z-
dc.date.available2012-08-18T03:20:20Z-
dc.date.issued2529-
dc.identifier.isbn9745565827-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21509-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาทรรศนะเกี่ยวกับจักรวาลวิทยาตามที่ปรากฏในคัมภีร์สุตตันตปิฎก ผู้วิจัยพบว่ามโนทัศน์ เรื่องจักรวาลวิทยาในคัมภีร์สุตตันตปิฎกนั้นเป็นโลกทัศน์ที่เกี่ยวกับลักษณะธรรมชาติของโลกและจักรวาลซึ่งมีความสัมพันธ์กับมโนทัศน์เรื่องอื่น ๆ เช่นเรื่องจิต กรรม สุคติ และทุคติ นอกจากนี้ยังได้พบอีกว่าพุทธปรัชญามิได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาอภิปรัชญามากนัก น่าจะเป็นเพราะว่าไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ในการดับทุกข์หรือช่วยให้บรรลุความหลุดพ้นอันเป็นจุดหมายสูงสุดของพุทธปรัชญา ดังนั้นคำสอนของพระพุทธเจ้าจึงเน้นวิธีการทางด้านญาณวิทยาเพื่อเข้าถึงความรู้อันแท้จริง และเน้นเรื่องจริยศาสตร์ หรือการปฏิบัติดี มากกว่าเรื่องอื่น แต่พุทธปรัชญาในคัมภีร์สุตตันตปิฎกก็ได้ให้คำตอบเกี่ยวกับเรื่องความจริงข้อหนึ่งว่ารูปและนามหรือกายกับจิตมีความสัมพันธ์กับภูมิขั้นของจิตที่เกิดจากการปฏิบัติธรรมเช่นเดียวกับมติในอภิธรรม มโนทัศน์เรื่องจักรวาลวิทยาตามคัมภีร์สุตตันตปิฎกมีความรู้ 2 แบบ แบบแรกเป็นความรู้ที่ได้มาจากประสบการณ์คือความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต เช่นมนุษย์ พืช สัตว์ และบางส่วนเป็นความรู้เกี่ยวกับกำเนิดของโลกรวมทั้งข้อเท็จจริงทางดาราศาสตร์ในการอธิบายถึงกำเนิดของโลกและธรรมชาติของโลกนั้นคำอธิบายบางเรื่องมีลักษณะเป็นตำนานแต่มีความคิดเกี่ยวกับเรื่องวิวัฒนาการของธรรมชาติ คือโลกมีการเกิดขึ้นก็ย่อมมีการทำลายและกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นซ้ำกันอีก ระยะกาลของกระบวนการนี้ไม่อาจจะกำหนดแน่นอนและทำนายได้ มโนทัศน์ในเรื่องกำเนิดชีวิตนั้น พุทธปรัชญาถือว่าคนมีความสำคัญต่อสิ่งอื่นและคนกลุ่มแรกที่มาอยู่ในโลกนี้มาจากอาภัสสรพรหม เรื่องนี้น่าจะตีความได้ว่าคนสืบเนื่องมาจากธรรมชาติที่ดีในระดับหนึ่งหรือคนมาจากคนและชีวิตของพวกเขาต่อมาหลังจากตายในชาติต่อ ๆ ไปก็เป็นไปตามการจัดสรรของกรรมใหม่ในโลกนี้ ความรู้ทางดาราศาสตร์บางประการที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้นั้นสามารถเทียบเคียงกับความรู้ทางดาราศาสตร์ในปัจจุบันได้ และก็มีความรู้บางประการที่ยังไม่อาจไปเทียบเคียงได้กับความรู้ทางวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบัน เพราะวิทยาศาสตร์ด้านนี้ยังกำลังทำการตรวจสอบ อาทิเช่นการที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าในโลกธาตุอื่น ๆ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากนั้นมีสิ่งมีชีวิตอาศัยเช่นเดียวกับโลกของเรา และต่างก็มีรถสวรรค์เป็นของตนเองมีทวีป มีมหาสมุทร สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่นเดียวกับพื้นพิภพที่เราอาศัยอยู่นี้ ความรู้ในอีกแบบหนึ่งเป็นความรู้ที่ได้มาจากการหยั่งรู้ของพระพุทธเจ้าด้วยทิพยจักษุญาณ คือ เรื่องภูมิต่าง ๆ ซึ่งมีการพรรณนาสภาพของอบายภูมิน่าสะพรึงกลัวและความรื่นรมย์ในสุคติภูมิและเน้นว่ากำเนิดของชีวิตมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องกรรมอย่างละเอียด แนวทางนี้มีประโยชน์ในการจูงใจให้บุคคลอยู่ในศีลธรรมอันดีโดยมีความหวังว่าผลแห่งการประพฤติกุศลกรรมในปัจจุบันชาติทำให้ไปเกิดในสุคติภพได้ และผลแห่งการประพฤติอกุศลกรรมในปัจจุบันชาติก็เป็นแรงผลักดันให้ไปสู่ทุคติภพได้เช่นเดียวกัน รายละเอียดเกี่ยวกับภูมิในพระไตรปิฎกนั้นอาจแบ่งได้ 2 แบบในรูปแบบแรกว่าด้วยภูมิ นรก สวรรค์ นั้นมีอยู่เป็นวัตถุวิสัย (Objective) มีคำอธิบายไว้อย่างละเอียดเกี่ยวกับการแบ่งแต่ละภูมิอย่างชัดเจนพร้อมทั้งแสดงลักษณะชีวิตในภูมิต่าง ๆ ไว้ด้วย แบบที่สองเป็นรูปแบบของจิตวิสัย (Subjective) คือว่าด้วยภูมิ นรก สวรรค์ เป็นสภาวะของจิตมนุษย์ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอายตนะภายนอกและอายนะภายในของมนุษย์เกิดเป็นอารมณ์ที่น่าปรารถนาและอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาในชีวิตประจำวัน มีนักปราชญ์ไทยบางท่านตีความ 2 ทรรศนะนี้ไว้ว่า สวรรค์ น่าจะเป็นภูมิในดวงดาวอื่น ๆ ที่อาจมีสิ่งมีชีวิตซึ่งมีธรรมชาติประณีตสุขุมดีกว่ามนุษย์ในโลกของเรา และก็มีจักรวาลอื่นโลกธาตุอื่นซึ่งมีสิ่งมีชีวิตอยู่ด้วยความลำบากยากแค้นยิ่งกว่าคนลำบากที่สุดในโลกของเราซึ่งเราเรียกว่านรกนักปราชญ์ไทยบางท่านตีความมโนทัศน์นี้ว่านรกสวรรค์เป็นเรื่องของอายตนะหรือที่เรียกกันว่าสวรรค์ในอก นรกในใจ ดังนั้นแต่ละบุคคลจะเลือกเชื่อในทรรศนะใดก็ได้ซึ่งก็ไม่ทำให้กระทบกระเทือนต่อหลักสำคัญของพุทธศาสนาแต่ประการใดเพราะต่างก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทั้งสิ้น ความรู้เรื่องจักรวาลวิทยาตามคัมภีร์สุตตันตปิฎกนั้นน่าจะเสนอจุดหมายปลายทางในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ 2 แนวทาง คือแนวทางประการแรกชักนำให้มนุษย์กระทำความดีเพื่อได้รับผลดีตอบสนองในชาตินี้ และไปเกิดใหม่ในภูมิที่ดี และแนวทางประการที่สองแนะให้เลือกนิพพานเป็นจุดหมายปลายทางสูงสุดไม่เวียนว่ายตายเกิดในภูมิต่าง ๆ อีกต่อไป-
dc.description.abstractalternativeThe aim of this thesis is to study the concept of cosmology as revealed in Suttantapitaka. The researcher has found that the concept according to this Pitaka is the world outlook concerning the nature of the world and the cosmos in relation to the concept of mind and the law of Karma, the woeful states of existence and the blissful states of existence Moreover, it has been found that the Buddhist philosophy does ignore also the problems about Metaphysics. This is because it is not worthwhile to eradicate suffering or to obtain the final freedom which is the ultimate aim of the Buddhist philosophy. It is because of this fact that the Buddha’s teaching lays more emphasis on epistemological method leading to the true knowledge and on ethical points or on good practices than on other ways. The Buddhist philosophy, however, according to this Suttanta answer to one problem of truths that the body and mind of beings are relatively connected with mental levels as the results of Dharma practices. This is the same ideas as exposed in Abhidhamma. The concept of cosmology as revealed in Suttantapitaka is of two types of knowledge, the first of which derived from experiences and this kind of knowledge is the knowledge about nature e.g. animals and vegetables and some of which are the kind of knowledge about cosmology including the facts of astronomy As far as the explanations of cosmology and its nature is concerned, they partly deal with various legends. But the meaning hidden inside these legends contains inherently the ideas of natural evaluation in themselves, that is to say, the planet earth, after taking place, eventually is developing and then the doom will inevitably follow. The same process would return again and the time of which cannot be counted and predicted. As for the genesis of life, the Buddhist philosophy advocates that man is more important that other things and that the first group of human beings who had come from the heaven of Abhassara Brahma and made this planet earth for their home. This legend can be interpreted that human beings : derived from good nature at least in one of its levels, or human beings from human beings. Their successive lives or the next lives after death depend on their new Karmas here again. The knowledge of Astronomy as revealed by the Buddha partly can be compared with modern knowledge of the same subject, but some kinds of such subject cannot be so treated with our contemporary knowledge. This is because sciences in this field are going on investigation and research. For example the Buddha said that on the other planets, there are various living things like our earth. Each planet may have contained heaven and hell including the seas and surroundings. Another line of this kind of knowledge is the knowledge derived from intuition of the Buddha through this power of clairvoyance. This refers to the different spheres of being which there are various descriptions about the dread of woeful state of existence and the happiness in the heaven. The descriptions lay emphasis on the genesis of life that it is closely related to the law of karma. This way yields good results for the sake of persuading man to behave morally with hoping that results of doing good will make him reach heaven and in contrast to the happy state of existence as such, the results of unwholesome action will lead him to the unhappy state of existence. The details of various state of existence according to Suttartapitaka car be divided into two form: Objective and Subjective. The first refers to the existence of heaven and hell which is objective. The description in detail about each division of its existence together with the nature of life on it has been expounded clearly. The second is the Subjective which concerns the heaver and hell inherent in the human mind. This is nothing but the different states of human mind which are related to the contact between internal sense organs and external objects Through contact as such in daily life, arise various kinds of both good and bad emotion. Some Thai scholars interpreted these two forms of descriptions such as the concept of heaven and hell probably refers to the state of existence on the other stars far beyond. In that place there existed living beings that are better than human being on this planet earth and the living beings on the other stars who are lower than our beings, that is the hell. There are also some Thai scholars interpreted this concept such as they are really confined within our sense fields, or in other words, the heaven and hell are nothing but heaven and hell inherent in our minds. So each of us can freely advocates one of the two interpretations without causing damage to the main tenet of Buddhist philosophy. This is because each one of the two interpretation leads him always to behave morally. The knowledge of cosmology as revealed in Suttantapitaka may suggest the aim of life in two ways: The first leads a man to do good with hoping that good action yields good results in the present life; whereas, the second teach a man to choose Nirvana as the ultimate aim of life without hoping to take rebirth again and again on the other planes of existence for ever-
dc.format.extent691318 bytes-
dc.format.extent359154 bytes-
dc.format.extent2071256 bytes-
dc.format.extent2789054 bytes-
dc.format.extent2142732 bytes-
dc.format.extent596632 bytes-
dc.format.extent401414 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสุตตันตปิฎก-
dc.subjectการวิเคราะห์ (ปรัชญา)-
dc.subjectจักรวาล-
dc.subjectโลก-
dc.subjectพุทธปรัชญา-
dc.subjectสังสารวัฏ-
dc.titleการศึกษาเชิงวิเคราะห์ความคิดเรื่อง จักรวาลวิทยาในพุทธศาสนาตามที่ปรากฏในพระสุตตันตปิฎกen
dc.title.alternativeBuddhist cosmology as revealed in suttanta pitaka : an analytical studyen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineปรัชญาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phenkhae_Ki_front.pdf675.12 kBAdobe PDFView/Open
Phenkhae_Ki_ch1.pdf350.74 kBAdobe PDFView/Open
Phenkhae_Ki_ch2.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
Phenkhae_Ki_ch3.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open
Phenkhae_Ki_ch4.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
Phenkhae_Ki_ch5.pdf582.65 kBAdobe PDFView/Open
Phenkhae_Ki_back.pdf392.01 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.